Skip to content

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ มีกี่ประเภท และจดทะเบียนอย่างไร

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ มีกี่ประเภท และจดทะเบียนอย่างไร ​

 

        

    สิ่งที่ควรรู้กอ่นจดทะเบียนธุรกิจ ควรแบ่งเป็น บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล  การจดทะเบียนบริษัทเป็นหลักสำคัญอย่างแรกๆของธุรกิจ นอกจากจะเป็นการแจ้งเกิดธุรกิจของเราให้มีตัวตนอย่างเป็นทางการแล้ว การจดทะเบียนธุรกิจยังเป็นการทำตามกฎหมายอย่างถูกต้อง, เพิ่มความน่าเชื่อถือในระยะยาว, บังคับให้เรามีระบบในการทำธุรกิจ, และยังเป็นการแยกตัวธุรกิจเป็น “นิติบุคคล” อีกคนหนึ่งออกจากเจ้าของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยจำกัดความเสี่ยงจากหนี้สินของธุรกิจ ไม่ให้มาไล่เบี้ยจากเจ้าของธุรกิจได้อีกด้วย

ในบทความนี้ เราจะมาหาความรู้เรื่องการจดทะเบียนธุรกิจกันแบ่งเป็น

  1. ประเภทการจดทะเบียน,
  2. ขั้นตอนการจด และ
  3. ภาระหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากการจดบริษัท


————————————————————————————————————————–

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดทะเบียนบริษัท
สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน บัญชีภาษี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี สำนักงานบัญชี Online

การทำธุรกิจส่วนเตรียมพร้อมด้านไหนบ้าง

ความรู้และข้อมูลในธุรกิจที่ทำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่คิดจะประกอบธุรกิจ เช่น ผู้ที่สนใจทำธุรกิจแฟรนไชส์ ควรศึกษาหาข้อมูลความรู้ในธุรกิจที่จะทำ หาข้อมูลรูปแบบการลงทุน ทำความเข้าใจตัวสินค้า ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน โอกาสในการคืนทุน เป็นต้น ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจนั้นๆเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

อนอื่นผู้ที่จะเริ่มต้นธุรกิจควรพิจารณารูปแบบการทำธุรกิจว่าจะเป็นแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท โดยประเมินความเหมาะสมและข้อดีข้อเสียในรูปแบบธุรกิจแต่ละประเภท การจดทะเบียนธุรกิจ เป็นการแจ้งเกิดธุรกิจอย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้ที่คิดจะเริ่มต้นธุรกิจควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องของการจดทะเบียนธุรกิจด้วย โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. การจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา ซึ่งเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  2. การจดทะเบียนนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด

ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเพราะส่งผลดีค่อความน่าเชื่อถือ มีการทำงานเป็นระบบเป็นขั้นตอน และเอื้ออำนวยต่อการระดมทุนเช่นการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ ผู้ลงทุนควรมีเงินทุนเพียงพอในการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่ควรนำเงินเก็บทั้งหมดมาลงทุน ต่อเมื่อมีการขยายกิจการจึงค่อยพิจารณาการกู้เงิน ผู้ที่จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนใหญ่นิยมเปิดในรูปของบริษัทจำกัดซึ่งในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดให้ชำระค่าหุ้น ณ วันจดทะเบียนจัดตั้ง ไม่ต่ำกว่า 25% ของทุนที่จดทะเบียน

เช่น ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทต้องชำระค่าหุ้น ณ วันจดทะเบียนจัดตั้งไม่ต่ำกว่า 250,000 บาท การจัดตั้งบริษัท กฏหมายกำหนดให้มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนขึ้นไปในการจัดตั้งบริษัท ปัจจุบันการจดทะเบียนจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียวหรือสองคนยังคงเป็นร่างกฎหมายที่รออนุมัติอยู่ ดังนั้นการจัดตั้งบริษัทควรมีเงินทุนสำหรับชำระค่าหุ้นดังกล่าวข้างต้น

เป็นการกำหนดว่าลูกค้าของกิจการคือใคร อยู่ที่ไหน ควรศึกษาความต้องการของตลาดและพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของลูกค้า ปัจจัยที่ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงช่องทางการจัดจำหน่ายในการเข้าหาลูกค้าเช่นการผ่านช่องทางออนไลน์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ประกอบด้วย ช่องทาง Social Network ได้แก่ Facebook, LINE, Instagram เป็นต้น ช่องทาง Marketplace ได้แก่ Lazada, Shopee เป็นต้น หรือการขายผ่าน Website ของกิจการ รวมทั้งช่องทางการค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ได้แก่ ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น หรือแม้แต่การขายผ่านร้านค้าแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ,ซูเปอร์มาร์เก็ต,การขายผ่านแคตตาล็อก เป็นต้น

ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรคำนึงถึงบุคลากรที่จะมาร่วมงานตามความเหมาะสม ในช่วงแรกที่ยังไม่มีจำนวนรายการซื้อขายมากเจ้าของสามารถดำเนินการได้เพียงคนเดียวหรือจ้างเจ้าหน้าที่ 1-2 คน มาช่วยงานเอกสารทั่วๆไป และปรับเปลี่ยนในการจ้างพนักงานในส่วนงานต่างๆเมื่อมีการขยายตัวของกิจการ ไปจนถึงการจัดโครงสร้างองค์กรมีการแบ่งแผนกตามหน้าที่งานเมื่อมีการบริหารงานในรูปของบริษัท

การศึกษาเรียนรู้ในการทำแผนธุรกิจจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นการประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของกิจการเอง รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการทำธุรกิจ การวิเคราะห์คู่แข่ง การจัดหาคู่ค้าทางธุรกิจเช่น ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ,พันธมิตรทางธุรกิจ เป็นต้น รวมทั้งการประเมินต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า การกำหนดจุดขายของธุรกิจ การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ เป็นต้น

ถ้ากิจการเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จำเป็นต้องจัดให้มีการทำบัญชีและจัดหาผู้สอบบัญชี แต่ต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด ซึ่งเป็นหลักฐานประกอบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการได้

แต่กรณีกิจการที่เป็นนิติบุคคลต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีของกิจการ โดยในการทำบัญชีกิจการสามารถจ้างสำนักงานบัญชี, ผู้ทำบัญชีอิสระหรือจ้างนักบัญชีเอง กิจการควรจัดหาโปรแกรมบัญชีที่มีความทันสมัยเหมาะสมกับกิจการเพราะจะช่วยให้การทำบัญชีสะดวกรวดเร็ว ปัจจุบันมีโปรแกรมบัญชีแบบออนไลน์ให้เลือกใช้ สามารถสร้างเอกสารทางบัญชีได้ทางออนไลน์ มีระบบการตรวจสอบทุกขั้นตอนในการออกงบการเงิน มีระบบการเก็บรักษาข้อมูลที่ปลอดภัยและให้งบการเงินที่ถูกต้องทันเวลาและรายงานทางการเงินที่สำคัญทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการนำไปใช้วางแผนได้

ประเภทการจดทะเบียนธุรกิจ

  การจดทะเบียนธุรกิจแบ่งออกเป็น

1) การจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา และ
2) การจดทะเบียนบริษัทสำหรับนิติบุคคล

1) การจดทะเบียนพาณิชย์ (สำหรับบุคคลธรรมดา)

 

      ผู้ที่เข้าข่ายจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 
   – บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล ที่ค้าขายออนไลน์ หรือเป็นตัวแทนขาย ผ่าน website, ระบบร้านค้าออนไลน์, Facebook 
   – บุคคลธรรมดา ที่มีอาชีพค้าขาย และมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง 

      ทั้งนี้ การจดทะเบียนพาณิชย์เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีเจ้าของทำงานเพียงคนเดียว ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ข้อดีของการจดแบบนี้ คือ ผู้ประกอบการจะไม่มีภาระในการทำบัญชีหรือยื่นส่งงบ และมีอิสระในการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาจขาดความน่าเชื่อถือในระยะยาว หาพนักงานยาก ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคาร รวมไปถึงยังทำให้เจ้าของธุรกิจต้องมีภาระหน้าที่ทางกฎหมาย ในการรับภาระหนี้สินของธุรกิจแบบไม่จำกัด

การจดทะเบียนพาณิชย์

  1. การจดทะเบียนพาณิชย์ ประกอบด้วย 2 แบบ คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป และ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  2. จดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ กทม: สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สํานักงานเขต และ ภูมิภาค: เทศบาล อบต. และเมืองพัทยา โดยสถานที่ตั้งสถานประกอบการอยู่ที่ไหน ให้ไปจดทะเบียนพาณิชย์ที่ สํานักงานเขต เทศบาล หรือ อบต.ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  3. ค้าขายทางออนไลน์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยนะ ถ้าไม่จดฯ มีโทษปรับไม่เกิน2,000 บาท และปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะมีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง
  4. พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะได้รับเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อ สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์

2) การจดทะเบียนบริษัท (สำหรับนิติบุคคล)

      จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาระดับหนึ่ง หรือมีเจ้าของ/ผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียนบริษัทจะทำให้มี “บริษัท” มีสถานะเป็น “นิติบุคคล” ที่มีตัวตนตามกฎหมาย แยกต่างหากจากเจ้าของธุรกิจ เจ้าของบริษัทจึงเป็นอิสระจากการไล่เบี้ยหนี้สินของบริษัท(เจ้าของธุรกิจมีภาระการชำระค่าหุ้นให้ครบตามทุนที่จดทะเบียนบริษัทไว้เท่านั้น) อย่างไรก็ตาม บริษัทจะมีภาระหน้าที่แยกต่างหากจากเจ้าของ โดยบริษัทต้องจัดทำบัญชี, เสียภาษี, ยื่นประกันสังคมให้พนักงาน เป็นต้น 

      แม้การมีภาระหน้าที่ดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอยการรู้สึกยุ่งยาก แต่ข้อดีคือ อัตราภาษีเงินได้ของนิติบุคคลจะไม่เกิน 20% ของรายได้หักค่าใช้จ่าย (ซึ่งน้อยกว่าอัตราภาษีของบุคคลธรรมดาทีสูงสุดที่  35%) ทั้งนี้ การจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถทำได้ 3 แบบ ดังนี้

 

 

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

      การทำกิจการแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนั้น ใช้กับผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิจัดการกับกิจการ และแบ่งปันกำไรจากกิจการได้ แต่ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด ทั้งนี้ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน จะมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา

      แต่หากจดทะเบียน จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินของกิจการ แบบ “ไม่จำกัดจำนวน” แต่อาจตกลงให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้  

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

      ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องทำการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วน จะแบ่งเป็นแบบ “จำกัด” และแบบ “ไม่จำกัด” ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ   
– หุ้นส่วนผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด”: จะรับผิดในหนี้สินกิจการไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตน แต่หุ้นส่วนประเภทนี้ จะไม่มีสิทธิตัดสินใจในกิจการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินงานของกิจการได้
– หุ้นส่วนผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัด”: จะรับผิดในหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจการ โดยจะมีสิทธิตัดสินใจต่างๆ ในกิจการได้อย่างเต็มที่ 

บริษัทจำกัด

     ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบในหนี้สินกิจการแบบ “จำกัด” กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นมีภาระเพียงแค่จะต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากชำระครบแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นในกิจการอีก ด้วยการจำกัดความรับผิดนี่เองที่ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนแบบบริษัทจำกัด ทั้งนี้ การจดทะเบียนเป็นบริษัทนั้นส่งผลดี ทั้งต่อความน่าเชื่อถือ, การสร้างระบบการบริหาร, การมีระบบบัญชี และเอื้อต่อการระดมทุน รวมทั้งขอสินเชื่อจากธนาคารมากกว่าการจดทะเบียนแบบอื่น

 

 

ภาระหน้าที่ที่เกิดขึ้น

ภาระหน้าที่รายเดือน

  • จัดทำบัญชี โดยต้องหาผู้ทำบัญชี, จัดทำบัญชี, พร้อมเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชี, ปิดงบการเงิน, และจัดให้มีการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543)
  • ยื่นส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม: หากบริษัทมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน แม้ไม่มีรายการการค้า และให้ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (หรือหากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ท สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่ 23 ของเดือนถัดไป) 
  • ยื่นส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย: หากบริษัทมีการจ่ายค่าบริการ จะต้องทำการหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (หากไม่มีการหัก ณ ที่จ่าย ก็ไม่ต้องยื่น)
    • ยื่นแบบ ภงด.1 เงินเดือน ค่าจ้าง สำหรับพนักงานประจำ 
    • ยื่นแบบ ภงด.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พนักงานประจำ
    • ยื่นแบบ ภงด.53 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลไทย
    • ยื่นแบบ ภงด.54 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลต่างประเทศ
  • ยื่นประกันสังคม: บริษัทที่ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ จะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ด้วยแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 

ภาระหน้าที่รายปี

  • ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล กลางปี: บริษัทต้องยื่นเสียภาษีเงินได้กลางปี โดยคำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี (ยกเว้นบริษัทที่เปิดกิจการปีแรก ไม่ต้องยื่นภาษีกลางปี) โดยยื่นด้วยแบบ ภงด.51 ภายใน 2 เดือน นับจากรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือน
  • ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล สิ้นปี: บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้สิ้นปี จากกำไรสุทธิในปีที่ผ่านมา โดยใช้แบบ ภงด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
  • ยื่นส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

—————-

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565

เมื่อจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วต้องทำอะไรบ้าง

ทุนจดทะเบียนต้องนำฝากธนาคารเต็มจำนวนหรือไม่

ทุน 1 ล้านบาท ต้องนำฝากเข้าบัญชีบริษัทเต็ม 100% หรือไม่

ทุนจดทะเบียนกับทุนชำระต่างกันอย่างไร

ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน ทุนชำระแล้ว 25% ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

บุคคลธรรมดาโอนย้ายกิจการมาเป็นนิติบุคคล

ต้องทำอะไร จะโดนตรวจสอบหรือไม่

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ แท็กวี่ พี่วิน grab ค่าอาหารเลี้ยงพนักงาน Lineman ค่าวัคซีน เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

บิลที่สรรพากร OK เป็นยังไง

บิลเงินสด ซื้อของผ่านไลน์ ซื้อของผ่าน Shopee lazada ทำอย่างไรเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

เอกสารที่ต้องเก็บเพื่อถูกต้องนำมาใช้ทางภาษีได้

เอกสารที่ต้องเก็บมีอะไรบ้างเพื่อตรวจสอบจะได้มีนำยื่นให้ถูกต้อง

เอกสารที่ต้องส่ง สนง บัญชี รับทำบัญชี

ส่งเอกสารอย่างไรให้ สนง ได้รับครบถ้วนถูกต้อง แจ้งสนงอย่างไรเพื่อให้ตรงกับประเภทค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง

ซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ บุคคลธรรมดา นำเข้าบริษัทอย่างไร ได้หรือไม่

ซื้อรถ เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์  ตู้เก็บสินค้าจากกรรมการ บุคคลธรรมดา ร้านขายมือ 2 นำมาเป็นของบริษัทอย่างไร

กู้เงินธนาคารเพื่อนำมาใช้ในกิจการทำอย่างไร

กู้เงินธนาคาร กรรมการเป็นผู้ค้ำ หรือกรรมการกู้ยืมเงินมาเพื่อกิจการทำอย่างไรให้สรรพากร Ok

ซื้อของไม่มีบิล ต้องทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร

ใบรับรองใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร เราสอนแนะนำให้ลูกค้าทำอย่างถูกต้อง

ข้อดีของการไม่จด VAT

สรรพากรรู้รายได้เราจากไหน และจดหมายสรรพากรที่ได้ต้องทำอย่างไร

รายได้ หัก ณ ที่จ่าย เงินเข้าบัญชี มีคนแจ้งสรรพากร รายได้อะไรของเราที่สรรพากรรู้บาง

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย ใบลดหนี้ กรณีสินค้าชำรุด  สำนักงานบัญชีกรุงเทพ

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 1,730

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า