Skip to content

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง กิจการนำเข้าส่งออก - โปรแกรม Express

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง กิจการนำเข้าส่งออก - โปรแกรม Express

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายเงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง กิจการนำเข้าส่งออก – โปรแกรม Express

ตัวแทนออกของหรือที่เรียกว่า ชิปปิ้ง ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก  ในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนเจ้าของสินค้า โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้า ตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้า หรือส่งออกสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก ซึ่งตัวแทนออก ของจะได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานในลักษณะเป็นบำเหน็จหรือค่าจ้างจากเจ้าของสินค้าหรือ ตัวแทนของเจ้าของสินค้า

ทางกรมสรรพากรได้อธิบายลักษณะการให้บริการไว้ดังนี้ เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.598

การประกอบธุรกิจตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในฐานะเป็น ตัวแทนกระทำพิธีการศุลกากรแทนเจ้าของสินค้า

       กรณีเจ้าของสินค้าได้จ่ายเงินล่วงหน้า (เงิน Advance เงินทดรองจ่าย ) ให้แก่ตัวแทนออกของเพื่อดำเนินการกระทำพิธีการศุลกากร เจ้าของสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในขณะที่จ่ายเงินจำนวนเงินดังกล่าว และ

      เมื่อตัวแทนออกของจ่ายค่าใช้จ่ายในการ ออกของในนามของเจ้าของสินค้าให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐบาล ซึ่งไม่มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตัวแทนออกของไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และ

      เมื่อเจ้าของสินค้าจ่าย เงินค่าใช้จ่ายในการออกของคืนให้แก่ตัวแทนออกของ ตามใบเสร็จรับเงินของส่วนราชการหรือองค์การ ของรัฐบาลนั้น เจ้าของสินค้าก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

เงินทดรองจ่ายชิปปิ้ง - วิธีการที่ตัวแทนออกของเบิกงินจากเจ้าของสินค้า

    วิธีการที่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เบิกเงินจากเจ้าของสินค้า

        การเบิกเงินค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจากเจ้าของสินค้า หรือที่เรียกว่า “เงินค่า  Advance” ซึ่งตัวแทนออกของจะเบิกเงินล่วงหน้าที่เป็นค่าใช้จ่ายในการออกของ โดยตัวแทนออกของ อาจจะออกใบรับเงินให้แก่ลูกค้า และเมื่อดำเนินงานเสร็จแล้วจะนำค่าใช้จ่ายจริงมาเบิกเพื่อปิดบัญชี  “เงินค่า Advance” ซึงอาจรวบรวมจากการทำงานหลาย ๆ ครั้งเพื่อเบิกปิดบัญชีเงินค่า Advance ใน ครั้งเดียว หรือแยกออกเป็นแต่ละครั้งก็ได้

         ตัวแทนออกของได้มีการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แทนให้กับเจ้าของสินค้าไปก่อน ภายหลังงานเสร็จ ตัวแทนออกของจะเบิกเงินที่สำรองจ่ายไปพร้อมทั้งค่าบริการในการดำเนินงานจาก เจ้าของสินค้า ซึ่งอาจเรียกเก็บเงินโดยการรวบรวมงานหลายครั้งหรือเรียกเก็บเงินแต่ละครั้งก็ได้

       ตัวแทนออกของอาจเบิกค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจากเจ้าของสินค้า และมีการสำรองจ่าย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยก็ได้

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง
เงินทดรองจ่ายชิปปิ้ง กิจการนำเข้าส่งออก - โปรแกรม Express​

เรียนรู้บัญชี ภาษี พื้นฐานสำหรับเจ้าของกิจการ ซื้อมาขายไปและบริการ

สรุปพื้นฐานบัญชีภาษี เบื้องต้ง การกรอกแบบ ภงด 1/3/53 ภงด 1 ก แบบ ภพ 30 36 ความเสี่ยงการตรวจสอบกิจการเบื้องต้น ถึงกิจการท่าน

เงินทดรองจ่าย ลักษณะของค่าใช้จ่ายที่ตัวแทนออกของเรียกเก็บจากเจ้าของสินค้า

เงินทดรองจ่าย ลักษณะของค่าใช้จ่ายที่ตัวแทนออกของเรียกเก็บจากเจ้าของสินค้า​

         ค่าใช้จ่ายที่มีใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุชื่อของเจ้าของสินค้าหรือตัวแทนของเจ้าของ สินค้าในใบเสร็จรับเงิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ได้มีการจ่ายโดยเจ้าของสินค้าหรือตัวแทนของเจ้าของสินค้า ซึ่งตัวแทนออกของทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการจ่ายเงินแทนเจ้าของสินค้าหรือตัวแทนของเจ้าของสินค้า ผู้รับเงินจึงออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า หรือตัวแทนของเจ้าของสินค้าและตัวแทน ออกของจะส่งมอบใบเสร็จรับเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนของเจ้าของสินค้า

               ค่าใช้จ่าย เหล่านี้ได้แก่ ค่าภาระ (Port Handling Charge) ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งจ่ายให้แก่ท่าเรือ คลังสินค้า และผู้ประกอบการท่าเอกชนต่าง ๆ ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของ กรมศุลกากร หรือค่าธรรมเนียมของราชการและรัฐวิสาหกิจ ค่าขนส่งสินค้า ค่าภาระท่าเรือ เป็นต้น

        ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินและค่าใช้จ่ายตามประเพณี เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งได้รับ การยินยอมโดยสมัครใจของเจ้าของสินค้าหรือตัวแทนของเจ้าของสินค้าหรือผู้ว่าจ้างว่า เป็นค่าใช้จ่ายที่มี จริง และเจ้าของสินค้ามีความประสงค์ที่จะจ่าย       

       ค่าบริการของตัวแทนออกของซึ่งเป็นค่าบำเหน็จ หรือค่าจ้างที่เจ้าของสินค้าจ่ายให้ แก่ตัวแทนออกของเมื่อทำงานเสร็จ ในทางปฏิบัติ ตัวแทนออกของอาจออกใบแจ้งหนี้เฉพาะค่าบริการหรือ อาจรวมค่าบริการในใบแจ้งหนี้ในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการออกของที่ดำเนินการแทนเจ้าของสินค้า

เงินทดรองจ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าใช้จ่ายที่จ่ายแทน

กรณีตัวแทนออกของได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการออกของในนามเจ้าของสินค้าให้ แก่ผู้ประกอบการอื่น

         ตัวแทนออกของมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ  12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544

       ซึ่งเจ้าของ สินค้ามีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ประกอบการ และยื่นรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 อย่างไรก็ดี

       ตัวแทนออกของจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ประกอบการแทนเจ้าของสินค้าก็ได้ โดยใช้แบบพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของตัวแทนออกของ แต่ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าด้วย และ

        ตัวแทนออกของจะต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นรายฉบับแต่ละราย เจ้าของสินค้า โดยตัวแทนออกของจะต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้า ในช่อง “ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย” และระบุชื่อตัวแทนออกของในช่อง “ผู้จ่ายเงิน”

        ซึ่งกรมสรรพากร จะออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า และตัวแทนออกของต้องส่งสำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินให้แก่เจ้าของสินค้าด้วย ต่อมาเมื่อเจ้าของสินค้าจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนิน พิธีการออกของจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ตัวแทนออกของ เจ้าของสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

เงินทดรองจ่าย การประยุกต์การใช้งานโปรแกรม Express

การกำหนดผังบัญชี Shipping แยกตามบริษัท เมนูบัญชี / 2 ผังบัญชี

เพื่อให้สะดวกและง่ายในการดูรายละเอียดยอดเงินที่จ่าย Shipping กิจการสามารถแยกผังบัญชีรายตัว Shipping แต่ละรายได้ดังนี้

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง นำเข้าส่งออก Express

การกำหนดรายละเอียดผู้จำหน่าย รายละเอียดค่าใช้จ่าย เมนูซื้อ/6/7

กำหนดรายละเอียดชิ้ปปิ้งแยกตามแต่ละบริษัท พร้อมผูกผังบัญชี และการกำหนดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าอากรขาเข้า และค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และค่าใช้จ่ายในการส่งออก

1. กำหนดรายละเอียดชิปปิ้งแยกตามแต่ละบริษัทและทำการผูกผังบัญชี ให้ทำการบันทึกบัญชีเชื่อมโยงกับบัญชเจ้าหนี้

เงินทดรองจ่าย รายละเอียดผู้จำหน่าย Express

2. กำหนดค่าใช้จ่ายในนำเข้า / ค่าอากรขาเข้า / ภาษีมูลค่า และทำการผูกผังบัญชี ให้ทำการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ / ภาษี หักกับยอดเงินทดรองจ่าย

เงินทดรองจ่าย ค่าใช้จ่าย Express

การกำหนดการวิธีการจ่ายโดยตัดกับ เงินทดรองจ่าย แยกตาม ชิปปิ้ง เมนู เริ่มระบบ /1/5/2 เมนูการจ่ายชำระ

การกำหนดการวิธีการจ่ายโดยตัดกับ เงินทดรองจ่าย แยกตาม ชิปปิ้ง โปรแกรม Express เข้าที่เมนู เริ่มระบบ /1/5/2 เมนูการจ่ายชำระ

การกำหนดค่าการจ่ายชำระจากเงินทดรองจ่าย พร้อม ผูกผังบัญชีให้มีการตัดจ่ายให้ถูกต้องแยกตาม Shipping

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง วิธีการจ่ายชำระ

จ่าย เงินทดรองจ่าย เมนูซื้อ / 5 บันทึกค่าใช้จ่ายอื่น

จ่าย เงินทดรองจ่าย เมนูซื้อ / 5 บันทึกค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อเบิก เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง เบิกเงิน

จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม / ค่าภาษีกรมศุลกากร / ค่าโกดัง เมนู ซื้อ / 5 บันทึกค่าใชจ่ายอื่น

  1. จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการผูกผังบัญชี ค่าใชจ่ายอื่น และ วิธีการจ่ายจากเงินทดรองจ่ายดังนี้

    เงินทดรองจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. จ่ายค่าภาษีกรมศุลกากร จากการผูกผังบัญชี ค่าใชจ่ายอื่น และ วิธีการจ่ายจากเงินทดรองจ่ายดังนี้
    เงินทดรองจ่าย กรมศุลกากร Express

  3. จ่ายโกดัง จากการผูกผังบัญชี ค่าใชจ่ายอื่น และ วิธีการจ่ายจากเงินทดรองจ่ายดังนี้
    เงินทดรองจ่าย ค่าเก็บ Express

Shipping ตั้งเบิกค่าใช้จ่ายของทางชิปปิ้งเอง - มี Credit term / เมนู ซื้อ /4 ซื้อเงินเชื่อในประเทศ

บันทึกบัญชี Shipping ตั้งเบิกค่าใช้จ่ายของทางชิปปิ้งเอง – มี Credit term / เมนู ซื้อ /4 ซื้อเงินเชื่อในประเทศ

เงินทดรองจ่าย ค่าบริการชิปปิ้ง

รายงานบัญชีแยกประเภท ยอดขาดเหลือ เงินทดรองจ่ายชิปปิ้ง / เจ้าหนี้ชิปปิ้ง ค่าบริการนำเข้าส่งออก เมนู รายงาน 5/4/1 ปกติ

รายงานบัญชีแยกประเภท เงินทดรองจ่ายชิปปิ้ง ขาดเกิน โปรแกรม Express เมนู รายงาน 5/4/1 ปกติ

เงินทดรองจ่าย รายะละเอียดเบิกจ่าย

รายงานบัญชีแยกประเภท เจ้าหนี้ชิปปิ้ง – ค่าบริการนำเข้าส่งออก โปรแกรม Express เมนู รายงาน 2/A/2

เงินทดรองจ่าย เจ้าหนี้  Shipping  รับทำบัญชี Express

กรมศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานภาษีซื้อ ส่วนต่าง

Inbox: 1 มิ.ย. 2018 เวลา 17:12 น.
คุณ อินทิรา จานหลง
สวัสดีค่ะ อาจารย์ รบกวนสอบถามเกี่ยวกับภาษีนำเข้าสินค้าค่ะ คือทางบริษัทนำใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรไปเป็นใบกำกับภาษีในการยื่นภาษีซื้อ แต่ในรายงานต้องใส่ยอดอย่างไรคะ เพราะใบเสร็จของกรมศุล จะปัดเศษทศนิยม
ทำให้ไม่ตรงกับฐานภาษีที่คำนวณจากใบขนค่ะ
เช่น ในใบขน ฐานภาษี 15,250 คิดเป็นภาษี1,067.50 บาท แต่ในใบเสร็จกรมศุลฯลงค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,068 บาท จะต้องทำรายงานยื่นสรรพากรด้วยยอดไหนคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วิสัชนา:

ตามข้อ 8 (1) – (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่22) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การบันทึกรายการในรายงานภาษีซื้อดังนี้
           “ข้อ 8 การลงรายการในรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ดำเนินการดังนี้
           (1) ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดเก็บใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพสามิต และเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ แยกต่างหากจากเอกสารหลักฐานอื่น โดยให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
           (ก) แยกเป็นรายเดือนภาษีที่ลงรายการในรายงานภาษีซื้อ
           (ข) เรียงตามลำดับใบกำกับภาษีที่ได้รับ
           (ค) ให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้น ๆ
           (2) ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นรายใบกำกับภาษี โดยให้ลงรายการเรียงตามลำดับใบกำกับภาษีที่ได้รับโดยไม่คำนึงว่าใบกำกับภาษีนั้นจะลงวันเดือนปีใด แต่การลงรายการในช่องวันเดือนปีของใบกำกับภาษี ให้ลงวันเดือนปีตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี และให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับใบกำกับภาษี เว้นแต่ ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจำเป็น ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงมีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามมาตรา 82/3 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการในเดือนภาษีที่นำไปถือเป็นภาษีซื้อได้ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะลงรายการวันหนึ่งวันใดในเดือนภาษีนั้นก็ได้ โดยต้องจัดเรียงเอกสารรวมกับใบกำกับภาษีของเดือนภาษีที่ถือเป็นภาษีซื้อ
           (3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อนำเข้าสินค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากกรมศุลกากร ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร และให้ลงรายการโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (2)
           (4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6แห่งประมวลรัษฎากร ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร และให้ลงรายการโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (2)
           (5) ให้ลงรายการตามใบกำกับภาษีตาม (2) และใบเสร็จรับเงินตาม (3) หรือ (4) เฉพาะรายการภาษีซื้อที่มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น…”

กรณีในใบขน ฐานภาษี 15,250 คิดเป็นภาษี1,067.50 บาท แต่ในใบเสร็จกรมศุลฯลงค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,068 บาท ตามข้อ 8 (3) ดังกล่าว บริษัทฯ ต้องทำรายงานยื่นสรรพากรด้วยยอด 1,068 บาท ครับ

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย บันทึกบัญชีค่า ส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อหารือ ส่งเสริมการขาย การบันทึกรายได้ส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย คือ ค่าส่งเสริมการขาย หักค่าใช้จ่าย ค่าส่งเสริมการขายเป็นเงินได้ประเภทใด แบบฟอร์ม ส่วนลดการค้า

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 14,734

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า