สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
ในการจัดทำบัญชีและภาษี ส่วนใหญ่แล้ว กิจการมักจะมีคำถามและความกังวลในการออกลำดับใบกำกับภาษี เต็มรูป หรือใบกำกับภาษีอย่างย่อ เช่นต้องเรียงลำดับหรือไม่ สามารถกำหนด การลำดับเลขที่ใบกำกับภาษี เรียงตามช่องทางการจำหน่ายหรือไม่ หรือ การลำดับเลขที่ใบกำกับภาษี ตามวัน หรือมีการกระโดดข้ามวัน ข้ามเลขที่จะมีปัญหากับทางเจ้าหน้าที่ กรมสรรพากรหรือไม่ เจ้าหน้าที่บอกว่า การลำดับเลขที่ใบกำกับภาษี ต้องเรียงตามลำดับ ตามวัน ตามรายการเกิดธุรกรรม
ในการ ขายแบบปลีก โดยการโอนเเงินเข้าบัญชีธนาคาร ของกิจการ เช่น การขายของ แม่ค้าออนไลน์ Facebook หรือการขายผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ platform ช่วยในการรวบรวมเงิน เช่น Shopee หรือ lazada มักจะมียอดที่โอนเข้ามาและมาทราบภายหลังจากวันที่เกิดรายการ อีก 2-3 วันหลังจากนั้น
ทางกรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือในเรื่อง ไว้ตามรายละเอียด้านล่าง
การลำดับเลขที่ใบกำกับภาษี ตามช่องทางการชำระเงิน
บ. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสถานประกอบการเพียงแห่งเดียว ประกอบกิจการให้บริการเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ ประสงค์จะออกใบกำกับภาษีหลายเล่มภายในเวลาเดียวกัน เนื่องจากลูกค้าของท่านมีทั้งลูกค้าที่ชำระเงินทันทีกับลูกค้าที่ค้างชำระ ซึ่งจะทำให้เลขที่ของใบกำกับภาษีไม่เรียงลำดับกัน ท่านจึงขอทราบว่า สามารถกระทำได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจะจัดทำใบกำกับภาษีหลายเล่ม โดยแยกเล่มกันระหว่างลูกค้าที่ชำระทันทีกับลูกค้าที่ค้างชำระนั้น สามารถกระทำได้ แต่จะต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น
โดยใบกำกับภาษีนั้นต้องมีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งยังสามารถจัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร แยกออกเป็นการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ชำระทันทีกับการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ค้างชำระได้
ทั้งนี้ ตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542
การลำดับเลขที่ใบกำกับภาษี ตามช่องทางการชำระเงิน
บริษัทฯ ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและวิธีการในการจัดทำใบกำกับภาษี ดังนี้
1. การจัดทำใบกำกับภาษีสามารถกำหนดลำดับเลขที่ (RUNNING N UMBER) แบ่งออกเป็น รายเดือน แยกจากกันได้หรือไม่ หรือมีข้อกำหนดได้อย่างไร ตัวอย่าง
เดือนพฤษภาคม – กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีเป็น 05/001
เดือนมิถุนายน – กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีเป็น 06/001 เป็นต้น
2. การจัดทำใบกำกับภาษีสามารถแยกออกตามประเภทหรือกลุ่มลูกค้าได้หรือไม่ ตัวอย่าง
กลุ่มธุรกิจค้าปลีก – กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีเป็น R-05/001
กลุ่มธุรกิจค้าส่ง – กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีเป็น H-05/001
แนววินิจฉัย
การจัดทำใบกำกับภาษีจะต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 86/4 แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการถูกต้องครบถ้วน แม้เลขที่ของ ใบกำกับภาษีจะเรียงกันโดยแบ่งหมวดเป็นรายเดือน หรือแบ่งหมวดตามประเภทของลูกค้าตามข้อเท็จจริง ข้างต้น บริษัทฯ สามารถกระทำได้โดยไม่มีความผิดแต่อย่างใด
ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip ตัวอย่างการทำบัญชีขายของออนไลน์ การทําบัญชีร้านค้าอย่างง่าย ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่ายประจําเดือน บัญชีรายรับรายจ่าย สรรพากร สมุดบัญชีรายรับรายจ่ายประจําวัน LAZADA SHOPEE แม่ค้าออนไลน์
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้