สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
โอนทรัพย์สินเป็นทุน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลกระทบทางภาษีอากร
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
รูปแบบ : เป็นการตกลงร่วมหุ้นทำกิจการและแบ่งกำไรกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีทั้งแบบรับผิดชอบแบบจำกัดและรับผิดชอบแบบไม่จำกัด บริหารงานโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียน รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน มีความน่าเชื่อถือปานกลาง
สถานะภาพ : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน
การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51
บริษัทจำกัด
รูปแบบ : เป็นการลงทุนผ่านการซื้อหุ้นที่มูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน การรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินของมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ บริหารงานผ่านกรรมการบริษัท มีกระบวนการต่างๆ ในการจัดตั้งและจดทะเบียนที่ค่อนข้างยุ่งยาก รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจดทะเบีย มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก
สถานะภาพขององค์กร : นิติบุคคล (ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
การจัดทำบัญชีและงบการเงิน : ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงิน
การเสียภาษี : เสียภาษีตามอัตราภาษีนิติบุคคล (คิดจากกำไรสุทธิ อัตราคงที่ 20 %) โดยต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้งคือ ภงด.50 และ ภงด.51
ที่มา กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th
การจัดตั้งบริษัท / ห้างหุ้นส่วน ผู้ลงทุนมีสิทธิเลือกลงทุนได้ทั้ง เงิน ทรัพย์สิน และแรงงาน ดังในตัวบทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1026 “ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นำมาลงด้วยนั้น จะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น
หรือลงแรงงานก็ได้”
มาตรา 1108 “กิจการอันจะพึงทำในที่ประชุมตั้งบริษัทนั้น คือ
(1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัท
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง อย่างใดซึ่งเขาต้องออกไปในการเริ่มก่อบริษัท
(3) วางกำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ ถ้าหากมีเจตนาว่าจะให้
(4) วางกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิแห่งหุ้นนั้น ๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท
(5) วางกำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่า ได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว เพราะใช้ให้ด้วย อย่างอื่นนอกจากตัวเงิน และกำหนด ว่าเพียงใดซึ่งจะถือเอาเป็นว่าได้ใช้เงินแล้ว ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท
(6) เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และ วางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย”
โอนทรัพย์สินเป็นทุน
ทรัพย์สินหรือแรงงานที่จะนำมาลงทุนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการ
2. ราคาที่ใช้จะต้องตีราคาตามมูลค่ายุติธรรม (ตลาด)
3. ต้องเป็นสิ่งที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ยอมรับ
เพราะถ้าหากมีการตีราคาเกินจริง จะขัดแย้งกับ ตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยว กับ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
มาตรา 48 “ผู้ใดโดยทุจริต กำหนดค่าแรงงาน หรือทรัพย์สินที่นำมาลงในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด
แทนเงินค่าหุ้นให้สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท“
การลงโดยแรงงาน ต้องเป็นไปตาม ระเบียบว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ.2549
ข้อ 44 “หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้”
ข้อ 45 “แรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นทุนจดทะเบียนในห้างหุ้นส่วน จะเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว หรือ กระทำภายหลังการจดทะเบียน
เป็นห้างหุ้นส่วนก็ได้
รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
ขอข้อมูลเพิ่มเติมการนำทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โต๊ะ อุปกรณ์ออฟฟิศ รถบรรทุก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ แผนธุรกิจ สูตรลับต่างๆ โดยตีมูลค่าทรัพย์สินมาลงทุนในบริษัท
ถือเป็นการนำสังหาริมทรัพย์มาลงเป็นหุ้น โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัท และผู้ถือหุ้นได้หุ้นเป็นค่าตอบแทน
ดังนั้นมูลค่าหุ้นที่ได้รับจึงเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรและ
หากทรัพย์สินตามข้อเท็จจริงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดก ประกอบกับการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นั้นสามารถคำนวณได้จากปริมาณและมูลค่า
จึงถือได้ว่า ผู้โอนมีเจตนาได้มาโดยมุ่งในทางการค้า เข้าลักษณะเป็นการขาย สังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ถือหุ้นในบริษัทจะต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และหากมีมูลค่าเกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีขายด้วย
การนำทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์มาลงทุนนั้น
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นทรัพย์สินอันเป็นมรดก หรือ สังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ที่มิใช่เรือกำปั่นเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือ แพ
ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขที่หนังสือ: กค 0706/9344
วันที่: 10 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำทรัพย์สินส่วนตัวมาลงทุนและการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ ราย บริษัท นงนุชแลนด์สเคป แอนด์การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39 มาตรา 42(9) และมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
: บริษัท น. จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสวน ดูแลสวนและขายต้นไม้
ได้ขอหารือดังนี้
1. บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดสวน ดูแลสวน และขายต้นไม้ให้แก่
เอกชนทั่วไป รวมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ ต่อมาในปี 2544 ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้นำต้นไม้อันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวมาลงทุนในบริษัทฯ เพื่อขยายกิจการ โดยบริษัทฯได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 14 ล้านบาท ทั้งนี้ ต้นไม้ที่นำมาลงทุนเป็นต้นไม้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และในการนำมาลงทุนได้มีการประเมินราคาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้
จึงขอทราบว่า กรณีผู้ถือหุ้นนำต้นไม้อันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวที่มีมาแต่เดิมมาลงทุนจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการคำนวณภาษีสิ้นปี หรือได้รับยกเว้นเงินได้ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
2. ต้นไม้จากการซื้อบางส่วน ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ใช้งานได้เลย ซึ่งใช้สำหรับงาน
บริการ เช่น จัดสวน ในทางปฏิบัติของการบันทึกบัญชี ถือเป็นต้นทุนของงาน
บริการ และต้นไม้อีกส่วนหนึ่งอยู่ในแปลงผลิต ซึ่งทั้งหมดสามารถใช้ได้ทุกขนาดแล้วแต่งานและความประสงค์ของลูกค้า โดยต้นทุนที่ลงในแปลงผลิต ประกอบด้วยค่าแรงคนงาน ค่าปุ๋ย ค่าวิจัย ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ และอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการผลิต บริษัทฯ ประสบปัญหาในการตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดเนื่องจากต้นไม้มีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วและมีอายุจำกัดตามแต่ละสายพันธุ์ อีกทั้งมีบางส่วนสูญเสียเนื่องจากธรรมชาติ บริษัทฯ ไม่สามารถที่จะคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเสมือนสินค้าโดยปกติทั่วไปได้ จึงต้องการทราบวิธีการปฏิบัติและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้นำต้นไม้ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวมาลงทุนเพื่อ
ขยายกิจการบริษัทฯ โดยตีมูลค่าต้นไม้ชำระเป็นค่าหุ้นเพื่อการเพิ่มทุน ถือเป็นการนำสังหาริมทรัพย์มาลงเป็นหุ้น โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นได้หุ้นเป็นค่าตอบแทน ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่ได้รับจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และหากต้นไม้ตามข้อเท็จจริงไม่ใช่ต้นไม้ที่ได้มาโดยทางมรดก ประกอบกับการโอนกรรมสิทธิ์ในต้นไม้ที่สามารถคำนวณได้จากปริมาณต้นไม้และมูลค่าของต้นไม้ จึงถือได้ว่า ผู้โอนมีเจตนาได้มาโดยมุ่งในทางการค้า
เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. กรณีต้นไม้ที่ซื้อมาใช้ในงานจัดสวน บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนต้นไม้ที่สูญเสียเนื่องจากธรรมชาติ การพิจารณาต้นทุนหรือรายจ่ายของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุและเศษซาก ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
เลขตู้ : 68/33672
หากกรรมการ เจ้าของรถยนต์ไม่ได้ประกอบกิจการค้ารถยนต์ การนำรถยนต์ดังกล่าวมาลงทุน ควรถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งทางการค้าตามมาตรา 42 (9) ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
คุณ Chanakunt Chaiwattanawasu (อ. 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 16:14 น.)
เรียนสอบถาม อาจารย์สุเทพครับ
ในกรณีบุคคลธรรมด่ามีการนำทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์มาลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทจำกัด นั้นหุ้นที่ได้มานั้นจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ไหมครับ
แล้วถ้าหากเป็นกรณีที่นิติบุคคลนำทรัพย์สินดังกล่าวมาลงทุนจะมีผลเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรครับ ขอบคุณมากๆครับ
แต่เมื่อพิจารณาถึงข้อหารือที่ กค 0706/9344 แล้ว ผมอยากทราบว่าทำไมทรัพย์สินที่นำมาลงทุนถึงถือว่าเป็นเงินได้ทั้งๆ ที่กฎหมายอนุญาตให้นำทรัพย์สินมาลงทุนแทนเงินสดได้ครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ในกรณีบุคคลธรรมด่ามีการนำทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์มาลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของบริษัทจำกัด นั้น
หุ้นที่ได้มานั้นจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
แต่ถ้าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพรระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ก็ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
ในกรณีที่นิติบุคคลนำทรัพย์สินดังกล่าวมาลงทุนจะมีผลเหมือนกัน ในแง่ของการถือว่าการโอนทรัพย์สินเพื่อนำไปเป็นเงินทุนในบริษัท
แต่ต่างกันที่ไม่มีเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษี่ธุรกิจเฉพาะ อย่างไรครับ
ตามแนวคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากรที่ กค 0706/9344 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ซึ่งวินิจฉัยวา “กรณีผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้นำต้นไม้ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวมาลงทุนเพื่อขยายกิจการบริษัทฯ โดยตีมูลค่าต้นไม้ชำระเป็นค่าหุ้นเพื่อการเพิ่มทุน ถือเป็นการนำสังหาริมทรัพย์มาลงเป็นหุ้น โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นได้หุ้นเป็นค่าตอบแทน
ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่ได้รับจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และหากต้นไม้ตามข้อเท็จจริงไม่ใช่ต้นไม้ที่ได้มาโดยทางมรดก ประกอบกับการโอนกรรมสิทธิ์ในต้นไม้ที่สามารถคำนวณได้จากปริมาณต้นไม้และมูลค่าของต้นไม้
จึงถือได้ว่า ผู้โอนมีเจตนาได้มาโดย มุ่งในทางการค้า เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เป็นเหตุให้ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” นั้นเป็นนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ไม่เข้าเงือนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบัยที่ 630) พ.ศ. 2560
ที่กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเฉพาะการโอนทรัพย์สิน และการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด เท่านั้น
นโยบายส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล โดยออก พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ.2560 “พรฎ.630” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2560 โดยมีหลักการสำคัญสองประเด็น คือ
1. ยกเว้นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์สินจากการประกอบกิจการหรือสินค้าจากผู้ประกอบการ บุคคลธรรมดาโดยได้รับตอบแทนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือหุ้นของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 อันได้แก่ภาษี 4 ประเภทคือ
เงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ
อากรแสตมป์ (มาตรา 4 แห่ง พรฎ. 630)
2. ยกเว้นภาษีเงินได้ร้อยละ 100 (คือถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มอีก 100 %) สำหรับนิติบุคคลตั้งขึ้นใหม่ ตามข้อ 1 ที่มีทุนชำระแล้วในวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ ซึ่งนับเฉพาะจากการขายสินค้าและการให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อรอบบัญชี ได้รับยกเว้น ภาษีร้อยละ 100 ของ
ค่าจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล
ค่าทำบัญชี
ค่าสอบบัญชี เป็นระยะเวลาห้ารอบ บัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป (มาตรา 5 แห่ง พรฎ. 630)
โดยรายละเอียดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งอธิบดี ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 4 และถูกแก้ไขโดยฉบับที่ 5 โดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พรฎ.ฉบับที่ 630 ดังกล่าว ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 630 ดังกล่าว
ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีดังกล่าว มีเพียงบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติขยายสิทธิประโยชน์ภาษีดังกล่าวให้ผู้ประกอบการ ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เช่นเดียวกับบุคคล ธรรมดาด้วย ในที่สุดมีการออก พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 644 พ.ศ. 2560 “พรฎ.644” ออกมาแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4 แห่งพรฎ.630
มีสาระสำคัญคือ ให้ยกเลิกมาตรา 4 แห่งพรฎ.630 ตามข้อ 1 และแก้ไขข้อความเป็น
“มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 หมวด 3 ภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่บุคคลธรรมดา และ ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แล้วแต่ กรณี
ทั้งนี้เฉพาะการโอนทรัพย์สินและการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้กระทำตั้งแต่ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด” การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนอกจากจะเพิ่มการขยายสิทธิประโยชน์ภาษีให้ “ห้างหุ้นส่วนสามัญและ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” แล้ว ยังเพิ่มคำจากหุ้นสามัญเป็น “หุ้นสามัญหรือหุ้น(คำว่าหุ้นใช้กับทุนของ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน” ให้ครบถ้วนเนื่องจากพรฎ.630 บัญญัติตกไป
เลขที่หนังสือ : ๐๗๐๒/๑๗๐๒
วันที่ : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการให้แก่นิติบุคคล
ข้อกฎหมาย : มาตรา ๔๒ (๙) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
นาย ก ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการโรงเรียนกวดวิชาตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ได้ขอเปลี่ยนชื่อผู้รับอนุญาตในใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนฯ เป็นบริษัทฯ โดยไม่มีค่าตอบแทน และ
นอกจากนี้ได้โอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการโรงเรียน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องขยายเสียง เอกสารประกอบการเรียนที่แจกให้นักเรียน ฯลฯ ให้แก่บริษัทฯ โดยคิดมูลค่าตามราคาทรัพย์สิน ณ วันที่โอน และบริษัทฯ ได้นำทรัพย์สินที่รับโอนมาบันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ
๑. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการโรงเรียนฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร หรือไม่ อย่างไร
๒. หากเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะสามารถหักค่าใช้จ่าย อย่างไร
๓. การโอนทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย
๑. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
๑.๑ กรณีที่ขอเปลี่ยนชื่อผู้รับอนุญาตในใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนฯ จากบุคคลธรรมดาเป็นบริษัทฯ นั้น หากมิได้รับค่าตอบแทนใด ๆ กรณีดังกล่าว นาย ก ไม่มีเงินได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด
๑.๒ กรณีที่ได้โอนทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบกิจการโรงเรียนฯ ให้แก่บริษัทฯ นั้น เงินได้จากการโอนทรัพย์สินในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ (๙) แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี หากทรัพย์สินใดที่โอนเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อขายให้แก่นักเรียน
๒. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีที่โอนทรัพย์สินทั้งหมดให้บริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ ได้ใช้ทรัพย์สินต่อไป ในกิจการโรงเรียนฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าโดยผู้ประกอบการตามมาตรา ๗๗/๒ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร การโอนทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
เลขตู้ : ๘๒/๔๐๘๔๔
การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ภาษี ที่เกี่ยวข้อง นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีร้านค้า บุคคลธรรมดา 2562 2563 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2562 2563 ใหม่ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2561 ภาษีนิติบุคคล 2561 ภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ภาษีการค้า คือ 2561 2562 2018 2019 2020 การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนบริษัท pantip จดทะเบียนบริษัทที่ไหน การจดทะเบียนบริษัท คนเดียว แบบฟอร์มจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง จดทะเบียนบริษัท กี่คน จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ เอกสารจดทะเบียนบริษัทใหม่
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้