Skip to content

ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ค่าแรง นำส่งภงด 1 ภงด 3 ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ค่าแรง นำส่งภงด 1 ภงด 3 ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ค่าแรง นำส่งภงด 1 ภงด 3 ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

ในปัจจุบัน กิจการส่วนมากมีการ Outsource หรือการจ้างพนักงานแบบชั่วคราว  หมายถึง การว่าจ้างบริษัทหรือบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆเป็นการเฉพาะ เข้ามาทำงานนั้นๆแทนให้ทั้งหมดหรืออาจจะเป็นแค่เพียงในบางส่วน โดยที่สำคัญคือจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมของทางบริษัทด้วย ซึ่งอาจจะว่าจ้างรับเป็นชิ้นๆงานหรือเซ็นสัญญา

การจ่าย ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ คือ การที่บริษัทว่าจ้างบุคคลที่รับจ้างอิสระ ที่ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงาน หรือองค์กร หรือบริษัทใด ๆ พนักงานฟรีแลนซ์จะต้องจัดตารางเวลาการทำงานของตนเอง การรับเงินจากนายจ้าง ก็จะเป็นลักษณะใดก็แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความพึงพอใจของทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง

ปัญหาภาษีที่เกี่ยวข้อง

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ควรจะหักด้วยอัตราใด อัตราก้าวหน้าตามเงินเดือน 40(1)  อัตราร้อยละ 3

แบบภาษที่ต้องนำส่งหัก ณ ที่จ่าย แบบ ภงด 1  หรือแบบภงด 3

 

ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์
ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ค่าแรง นำส่งภงด 1 ภงด 3 ขึ้นทะเบียนประกันสังคม​

เรียนรู้บัญชี ภาษี พื้นฐานสำหรับเจ้าของกิจการ ซื้อมาขายไปและบริการ

สรุปพื้นฐานบัญชีภาษี เบื้องต้ง การกรอกแบบ ภงด 1/3/53 ภงด 1 ก แบบ ภพ 30 36 ความเสี่ยงการตรวจสอบกิจการเบื้องต้น ถึงกิจการท่าน

แนวทางภาษี / ข้อหารือ การจ่าย ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์

Inbox: จันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:36 น.
คุณ Ponzuler Silapawisedkun “พรศุลี”

เรียน อาจารย์สุเทพ

หนูมีคำถามค่ะ เคยไปอบรมเรื่อง หัก ณ ที่จ่าย ทั้งจาก สนง.ใหญ่ สรรพากร หรืออบรมที่หน่วยอบรมข้างนอกจัด แต่วิทยากรก็เป็น จนท. นิติกรของสรรพากรเอง

หนูสงสัย เรื่อง หัก ณ ที่จ่าย คือ หนูจำได้ว่า อ. ที่สอน บอกว่า หัก ณ ที่จ่าย คนหัก หักผิด กรณีบุคคลธรรมดา บริษัท หักตะพรืดตะพรือ 3% ค่าบริการ

จริงๆ ที่ถูกต้องคือ หักตามอัตราภาษีก้าวหน้า ถ้าคิดว่า รายได้เขาไม่ถึงต้องหัก ก็ไม่ต้องหัก

แต่พอทำงานจริงๆ ทุกบริษัท ก็หัก 3% เป็นหลัก 99.99%
หนูมีคำถามรบกวนอ่ะค่ะ ตกลงสรุป มันยังไงกันแน่ สำหรับ การหัก ณ ที่จ่าย ลูกจ้างไม่ประจำ แต่มาทุกเดือน

เช่น

1. คนงานดูแลสวน เดือนละ 4000 มาตัดต้นไม้ดูแลสวน 1-2วัน แล้วแต่งาน  หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้า (ไม่ยื่นแบบ ถ้ายื่นยื่นใน ภงด.1) หรือ หัก 3% เป็นค่าบริการ (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3)

2. คนงานแม่ครัว
….2.1.จ่ายรายวัน ที่มาประจำ ยื่นประกันสังคม ไม่มีภาษีต้องหัก เพราะรายได้ไม่ถึงเกณฑ์
….2.2.จ่ายรายวัน แต่ยังไม่ใช่ประจำ ถ้าวันไหนไม่มาเราต้องหาคนมาแทน

สมมุติว่า 1เดือน 30วัน นางสาว กอไก มาทำงาน 1-24วัน นางสาว ขอไข่มาทำ วันที่ 25-30

….กรณีนี้ เราหัก ณ ที่จ่าย 3% แล้วนำ ส่ง ภ.ง.ด.3 หรือเรา หักตามอัตราก้าวหน้า (ไม่นำส่ง เพราะรายได้ทั้งปียังไม่ต้องเสียภาษี)
ขอบคุณค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

ตามข้อ 1 (6) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มิใช่เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานดังนี้

….“ข้อ 1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้

……..(6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

ดังนั้น สำหรับ การหัก ณ ที่จ่าย ลูกจ้างไม่ประจำ แต่มาทุกเดือน เช่น

1. คนงานดูแลสวน เดือนละ 4000 บาท มาตัดต้นไม้ดูแลสวน 1 – 2 วัน แล้วแต่งาน บริษัทฯ ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมีเงินได้พึงประเมินไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 แต่ต้องนำไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ก และออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีเงินได้ด้วย กรณีนี้ บริษัทฯ คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามอัตรา 3% เป็นค่าบริการ (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3) ไม่ได้

2. คนงานแม่ครัว

….2.1.จ่ายรายวัน ที่มาประจำ ยื่นประกันสังคม ไม่มีภาษีต้องหัก เพราะรายได้ไม่ถึงเกณฑ์

….2.2.จ่ายรายวัน แต่ยังไม่ใช่ประจำ ถ้าวันไหนไม่มาเราต้องหาคนมาแทน

สมมุติว่า 1 เดือน 30 วัน นางสาว กอไก มาทำงาน 1 – 24 วัน นางสาว ขอไข่ มาทำ วันที่ 25 -30

….กรณีนี้ ให้บริษัทฯ ถือปฏิบัติตามข้อ 1 (6) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 (ไม่นำส่ง เพราะรายได้ทั้งปียังไม่ต้องเสียภาษี)

บริษัทฯ ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมีเงินได้พึงประเมินไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 แต่ต้องนำไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ก และออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีเงินได้ด้วย กรณีนี้

บริษัทฯ คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามอัตรา 3% เป็นค่าบริการ (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3) ไม่ได้ เช่นเดียวกับข้อ 1 ข้างต้น

ข้อหารืออื่นที่เกี่ยวข้อง กับการจ่าย ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

(1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้

                                 (ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12

                                 (ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24

                                 (ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52

(2) ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1)  นำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น

                              การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01(แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน)

ทั้งนี้ ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม
(ตอนต้นปีแจ้งด้วย ล.ย.01 ได้ว่าต้องการซื้อ RMF / ประกันกี่บาท โดยไม่ต้องสนใจว่าซื้อจริงเดือนไหน)

เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น

(3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1)

(4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) – (3)

(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส

       
ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และ
        ให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี
        แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด
        ให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออก
        ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้ว
        ให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น
        ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ต้องยื่นด้วยแบบภงด 1 แต่ยื่นผิดแบบ มีความผิดหรือไม่ ข้อหารือ 0811/03728

เลขที่หนังสือ : กค 0811/3728

วันที่ : 26 เมษายน 2542

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย กรณีการยื่นแบบแสดงรายการ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 17, มาตรา 40, มาตรา 50, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58)ฯ

ข้อหารือ

: บริษัท ก จำกัด ได้จ่ายค่าแรงเป็นรายวันเดือนมกราคม 2541 ให้แก่ลูกจ้างของบริษัทฯพนักงานบัญชีคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 ซึ่งที่ถูกจะต้องนำส่งด้วยแบบภ.ง.ด.1 บริษัทฯ ขออนุโลมให้ถือว่าบริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว

แนววินิจฉัย

: การจ่ายค่าจ้างแรงงานเป็นรายวันแก่ลูกจ้างของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.1 ตามข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538

การที่บริษัทฯ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 เป็นกรณีบริษัทฯยื่นแบบแสดงรายการไม่เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนด


แต่อนุโลมให้ถือว่าบริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว

เลขตู้ : 62/27771

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0706/10627

วันที่: 20 ธันวาคม 2548

เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

 

ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(2)(8) แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

 

ข้อหารือ

 

: บริษัท A จำกัด ประกอบกิจการสำนักพิมพ์ จำหน่ายหนังสือ ตำราเรียนและวิชาการต่างๆ ซึ่งมีทั้งขอลิขสิทธิ์หนังสือจากต่างประเทศนำมาพิมพ์ในประเทศและแปลเป็นภาษาไทย หรือบริษัทฯ ได้จ้างผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆเขียนตำราขึ้นมาใหม่ บริษัทฯ

จึงขอทราบว่า


1. ค่าตอบแทนที่บริษัทฯ ได้จ่ายให้แก่ผู้แปลหรือเรียบเรียง ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และบริษัทฯ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่อย่างไร และหากบริษัทฯ ผู้จ่ายมีข้อตกลงการจ่าย ดังนี้

 

ก. กรณีจ่ายค่าแปลหรือเรียบเรียงให้เป็นจำนวนหนึ่งและไม่มีการจ่ายอีก

 

ข. กรณีจ่ายค่าแปลหรือเรียบเรียงให้เป็นจำนวนหนึ่งและเมื่อมีการพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป จะมีการจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดที่จำหน่ายได้

 

ค. กรณีจ่ายค่าแปลหรือเรียบเรียงให้เป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ของยอดที่จำหน่ายได้ไม่ว่าบริษัทฯ จะจัดพิมพ์กี่ครั้งก็ตาม

 

2. ค่าตอบแทนที่ผู้แปลหรือผู้เรียบเรียงได้รับ ถือเป็นเงินได้จากการให้บริการหรือรับจ้างทำของ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ถูกต้องหรือไม่

 

3. บริษัทฯ ต้องใช้แบบแสดงรายการภาษีประเภทใด สำหรับการนำส่งภาษีดังกล่าว

 

4. กรณีบริษัทฯ จ้างบุคคลภายนอกมาทำงานต่างๆ เช่น งานป้อนข้อมูล จัดเรียงชั้นหนังสือ ทำความสะอาด โดยมีการคิดค่าจ้างเป็นรายวันที่มาทำงาน แต่ได้จ่ายในลักษณะเดือนละครั้งบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 จากเงินค่าจ้างถูกต้องหรือไม่ และใช้แบบแสดงรายการภาษีประเภทใด ในการนำส่งภาษี และกรณีเงินได้ที่บุคคลผู้รับจ้างได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องใช้แบบแสดงรายการภาษีประเภทใดเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปี

 

5. กรณีบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกหรือบุคคลรับจ้างทั่วไป เช่น รถจักรยานยนต์รับจ้างหรือบุคคลรับจ้างทั่วไปเพื่อนำส่งหรือรับเอกสารเป็นครั้งคราว บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ และใช้แบบแสดงรายการภาษีประเภทใด สำหรับการนำส่งภาษีดังกล่าว


แนววินิจฉัย

 

: 1. กรณีบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกให้เป็นผู้แปลวรรณกรรมและเรียบเรียงหนังสือ ซึ่งเป็นผลงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของบุคคลภายนอก ค่าตอบแทนที่บุคคลดังกล่าวได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร และให้ใช้แบบ ภ.ง.ด.2 ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

 

2. กรณีบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกให้เป็นผู้แปลวรรณกรรมและเรียบเรียงหนังสือ ซึ่งเป็นผลงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ค่าตอบแทนที่บุคคลดังกล่าวได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร และให้ใช้แบบ ภ.ง.ด.1 ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

 

3. กรณีบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาทำงานต่างๆ เช่น งานป้อนข้อมูล จัดเรียงชั้นหนังสือ ทำความสะอาด โดยมีการคิดค่าจ้างเป็นรายวันที่มาทำงาน แต่ได้จ่ายในลักษณะเดือนละครั้ง จึงเป็นการรับทำงานให้ โดยมุ่งที่ผลสำเร็จของงานเป็นหลัก ค่าตอบแทนที่บุคคลดังกล่าวได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี

 

บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร และให้ใช้แบบภ.ง.ด.1 ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่

 

4. บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกหรือบุคคลรับจ้างทั่วไป เช่น รถจักรยานยนต์รับจ้างหรือบุคคลรับจ้างทั่วไป เพื่อนำส่งหรือรับเอกสารเป็นครั้งคราว ซึ่งถือว่า

 

การให้บริการรับ-ส่งเอกสารของบุคคลรับจ้างทั่วไปดังกล่าวถือเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ

 

ดังนี้ ค่าจ้างที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่บุคคลผู้รับจ้างดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

 

บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลรับจ้างทั่วไป ตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะแบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท

 

บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าบริการดังกล่าว มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 และให้ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip ตัวอย่างการทำบัญชีขายของออนไลน์ การทําบัญชีร้านค้าอย่างง่าย ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่ายประจําเดือน บัญชีรายรับรายจ่าย สรรพากร สมุดบัญชีรายรับรายจ่ายประจําวัน LAZADA SHOPEE แม่ค้าออนไลน์

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 13,364

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า