Skip to content

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์
บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในทุกกิจการย่อมต้องมีการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป โปรแกรม Microsoft ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อทำงานเฉพาะอย่างโดยประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์คำนวณเงินเดือนพนักงาน ซอฟต์แวร์ระบบบัญชีหรือซอฟต์แวร์ระบบคลังสินค้า นอกจากนี้ยังรวมไปถึง web base application Mobile base application


ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง ความเกี่ยวข้องทาง บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จ้างทำเพื่องานของกิจการนั้นๆ ไม่ได้วางขายเป็นการทั่วไป บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่กิจการนำมาใช้งาน ว่าต้องบันทึกบัญชีเป็นสินทรัพย์ประเภทใด เป็นสินทรัพย์ถาวร หรือ ค่าสิทธิ์ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท โปรแกรมคอมพิวเตอร์

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียน ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์​ สำเร็จรูป

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

 
การขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังเป็นของบริษัทฯ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงเป็น การให้ใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ

ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) เข้าลักษณะเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ที่จัดเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถือเป็นงาน วรรณกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนั้น บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกันดังนี้

 

 ภาษีมูลค่าเพิ่ม –  VAT

การขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังเป็นของบริษัทฯ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงเป็น การให้ใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระ ราคาค่าบริการตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย Withhoding TAX

ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป ผู้จ่ายที่เป็นนิติบุคคลต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราร้อยละ 3  และนำส่งให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนทำการถัดจากเดือนที่จ่าย

ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป ถือเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ประกอบกับคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

กค 0702(กม.05)/3655 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัทฯ ได้เขียนขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องเล่นเกมปาเป้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริษัทฯ จะขายให้ลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บริษัทฯ ขอทราบว่า
          1. การขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ

          2. การขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปยังต่างประเทศ จัดส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหลักฐานมีเพียงเอกสารใบแจ้งหนี้ และใบเสร็จรับเงินเท่านั้น บริษัทฯ ยังคงได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 หรือไม่

แนววินิจฉัย

     1. การขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังเป็นของบริษัทฯ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงเป็น การให้ใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร

อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระ ราคาค่าบริการตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร

    2. กรณีบริษัทฯ ขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม 1. ให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยจัดส่งผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต

เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวล รัษฎากร

เมื่อบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543

บริษัทฯ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

ส่งออกงานบริการ เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

กค 0811/3092 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบบัญชี สำเร็จรูป EASY-ACC

ข้อหารือ

 

กรณีบริษัท บ. ซึ่งประกอบกิจการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบบัญชี
สำเร็จรูป EASY-ACC ผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือฝากขายตามร้านหนังสือทั่วไป ไม่ได้รับจ้างเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจการใดกิจการหนึ่ง ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าไปติดตั้งด้วยตัวเองหรือสั่งซื้อ จากตัวแทนจำหน่าย ซึ่งตัวแทนจำหน่ายจะมีบริการติดตั้งแก่ผู้ซื้อ ในกรณีลูกค้าไม่พอใจสินค้าก็สามารถคืน ได้ภายใน 30 วัน สภ.1 จึงหารือว่า


1. การขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายซึ่งมีการจำหน่ายไปยังผู้ขายรายย่อยอื่นๆ อีก การหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจะต้องหักเป็นทอด ๆ นั้น จะถือว่าเป็นการหักซ้ำกันในสินค้าชิ้น เดียวกันหรือไม่


2. การคืนหรือเปลี่ยนสินค้าที่ลูกค้าซื้อไปจะต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งหรือไม่


3. การที่ตัวแทนจำหน่ายซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ระบบบัญชีสำเร็จรูปของบริษัทฯ เข้าไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายให้กับลูกค้า จะถือเป็นการขายพร้อม ติดตั้งซึ่งไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่


4. การขายโปรแกรมสำเร็จรูปกรณีดังกล่าวนี้จะถือเป็นการขายงานอันมีลิขสิทธิ์ ให้แก่ผู้ซื้อ
หรือไม่ และต้องอยู่ในบังคับถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่

 

แนววินิจฉัย

 

กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบบัญชีสำเร็จรูป โดยจะผลิตออก
มาเก็บในสต๊อคและจำหน่ายตามคำสั่งซื้อของ ลูกค้าดังกล่าวนี้

ถือว่าเป็นการขายสินค้าประเภทโปรแกรม คอมพิวเตอร์ (Software) ที่ขายทั่วไป ราคาค่าซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร อันอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 3/2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544 ดังนั้น

1. กรณีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายและตัวแทนอาจจำหน่ายผ่านไปยังผู้ขายรายย่อยอื่น
ๆ เงินได้ที่ได้รับทุกทอดนี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องถูก หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกทอด และแม้จะเป็นการหักภาษีในสินค้า ชิ้นเดียวกันหลายครั้งก็ไม่ถือว่าเป็น การหักซ้ำกัน เนื่องจากการขายในแต่ละทอดจะมีการกำหนดราคาขายที่แตกต่างกันไปและจะมีการหักภาษี จากราคาที่แตกต่างกันนั้น

2.กรณีการคืนหรือเปลี่ยนสินค้านั้นหากเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าชนิดและประเภท
เดียวกันโดยราคาไม่เปลี่ยนแปลง ลูกค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด เนื่องจากเป็น การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าชนิดและประเภทเดิมโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใหม่ แต่อย่างใด แต่หาก เป็นกรณีที่การคืนหรือเปลี่ยนสินค้านั้นลูกค้าได้รับสินค้าชนิดและประเภทใหม่หรือได้รับสินค้าชนิดและ ประเภทเดิมแต่ราคาเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากเดิม กรณีนี้ลูกค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับราคาค่าตอบแทนที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าชิ้นใหม่ และบริษัทฯ ก็ได้รับค่าตอบแทนจำนวนใหม่ด้วย 

3.กรณีตัวแทนจำหน่ายได้รวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
ขายแก่ลูกค้านั้น

เนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ ไม่ใช่โปรแกรมพื้นฐานของ เครื่องคอมพิวเตอร์เช่นระบบ Dos หรือ Windows ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานอันจำเป็นก่อนจะนำโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ เครื่องคอมพิวเตอร์และยังคงถือว่าเป็นการจ่ายค่าตอบแทนการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) อันเป็นการจ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 

4.โปรแกรมสำเร็จรูปที่จัดจำหน่ายนี้แม้จะมิใช่การรับจ้างเขียนเพื่อกิจการใดโดยเฉพาะ ก็
ยังถือว่าเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และแม้ผู้ซื้อไป ใช้งานจะไม่ได้รับ ลิขสิทธิ์ไปเป็นของตนเองโดยเด็ดขาด แต่การซื้อดังกล่าวก็ยังถือว่าเป็นการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และราคาที่จ่ายถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร อันอยู่ ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 

กค 0811/ก.631 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตโปรแกรมระบบบัญชีสำเร็จรูป โดยวางจำหน่าย โปรแกรมดังกล่าวผ่านตัวแทนจำหน่าย และไอทีสโตร์ ลักษณะการดำเนินธุรกิจดังกล่าวไปสอด คล้องกับการขายลิขสิทธิ์โปรแกรม ซึ่งจะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 แต่

ลักษณะธุรกิจของบริษัทฯ ไม่ได้เป็นลักษณะการรับจ้างเพื่อผลิตโปรแกรมเฉพาะรายใดรายหนึ่ง แต่ เป็นการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม โปรแกรมที่ผลิตเสร็จแล้วจะถูกบรรจุในกล่องพร้อมด้วยแผ่น โปรแกรมและคู่มือการใช้เหมือนกับโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป บริษัทฯ จึงหารือว่า


1. บริษัทฯ เข้าข่ายถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากผู้ซื้อหรือไม่


2. ถ้าบริษัทฯ ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแล้ว เมื่อตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทฯ นำสินค้า
ไปจำหน่ายต่อ ตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทฯ จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากผู้ซื้ออีกทอดหรือไม่


3. ในการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านทางไอทีสโตร์ จะต้องปฏิบัติอย่างไร ถ้าจะต้องมีการหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากผู้ซื้อ

 

แนววินิจฉัย

ค่าตอบแทนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าตอบแทนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ
ค่าตอบแทนการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ขายโดยทั่วไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมี License หรือไม่ ถือเป็นการ จ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ขายโปรแกรมระบบบัญชีสำเร็จรูปดังกล่าวให้แก่ตัวแทน จำหน่าย ไอทีสโตร์ หรือผู้ซื้อรายอื่นซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือกรณีตัวแทนจำหน่ายนำโปรแกรมดังกล่าวที่ซื้อจากบริษัทฯ ไปขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคล

เงินได้ที่บริษัทฯ และตัวแทนจำหน่ายได้รับ ถือเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ประกอบกับคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

 

กค 0702/6421 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ข้อหารือ

 

กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งบริษัทได้ซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (โปรแกรมบัญชี) และพร้อมใช้งานเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552

 

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจะหักตาม มาตรา 4แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 หรือตามมาตรา 4 จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551

 

แนววินิจฉัย

 

กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ สิทธิในการใช้ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีสิทธิเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ได้ดังนี้


          1. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กรณีไม่จำกัดอายุการใช้ ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ใน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกรณีจำกัดอายุการใช้ ในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้งาน ตามมาตรา 4(4) แห่งพระราช กฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527


          2. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 4 จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ดังนี้

               (1) ภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีรับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้

               (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร ซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงาน ไม่เกินสองร้อยคน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่า ต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ใน (1)

จ้างเขียนโปรแกรมบัญชี วันเริ่มต้นคิดค่าเสื่อมราคา(วันส่งมอบ)

Inbox: 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:57 น.
Ja Silapasatham

อาจารย์คะ รบกวนสอบถามกรณีบริษัทฯ จ้างเขียนโปรแกรมบัญชี โดยสัญญาระบุแบ่งชำระ 3 งวด คือ งวดสุดท้ายชำระเมื่อส่งมอบงาน

ปรากฎว่าวันที่ส่งมอบงาน ทางบริษัทฯ เริ่มใช้งานโปรแกรมดังกล่าว แต่ยังพบปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมอยู่บ้าง

ในงวดสุดท้ายจึงยังไม่ชำระยอดที่เหลือทั้งหมด ขอเก็บไว้ก่อนอีกยอดนึงรอให้แก้ไขให้เรียบร้อยจึงจะชำระให้ แต่ระหว่างนี้ก็ได้ใช้งานโปรแกรมดังกล่าวแล้ว

จึงอยากสอบถามอาจารย์ ดังนี้ทางบริษัทฯ จะรับรู้ค่าเขียนโปรแกรม เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ได้เลย ณ วันที่ส่งมอบได้หรือไม่คะ หรือต้องรอจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขรายการส่วนที่ไม่เรียบร้อยก่อนคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

กรณีบริษัทฯ จ้างเขียนโปรแกรมบัญชี โดยสัญญาระบุแบ่งชำระ 3 งวด คือ งวดสุดท้ายชำระเมื่อส่งมอบงาน ปรากฎว่าวันที่ส่งมอบงาน ทางบริษัทฯ เริ่มใช้งานโปรแกรมดังกล่าว แต่ยังพบปัญาเกี่ยวกับโปรแกรมอยู่บ้าง ดังนั้นในงวดสุดท้ายจึงยังไม่ชำระยอดที่เหลือทั้งหมด ขอเก็บไว้ก่อนำจำนวนหนึ่ง รอให้แก้ไขให้เรียบร้อยจึงจะชำระให้ แต่ระหว่างนี้ก็ได้ใช้งานโปรแกรมดังกล่าวแล้ว นั้น
หากโปรแกรมสามารถใช้งานได้แล้ว

ก็ให้บริษัทฯ รับรู้ค่าเขียนโปรแกรม เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ณ วันที่ส่งมอบได้เลย แต่ถ้าส่วนที่ปรับปรุงแก้ไขเป็นส่วนที่สำคัญ ก็ต้องรอจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขรายการส่วนที่ไม่เรียบร้อยให้เสร็จสิ้นไปเสียก่อน

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์​ กิจการพัฒนาขึ้นเอง

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่กิจการ ว่าจ้างเขียนขึ้นมาเอง และเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบงาน (Software) ที่บริษัทฯ ได้ออกแบบและว่าจ้าง Programmer ให้ดำเนินการ เขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานภายในกิจการของตนเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เมื่อบริษัทฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ซื้อจากบุคคลอื่น จึงไม่ใช่รายจ่ายประเภทต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 4(4) แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 แต่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 20 ตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 252

 

กค 0706/4962 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบงานเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

  บริษัท ท. เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (Software) เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของกิจการ เช่น ระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้ารวมถึงการออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าใช้บริการกับลูกค้า ระบบบันทึกบัญชี เป็นต้น โดยได้ว่าจ้าง Programmer จากภายนอก เข้ามาเขียนโปรแกรมตามความต้องการให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานของกิจการให้เป็นไปตาม เงื่อนไขและข้อกำหนดของบริษัทฯ ที่ได้ออกแบบไว้เท่านั้น บริษัทฯ จะนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดรับรู้เป็นค่าพัฒนาระบบงาน (Software) เพื่อใช้ในกิจการประเภทสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน รวมทั้งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ค่าพัฒนาระบบงาน จึงขอหารือ ดังนี้
                   1.  ค่าพัฒนาระบบงาน (Software) เพื่อใช้งานภายในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการ ว่าจ้าง Programmer ให้ดำเนินการเขียนโปรแกรม ตามที่บริษัทฯ ออกแบบและกำหนดขึ้นนั้น ไม่ถือเป็นค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรืองาน วรรณกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แต่ให้ถือเป็นสินทรัพย์อื่น โดยบริษัทฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ถูกต้องหรือไม่


                  2.  การคำนวณตัดจ่ายค่าใช้จ่ายตาม 1. สามารถคำนวณหักค่าเสื่อมราคาเป็นระยะเวลา 5 ปี ในลักษณะของสินทรัพย์อื่น เนื่องจากค่าพัฒนาระบบงานดังกล่าวบริษัทฯ ไม่ได้ซื้อมาจากบุคคลภายนอกที่มีขายในตลาด Software ทั่วไป ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ถูกต้องหรือไม่

 

แนววินิจฉัย

 

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบงาน (Software) ที่บริษัทฯ ได้ออกแบบและว่าจ้าง Programmer ให้ดำเนินการ เขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานภายในกิจการของตนเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เมื่อบริษัทฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ซื้อจากบุคคลอื่น จึงไม่ใช่รายจ่ายประเภทต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 4(4) แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 แต่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 20 ตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 252

ภาษีที่เกี่ยวข้อง สำหรับ บริษัท พัฒนาโปรแกรม พร้อมส่งมอบ Source Code

คุณ Pinya Pinh‎ (9 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 14:55 น.)
เรียนสอบถาม อจ.สุเทพ ดังนี้ค่ะ
บริษัท A ประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นผู้ขายโปรแกรมสำเร็จรูป ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยประกอบกิจการดังนี้
1. บริษัท A ขายโปรแกรมสำเร็จรูปให้บริษัททั่วไป เช่น บริษัท B ซื้อโปรแกรมเกี่ยวกับโรจิสติกส์ ทางบริษัท A จะลงโปรแกรมนี้ ให้บริษัท B โดยมีวิธีการลงโปรแกรม 2 วิธีคือ
….1.1 บริษัท A ไปที่บริษัท B เพื่อไปลงโปรแกรมที่ Sever ของบริษัท B พร้อมสอนวิธีการใช้งาน
….1.2 บริษัท A รีโมท ไปลงโปรแกรม ที่ Sever ของบริษัท B
2. บริษัท A รับจ้างเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมตามที่ลูกค้าต้องการจากโปรแกรมสำเร็จรูปเดิมที่ลูกค้าซื้อไป เช่น จากข้อ 1 บริษัท B ที่ซื้อโปรแกรมไป ต่อมาต้องการฟังก์ชั่นเพิ่มเติมจากเดิมจึงมาจ้างเขียนโปรแกรมเพิ่ม หรือในภายหลังมีปัญหา ต้องการปรึกษา และต้องการบริการหลังการขาย ทาง บริษัท A จะคิดค่าบริการ เป็นครั้งๆ หรือทำสัญญาเป็นรายปี
3. บริษัท A รับจ้างเขียนโปรแกรมทั่วไป ลูกค้าจะได้ Source Code
4. บริษัท A ขาย Source Code (โค๊ตคือตัวที่โปรแกรมเมอร์เขียนอยู่เบื้องหลังโปรแกรม)
จาก ข้อ 1 – 4 เรียนถามดังนี้ค่ะ
1. ถือว่าบริษัท ขายสินค้า หรือให้บริการ
2. บริษัท มีภาระภาษีอะไรบ้าง
3. บริษัท รีโมท ลงโปรแกรมไปยัง ต่างประเทศ ได้รับสิทธิ์ อัตรา 0% ส่งออก หรือไม่
4. บริษัท ต้องรับภาระภาษีอะไรบ้างคะ
ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
จากข้อเท็จจริงข้างต้น
1. เนื่องจากบริษัทฯ ต้องส่งมอบ Source Code ให้แก่ลูกค้า จึงถือเป็นการโอนกรรมสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นให้แก่ลูกค้า เท่ากับเป็นการขายสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ภาระภาษีอากรสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
….2.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ
….2.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อบริษัทฯ ลูกค้าจ่ายเงินได้ค่าสิทธิตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของเงินได้ ตามข้อ 3/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
….2.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากการขายกรรมสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของมูลค่าสินค้า
3. กรณีบริษัท รีโมทลงโปรแกรมไปยังต่างประเทศ บริษัทฯ ควรดำเนินการคู่ขนานไปกับการส่งแผ่นซีด๊ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการส่งสินค้าที่มีรูปร่างไปยังต่างประเทศ โดยผ่านพิธีการทางศุลกากร ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (ไม่ได้ขอคำแนะนำ แต่อยากทำ!!! แต่จะไม่ขอกล่าวถึงอีกด้านหนึ่ง)
4. ภาระภาษีอากรสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
….2.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ
….2.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อบริษัทฯ ลูกค้าจ่ายเงินได้ค่าสิทธิ (Royalty) บริษัทฯ อาจต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ
….2.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากการขายกรรมสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 0% ของมูลค่าสินค้า ตามข้อ 3

บัญชี ภาษี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ พื้นฐานอันจำเป็น

 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทีเป็นโปรแกรมพื้นฐานของ เครื่องคอมพิวเตอร์เช่นระบบ Dos หรือ Windows ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานอันจำเป็นก่อนจะนำ ตัวอย่าง

 

ข้อหารือโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้ กรณีบริษัทฯ จำหน่ายอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Storage Systems) ซึ่งบรรจุ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) พร้อมกับเครื่อง

หากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นโปรแกรม พื้นฐานอันจำเป็นทำหน้าที่ควบคุมให้อุปกรณ์หลักใช้งานได้ ก่อนจะนำโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้โดยมิได้กำหนด แยกราคา Software ออกจากราคาอุปกรณ์หลัก Software ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อลูกค้าของบริษัทฯ จ่ายเงินสำหรับค่าอุปกรณ์ดังกล่าวจึงไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 473) พ.ศ.2551

“มาตรา 4 จัตวา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อ ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ หรือได้มาซึ่งสิทธิการใช้ แล้วแต่กรณี เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้หักได้ดังต่อไปนี้

(1) ภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้

(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ใน (1)

ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ตลอดจนอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์อันได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วยหรือเครื่องประกอบกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 15,479

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า