Skip to content

รับบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป (Trading Company)

รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป
รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป

รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป

รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง บัญชีพื้นฐานเบื้องต้น ภาษี และกฎหมายใดที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่กิจการต้องระวัง  ทั้งการค้าปลีก รายย่อย การค้าแบบขายส่ง หรือการค้าขายแบบ  B2B รายได้จากการขายมาจากการขายปลีก เงินสด ขายส่งแบบเงินสด และ การขายแบบเงินเชื่อ ลูกค้าทั่วไป ลูกค้าประจำ ลูกค้าขาจร  เจ้าหนี้ Supplier อาจจะมีทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ

การบัญชีสำหรับ กิจการให้บริการ การบันทึกบัญชีค่อนข้างจะธรรมดาไม่มีอะไรสลบซับซ้อน (ตามที่ได้เขียนรายละเอียดในบทความที่แล้ว) รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายบริการ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิด รายได้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ในบทความนี้จะกล่าวถึงกระบวนการบัญชีของกิจการที่ ซื้อสินค้า มาเพื่อขาย หรือ ที่เรียกวันว่า กิจการซื้อมาขายไป Trading กิจการซื้อมาขายไป กิจการที่มีการฝากขายสินค้า (บัญชี ภาษี สินค้าฝากขาย (อ่านเพิ่ม)  ) กับตัวแทนจำหน่าย หรือห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร 

กิจการ หรือ ธุรกิจ ร้านค้าซื้อมาขายไป เช่น ร้านทอง กิจการบริการน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ 7-11 แฟมมิลี่มาร์ท ขายของ Online กิจการขายเครื่องสำอางค์ ครีมเสริมความงาม อาหารเสริม เครื่องใช้ไฟฟ้า ขายอุปกรณ์ก่อสร้าง นำเข้าส่งออก อาหาร ซื้อขาย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ มือสอง ร้านรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ (บริการรวมการขายสินค้า – จ้างทำของหรือขายสินค้า)  รวมถึงนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ กิจการขายเครื่องประดับ อัญมณี เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น โคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ และ อื่นๆ อีกมากมาย

 

ในการบันทึกบัญชี กิจการสามารถลงบัญชีด้วยโปรแกรมที่ทางกิจการใช้เช่น  โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี Express (เอ็กซ์เพรส) หรือ โปรแกรมบัญชี ออนไลน์  ( Online on  Cloud) เชน  Tr cloud SmeMove Flow Account Peak Engine

 

การบัญชีเกี่ยวกับ กิจการซื้อมาขายไป

 
การบัญชีเกี่ยวกับ กิจการซื้อมาขายไป คือ   ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกรายการซื้อและขายสินค้า รวมทั้งรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อและขายสินค้า เช่น การรับคืนสินค้า การส่งคืนสินค้าส่วนลดรับ ส่วนลดจ่ายการตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายงวด ซึ่งการบันทึกบัญชีจะยุ่งยากและซับซ้อนกว่ากิจการให้บริการ
 
 

ระบบการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ามี 2 ระบบ  คือ

 

ระบบการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าม หรือ วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือของธุรกิจซื้อขายสินค้า อาจทำได้ 2 วิธี คือ

1. การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

2. การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)

บัญชีที่บันทึกเกี่ยวกับสินค้าอยู่ 2 บัญชี คืนบัญชีสินค้าคงเหลือ และต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือตอนสิ้นงวดจะดูได้ในบัญชีสินค้าคงเหลือ

ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด ทุกๆ รายการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจะบันทึกไว้ในบัญชีนั้นๆ เมื่อต้องการทราบสินค้าคงเหลือปลายงวดจะไปตรวจนับจากสินค้าคงเหลือ ต้นทุนขายจะหาได้จากการคำนวณ

บทความที่เกี่ยวข้อง

1.  การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด (สินค้าต้นงวดยกมา) 

2.  สินค้าขาดจากรายงานประเด็นความเสี่ยง (สินค้าขาดจากรายงาน)

ลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจซื้อมาขายไป

การดำเนินงาน ของกิจการ ร้านค้า ซื้อมาขายไป จะมีวงจรรายได้ วงจรค่าใช้จ่าย มีลักษณะเหมือนกัน ดังนี้

วงจรรายจ่าย

1.  กิจการซื้อสินค้ามาจากผู้ขาย
2. กิจการจ่ายชำระเงินสดทันที หรือ ได้รับสินเชื่อทางการค้า(บัญชีเจ้าหนี้การค้า  ในประเทศ และต่างประเทศ)
3. เมื่อครบกำหนดมีการจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า 
 
วงจรรายได้
1.  กิจการขายสินค้าให้ผู้ซื้อหรือลูกค้า
2.  กิจการรับชำระเงินสดทันที หรือ   กิจการให้สินเชื่อทางการค้าเกิดลูกหนี้การค้าขึ้นมา
3.  เมื่อถึงกำหนดขำาระหนี้ กิจการรับชำระหนี้จากลูกหนี้การค้า ในประเทศ และต่างประเทศ
 

รายการบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับ กิจการซื้อมาขายไป

การส่งคืนสินค้า และการขอส่วนลด

สินค้าที่ผู้ซื้อสั่งซื้อนั้น ในบางครั้งอาจมีสาเหตุว่า ผู้ขายส่งไปผิดประเภท หรือมีปริมาณหรือคุณภาพ

ไม่ตรงตามที่สั่งซื้อ ผู้ซื้อไม่ต้องการจะรับไว้ ก็จะขอส่ง คืนสินค้านั้นไปให้ผู้ขาย รายการเช่นนี้ เรียกว่า การส่งคืนสินค้า (purchase Returns)

แต่สินค้าที่รับชำรุดหรือ คุณภาพเปลี่ยนนแปลงไปจากที่ตกลงกันไว้ แต่ทางด้านผู้ซื้อยังคง พิจารณารับสินค้านั้นไว้ และแจ้งขอส่วนลดแก่ผู้ขายก็ได ทางด้านผู้ขายจะทำการบันทึกไว้ในบัญชีสินค้า ส่งคืนและส่วนลด

วิธีการส่งคืนสินค้าหรือขอให้ผู้ขายลดราคาให้ มักจะทำเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็น แบบฟอร์มเรียกว่า ใบขอลดหนี้ หรือ Debit Note หรือ Debit Memorandum เพื่อแจ้งให้ผู้ขาย ทราบว่าจะส่งคืนสินค้า หรือขอส่วนลดจำนวนเท่าใด พร้อมทั้งแจ้งเหตุผลให้ผู้ขายทราบด้วย เมื่อผู้ขายได้รับแจ้งขอคืนสินค้าหรือขอส่วนลดแล้ว ถ้าผู้ขายตกลงยินยอม

ผู้ขายจะออก หลักฐานให้กับผู้ซื้อโดย เรียกว่า ใบลดหนี้ (เป็นใบกำกับภาษีแบบหนึ่ง) ส่งมาให้ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ขายยินยอมตกลงตามที่ขอผู้ซื้อจะใช้เอกสารฉบับนี้บันทึกลงรับทำบัญชี และ การจัดทำภาษี เพื่อยื่นสรรพากร

ส่วนลดการค้า (Trade Discounts)

ส่วนลดการค้า 

 

ส่วนลดการค้า หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ขายยอดลดให้แก่ผู้ซื้อโดยคิดเป็นร้อยละของราคาที่ ปรากฏในบัญชีแสดงราคา

ดังนั้นราคาที่ผู้ขายแสดงไว้ในใบกำกับสินค้าจึงเป็นราคาสุทธิ ภายหลังจากที่ได้หักส่วนลดการค้าและไม่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินเร็วหรือช้าของลูกค้าแต่อย่างใด

การที่ธุรกิจให้ส่วนลดการค้าก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากและสะดวกแก่ธุรกิจ ในการเปลี่ยนแปลงราคาขายโดยไม่จำเป็นต้องจัดพิมพ์บัญชีแสดงราคาสินค้าใหม่ทุกครั้ง ส่วนลด การค้าจะไม่มีการนำมาลงบัญชี

เช่นสินค้ารับคืนหรือส่วนลดการค้าแล้วเท่า นั้น เช่น ร้านค้าส่งขายส่ง สินค้าชนิดหนึ่งในราคาหน่วยละ 200 บาท และจะยอมลดให้ 30% ในราคาสินค้าสำหรับร้านค้าปลีก ที่ซื้อสินค้าตั้งแต่ 10 หน่วยขึ้นไป ถ้าร้านค้าปลีกตกลงซื้อสินค้าจำนวน 10 หน่วยเป็นเงินสด

ส่วนลดเงินสด (Cash Discounts)

ส่วนลดเงินสด  หมายถึง ส่วนลดที่เจ้าหนี้จะยอมลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ได้นำเงินสดมา ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เพราะเมื่อกิจการได้มีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การที่จะจูง ใจให้ลูกหนี้หรือผู้ซื้อสินค้าไปเป็นเงินเชื่อนำเงินสดมาชำระหนี้โดยเร็ว

ทางด้านผู้ซื้อส่วนลดเงินสดที่ได้รับจากผู้ขายจะบันทึกรายการเป็น  “ ส่วนลดรับ ” (Purchase  Discounts)  และนำรายการส่วนลดรับนี้ไปหักจากยอดซื้อ เพื่อหายอดซื้อสุทธิ

ทางด้านผู้ขาย ถือว่าส่วนลดเงินสดที่ให้แก่ผู้ซื้อจะบันทึกรายการเป็น  “ ส่วนลดจ่ าย ” (Sales  Discounts)  ซึ่งจะนำเอารายการส่วนลดจ่ายนี้ไปหักจากยอดขาย เพื่อหายอดขายสุทธิ

.

การชำระหนี้

ในการซื้อขายสินค้า โดยปกติผู้ซื้อมักจะต้องชำระเงินให้กับผู้ขายเมื่อส่งมอบสินค้าให้แล้ว เรียกว่าเป็นการขายสด

แต่บางครั้งผู้ขายอาจให้เครดิตแก่ผู้ซื้อเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น  15 วัน 30 วัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเชื่อถือของคู่ค้าระหว่างกัน

 

ระยะเวลาการใช้สินเชื่อ เช่น กำหนดว่าให้ชำระภายใน 10 วัน 20 วัน หรือ 30 วัน เป็นต้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินเร็วขึ้น

ผู้ขายอาจให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อในกรณีชำระเงินโดยเร็ว ซึ่ง ส่วนลดที่ให้นี้เรียกว่า “ ส่วนลดเงินสด ”

ส่วนลดเงินสด จะกำหนดเป็นอัตราร้อยละ เช่น 2% หรือ 3% ของราคาสินค้า ถ้าผู้ซื้อไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระหนี้เต็มจำนวน

ซึ่งจะปรากฏในใบกำกับ สินค้าดังนี้ 2/10 , n /30 หมายถึง กำหนดชำระเงินตามราคาในใบกำกับสินค้าเป็นเวลา 30 วัน นับจาก วันซื้อ หากชำระภายใน 10 วัน นับจากวันซื้อ จะได้ส่วนลดตามราคาในใบกำกับสินค้า 2%

2/ E.O.M . n /60 หมายถึง กำหนดชำาระเงินตามราคาในใบกำกับสินค้าภายใน 60 วัน นับจาก วันที่ซื้อ หากชำระภายในเดือนที่ซื้อสินค้านั้น จะได้ส่วนลดจากราคาในใบกำกับสินค้า 2%

2/10 Prox , n /60 หรือ 2/10 E.O.M. , n /60 หมายถึงกำหนดชำระเงินตามราคาสุทธิที่ปรากฏ ในใบกำกับสินค้าเป็นเวลา 60 วัน ถ้าหากผู้ซื้อนำเงินมาชำระภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่ ซื้อสินค้านี้จะได้ส่วนลด 2% เงื่อนไขการชำระหนี้อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้าหรือตามลักษณะของธุรกิจ

ค่าขนส่งสินค้า (Freight)

ค่าขนส่งสินค้า  (Freight)

ค่าขนส่ง คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้าที่ซื้อมาหรือขายไป เช่น ค่าระวาง ค่า รถบรรทุก ในการซื้อขายสินค้า

เงื่อนไขที่สำคัญที่ควรตกลงกัน คือ การส่งมอบสินค้า ทั้งนี้การซื้อขาย สินค้าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้ากัน

บางกรณีผู้ขายอาจส่งมอบสินค้า ณ ที่จุดขายหรือ บางกรณีอาจ ส่งมอบสินค้าที่ร้านของผู้ซื้อ หรือส่งมอบที่สถานีรถไฟ ท่าเรือ สถานีขนส่งแล้วแต่จะตกลง กัน

 

เงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า มีข้อตกลงกัน 2 ลักษณะดังนี้

1. การส่งมอบสินค้า ณ ที่จุดขาย ผู้ซื้อต้องรับภาระจ่ายค่าขนส่งเอง ค่าขนส่งนี้ผู้ซื้อเรียกว่า  “ ค่าขนส่งเข้า ” ถือว่ าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ

2. การส่งมอบสินค้า ณ ปลายทาง ผู้ขายต้องเป็นผู้รับภาระจ่ายค่าขนส่งสินค้าให้ผู้ซื้อผู้ขาย เรียกค่าขนส่งนี้ว่า  “ ค่าขนส่งออก ” เป็นค่าใช้จ่ายในการขาย


ในการติดต่อซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ การขายจะมีข้อตกลงราคาดังนี้

ราคา  F.O.B. Shipping Point (Free on Board at the Shipping Point) เป็นการซื้อขายสินค้าที่ไม่รวมค่าขนส่งสินค้า การส่งมอบสินค้าจะกระทำ ณ ต้นทาง ผู้ซื้อจะเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง  กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะเป็นของผู้ซื้อ ณ จุดต้นทาง ค่าขนส่งที่ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายจะนำไปบันทึกไว้ในบัญชีค่า ขนส่งเข้า  (Freight – In Account)  และถือเป็นต้นทุนสินค้าอย่างหนึ่ง

ราคา  F.O.B. Destination เป็นการซื้อขายสินค้าที่รวมค่าขนส่งสินค้าไว้ การส่งมอบสินค้า จะกระทำ ณ ปลายทาง เมื่อผู้ขายได้ขนสินค้ามาถึงเมืองหรือประเทศของผู้ซื้อกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะ เป็นของผู้ขายจนกว่ าจะถึงเมืองของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายจะต้องรับภาระค่าขนส่งจนถึงเมืองของผู้ซื้อ โดย จะบันทึกค่าขนส่งนี้เป็นค่าขนส่งออก  (Freight – Out A/C)  ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย

ราคา  C.I.F. (Cost insurance and Freight) เป็นการซื้อขายสินค้าที่ได้รวมราคาทุนสินค้า บวกค่าประกันภั ยบวกค่าขนส่งสินค้าไว้แล้ว เงื่อนไขในการขนส่งต้องระบุให้ชัดเจนว่าส่งมอบที่ไหน  เช่น ณ ที่ท่าเรือของเมืองผู้ซื้อ

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียน ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี

รายได้ของธุรกิจซื้อมาขายไป

ธุรกิจซื้อมาขายไปมีรายได้จาการขายสินค้าที่ซื้อมา นอกจากนี้อาจมีรายได้ที่ได้รับจากกิจการอื่นที่ไม่ใช่จากการขายสินค้าก็ได้ รายได้ของกิจการซื้อมาขายไป ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น2ประเภท คือ

 

  1. รายได้จากการดำเนินงานหลัก หรือรายได้ทางตรง  เป็นรายได้เกิดจากการขายสินค้าอันเป็นธุรกิจปกติของกิจการ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง เช่น การขายทอง การขายน้ำมัน การขายอัญมณี การขายอาหารเสริม ขายอะไหล่ ขายรถยนต์ ขายรถจักรยานยนต์ เป็นต้น

  2. รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานหลักหรือรายได้อื่น เป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินธุรกิจอันเป็นปกติของกิจการ เป็นรายได้ที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจ าและไม่ต่อเนื่องและอาจมีบางงวดบัญชีเท่านั้นเช่น รายได้บริการอื่น รายได้เงินปันผล รายได้ดอกเบี้ย รายได้จากการให้เช่า รายได้จากการขายสินทรัพย์ รายได้จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายของธุรกิจซื้อมาขายไป

ค่าใช้จ่ายของกิจการซื้อมาขายไป

ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายของธุรกิจซื้อมาขายไปสามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทดังนี้

1.ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานหลัก ประกอบด้วยต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงานทั่วไป ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจ าและต่อเนื่องที่เกิดจากธุรกิจปกติของกิจการ เช่น ต้นทุนสินค้าขาย เงินเดือน ค่าโฆษณา ( Facebook Google IG Youtube) ค่าเช่า ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การบันทึกค่าใช้จ่ายที่มีเอกสารไม่ครบถ้วนให้ถูกต้องตามหลักกรมสรรพากร เป็นต้น

2.ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานหลักหรือค่าใช้จ่ายอื่น เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากธุรกิจอันเป็นปกติของกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำและไม่ต่อเนื่อง เช่น ดอกเบี้ยจ่ายขาดทุนจากการขายสินค้าทรัพย์ ขายทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขาดทุนจากเงินลงทุน เป็นต้น

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 8,045

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า