สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีอากรประเมิน คือภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากธุกิจเฉพาะ ได้แก่ การธนาคาร ( รวมถึงการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์) , ธุรกิจเงินทุน, ธุรกิจหลักทรัพย์, ประกันชีวิต, การจำนำ และรวมถึง การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีอากรประเมิน คือภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากธุกิจเฉพาะ ได้แก่ การธนาคาร ( รวมถึงการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์) , ธุรกิจเงินทุน, ธุรกิจหลักทรัพย์, ประกันชีวิต, การจำนำ และรวมถึง การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ กิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการ SME – ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ได้แก่รายรับดังต่อไปนี้ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับหรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ
1) สำหรับกิจการธนาคาร ตามมาตรา 91/2 (1) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ
(ก) ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายหรือที่ได้จากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ และ
(ข) กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ หรือการส่งเงินไปต่างประเทศ
(5) สำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2 (5) รายรับจากการประกอบกิจการ คือ
(ก) รายรับตาม (1) (ก) และ
(ข) รายรับตาม (1) (ข)
ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ (อาจจะยังไม่รับเป็นตัวเงินจริง)
“รายรับ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว
กิจการ
1. กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการเยี่ยง ธนาคารพาณิชย์
ฐานภาษี
– ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ อัตราภาษีร้อยละ3.0
– กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 3.0
1 การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
2 การให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน
3 การให้บริการที่ปรึกษาการลงทุน
4 การให้บริการนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์
5 การให้บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
6 การให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงและไม่มีฐานภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กำหนดไว้
1. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่
1.1 บุคคลซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยกิจการนั้นไม่ได้รับยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะ
1.2 ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรของผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร
1.3 ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราช อาณาจักรของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ธุรกิจเฉพาะได้แก่ แบบ ภ.ธ.40
– ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีโดยใช้แบบ ภ.ธ.40 (แสดงประเภทของกิจการ จำนวนรายรับ จำนวนภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ)
– ยื่นแบบแสดงรายการเป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้น หรือไม่ก็ตาม
– ภาษีในเดือนภาษีใด เมื่อรวมคำนวณแล้วมีจำนวนไม่ถึง 100บาท ผู้ประกอบกิจการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับ เดือนภาษีนั้น แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 26/2534
เรื่อง ดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/5(5) แห่ง ประมวลรัษฎากร
ข้อ 2 กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
ข้อ 3 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติ
กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
ข้อ 5 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ แบบ ภ.ธ.40 ? – ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมกรรมการน้อยกว่า 3,000 บาทต่อเดือน ไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตอนนำส่งแบบ ภ.ธ.40
เช่น เงินกู้ยืม 1.2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ร้อยละ 1.5 กิจการต้องกำหนดให้มากกว่าเพื่อป้องกันข้อโต้แย้งเช่น อัตราร้อยละ 3 นำส่งแบบ ภ.ธ. เดือนละ 3,000 บาท อัตรา ร้อยละ 3.3% เป็นยอดภาษี นำส่ง 99.00 บาท ซึ่งได้รับการยกเว้นตามมาตรา 91/17 ดังนี้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร
มาตรา 91 ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีอากรประเมิน
มาตรา 91/17 ภาษีตามหมวดนี้ ถ้าในเดือนภาษีใดมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทเป็นอันไม่ต้องเสียสำหรับเดือนภาษีนั้น
คุณ Nake Noi (25 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 1:09 น.)
เรียนขอความรู้จากอาจารย์สุเทพค่ะ
ปุจฉา: ในกรณีที่กิจการมีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวน 2,000,000 บาท
ในทางบัญชีไม่มีการคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน
แต่ได้ได้นำดอกเบี้ยรับไปบวกกลับเป็นรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 40,000 บาท และได้นำส่ง ภ.ธ.40 จำนวน 1,320 บาท ในเดือนที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 โดยระบุในแบบ ภ.ธ.40 เป็นเดือน พ.ค
แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ให้คำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่มโดยระบุเบี้ยปรับ 500 บาท ไม่ยื่นแบบ ภ.ธ.40 ภายในกำหนดเวลา และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง พ.ค. โดยให้เหตุผลว่าดอกเบี้ยรับรู้ตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชีคือ 31 ธ.ค.
การคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่มในลักษณะนี้ถูกต้องหรือไม่ในเมื่อดอกเบี้ยรับไม่มีการได้รับจริง เพียงแต่บวกกลับเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเท่านั้น
ขอขอบพระคุณในทุกคำตอบ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ มีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวน 2,000,000 บาท บริษัทฯ ไม่เรียกรับดอกเบี้ยจากกรรมการ ในทางบัญชีจึงไม่มีการบันทึกดอกเบี้ยรับจากกรรมการ แต่บริษัทฯ ได้นำดอกเบี้ยรับไปบวกกลับเป็นรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 40,000 บาท ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และได้ยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อชำระภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1,320 บาท โดยแสดงเป็นรายรับของเดือนพฤษภาคม อันเป็นเดือนเดียวกันที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ต่อมาปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่า
บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนธันวาคมของปีก่อน พร้อมทั้งเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยระบุเบี้ยปรับ 500 บาท ไม่ยื่นแบบ ภ.ธ.40 ภายในกำหนดเวลา และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง พ.ค. โดยให้เหตุผลว่าดอกเบี้ยรับรู้ตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชีคือ 31 ธันวาคม
จึงถามว่า การคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่มในลักษณะนี้ถูกต้องหรือไม่ใน เมื่อดอกเบี้ยรับไม่มีการได้รับจริง เพียงแต่บวกกลับเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเท่านั้น
ขอเรียนว่า
1. ตามมาตรา 91/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัตินิยามคำว่า “รายรับ” เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ดังนี้
….“มาตรา 91/1 ในหมวดนี้
……..(1) “รายรับ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ ” — สำหรับกรณีมีการเรียกรายรับระหว่างกันเท่านั้น
……..2. กรณีที่ไม่มีการเรียกรับดอกเบี้ยระหว่างกัน นั้น ย่อมไม่อาจใช้เกณฑ์เงินสดได้ จึงต้องใช้คำว่า “พึงได้รับ” หรือหมายความว่า “เสมือนหนี่งว่าได้รับ”
…กรณีดอกเบี้ยรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ นั้น โดยทั่วไปให้คำนวณเป็นรายเดือนภาษี ตั้งแต่เดือนแรกของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี แต่เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เจ้าพนักงานประเมินจึงตั้งหลักคำนวณรายรับดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมที่เสมือนหนึ่งว่าได้รับเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชี กรณีที่บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีปฏิทิน จึงถือเป็นรายรับของเดือนธันวาคมของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
….ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่าบริษัทฯ ก็คำนวณรายรับเป็นรายปีเช่นเดียวกัน แต่รับรู้รายรับต่างเดือนกัน จึงคำนวณเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่แจ้ง ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะได้ให้สิทธิหักกลบลบกัน เช่นเดียวกับแนวทางปฏิบัติในระบบภาษีการค้าแต่เดิม กรณีจึงเห็นว่าความเห็นของเจ้าพนักงานประเมินชอบแล้ว
คุณ Aon Savitree (1 พฤษภาคม 2559 เวลา 12:44 น.)
ปุจฉา: เรียน อาจารย์สุเทพ
กรณีบริษัทฯ มีบัญชีลูกหนี้เงินยืมกรรมการ (เกิดจากเงินทุนจดทะเบียนบริษัทฯ ที่เก็บรักษาไว้โดยกรรมการ) ไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยในทางบัญชี (ไม่รับรู้ดอกเบี้ยเป็นรายได้ในงบการเงิน) แต่ได้ปรับปรุงเป็นดอกเบี้ยรับเพื่อเสียภาษีในแบบ ภ.ง.ด. 50 …
คำถามคือ ดอกเบี้ยดังกล่าวต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ยื่น ภ.ธ.40) หรือไม่คะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
การนำเงินสดที่บริษัทฯ ได้จากการลงทุนของผู้ถือหุ้นไปเก็บรักษาไว้กับกรรมการ เท่ากับเป็นการให้กรรมการกู้ยืม อันเข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายรับค่าดอกเบี้ยที่บริษัทฯ ประเมินตนเองด้วย เพราะเข้าลักษณะเป็น “รายรับ” ที่บริษัทฯ พึงได้รับตามมาตรา 91/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
“(1) “รายรับ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ”
การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ภธ40 ตัวอย่าง กรอก แบบ ภ ธ 40 แบบ ภธ.40 ปี 2561 เบี้ยปรับ เงิน เพิ่ม ภ ธ 40 อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยรับ แบบ ภธ.40 ปี 2562 ภ ธ 20 ภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยรับ บริษัทในเครือ การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ แบบ ภธ 40 ไม่ได้รับดอกเบี้ย ต้องนำส่ง ตัวอย่าง กรอก แบบ ภ ธ 40 แบบ ภธ.40 ปี 2561 ภาษี ภ.ธ.40 คืออะไร อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยรับ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยรับ บริษัทในเครือ แบบ ภธ.40 ปี 2560 วิธีคํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยรับ เกณฑ์เงินส
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้