สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
รับทำบัญชี ปั๊มน้ำมัน และส่งภาษีอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาสรุปความรู้ทางภาษีในการจัดทำบัญชีเบื้องต้น ที่เจ้าของปั๊มน้ำมันควรรู้ ว่าบัญชีปั๊มน้ำมันจะจัดการในรูปแบบธุรกิจใด ซึ่งส่งผลต่อภาษีที่เกิดขึ้นในรูปแบบกิจการที่แตกต่างกัน รวมทั้งข้อผิดพลาดในการจัดทำบัญชีปั๊มน้ำมัน ซึ่งพบเจอจากการตรวจสอบของกรมสรรพากรในการเข้าตรวจกิจการ ส่งผลให้เจ้าของปั๊มน้ำมันต้องมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น บทความนี้จะช่วยสรุปข้อผิดพลาดเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายทางภาษีที่อาจเกิดขึ้นได้
ในการรับทำบัญชี ปั๊มน้ำมัน เราสามารถแยกได้เป็นกิจการได้ 3 ประเภทดังนี้ กิจการสถานีบริการน้ามันเชื้อเพลิง สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติ (NGV) สถานีบริการ หมายถึง สถานที่สาหรับจาหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติม หรือใส่ลงใน ที่บรรจุเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดที่ติดตั้งไว้เป็นประจำและให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ามันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง
รายได้หลักจากปั๊มน้ำมัน
รายได้หลัก ได้แก่ รายได้จากการขายน้ามัน และก๊าซ.
รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
รายได้อื่น ได้แก่ รายได้จากการประกอบการอื่น อาจจะจัดทำเองหรือให้ผู้อื่นมาดำเนินการ
ค่าใช้จ่ายของปั๊มน้ำมัน
– ค่าน้ามัน ก๊าซ
– เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ
– ค่าเช่า – ค่าซ่อมแซม บารุงรักษา
– ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด ค่าส่งเสริมการขาย
– ค่าประกันภัย – ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
– ดอกเบี้ยจ่าย – ค่าที่ปรึกษา
– ค่าไฟฟ้า ค่าน้าประปา ค่าโทรศัพท์ – ค่าขนส่ง
– ฯลฯ
รูปแบบการประกอบกิจการจะเป็นตัวกำหนดประเภทรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเสียภาษี การรับทำบัญชี ปั๊มน้ำมัน ซึ่งแยกได้ 2 ประเภทดังนี้
การคำนวนภาษี
ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่ง สามารถเลือกหัก
1. ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอัตราร้อยละ 80 หรือ
2. ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
การคำนวนภาษี
ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่ง สามารถเลือกหัก
1. ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอัตราร้อยละ 80 หรือ
2. ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรภีคานวภภาษีจากฐานเงินได้สุทธิ และการยื่นแบบแสดงรายได้
อัตรารายได้ภาษีบุคคลธรรมดาปี 2561
ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การคำนวนภาษี
1. การคานวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ
2. ฐานภาษี ได้แก่ กาไรสุทธิซึ่งคานวณได้จากรายได้จากกิจการ เสียภาษีปีละ 2 ครั้งด้วยแบบ ภงด 51 และ ภงด 50
3. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในการคานวณภาษีจากฐานกาไรสุทธิ 2561
ภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการปั๊มน้ำมัน
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. อากรแสตมป์ เช่น กิจการเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ สัญญาเช่าที่ดิน สถานประกอบการ สิ่งปลูกสร้าง หรือ เช่าซื้อทรัพย์สิน ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ชาระอากรแสตม
3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น กิจการปั๊มน้ำมัน ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินและคานวณดอกเบี้ยรับเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (ปั๊มน้ำมัน) ที่ได้รับอนุมัติเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท** หากผู้ซื้อน้ำมันร้องขอใบกำกับภาษีจะต้องออกใบกำกับให้
ลักษณะของปั๊มน้ำมันที่เข้าข่ายการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก
(1) เป็นสถานบริการน้ำมันที่ไม่ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินหรือระบบคอมพิวเตอร์รับชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
(2) เป็นสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นถังใต้ดินซึ่งมีความจุใบละ 5,000 ลิตรขึ้นไป
(3) เป็นสถานบริการน้ำมันที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก
ปั๊มน้ำมันที่ได้รับอนุมัติต้องดำเนินการตามนี้
ในการรับทำบัญชี ปั๊มน้ำมัน หรือ รายการทางการค้า การบันทึกบัญชีของกิจการปั๊มน้ำมัน มีการบันทึกบัญชี หรือการจัดทำบัญชีแตกต่างจากกิจการซื้อมาขายไปคือ รายงานภาษีน้ำมันซส่วน ก รายงานน้ำมันส่วน ข และ รายงานน้ำมันส่วน ค ซึ่งสำหรับกิจการซื้อมาขายไป ก็เปรียบได้กับรายงานสินค้าคงเหลือ แต่ในกิจการปั๊มน้ำมัน การบันทึกบัญชีต้องมีรายงานทั้ง 3 แบบ จัดทำตามกำหนดเวลาที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอลน้ำมันคงเหลือ รวมถึงแสดงภาษีซื้อและ ภาษีขายของน้ำมันในแต่ละวัน แต่ละหัวจ่ายด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
รายงานภาษีน้ำมันส่วน ก คือ รายงานขายผ่านมิเตอร์ประจำวันของแต่ละหัวจ่าย
รายงานยอดขายน้ำมันจากหัวจ่าย แสดงเป็นทั้งจำนวนลิตร และจำนวนเงิน รวมถึงได้แสดงในส่วนของภาษีซื้อ และภาษีขาย ในวันนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน โดยแสดงแยกประเภทน้ำมันแต่ละชนิดออกจากกัน
หลักในการตรวจสอบ คือ ตรวจสอบมิเตอร์เริ่มต้น และมิเตอร์สิ้นสุดของแต่ละวัน ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่
รายงานภาษีน้ำมันส่วน ข คือ เปรียบเสมือนรายงานเคลื่อนไหวสินค้าประจำวัน โดยจะแสดงยอดคงเหลือยกมา (เป็นยอดจากการตรวจนับของวันก่อน), ยอดซื้อ, ยอดขาย, และ “ยอดคงเหลือตามบัญชีตอนสิ้นวัน”เปรียบเทียบกับ “ ยอดคงเหลือของน้ำมันที่วัดได้จริง ” ทั้งนี้ ผลต่างสะสมของยอดน้ำมันคงเหลือตามบัญชีกับยอดน้ำมันคงเหลือจากการตรวจนับจะต้องไม่เกินร้อยละ 0.50 ของยอดขายสะสมประจำเดือนของน้ำมันแต่ละชนิด
รายงานดังกล่าวจะให้ข้อมูลดังต่อไปนี้
1. ยอดคงเหลือน้ำมันประจำวัน
2. ยอดซื้อน้ำมัน
3. ยอดขายน้ำมัน
4. ยอดคงเหลือจากการคำนวณ
5. ยอดคงเหลือทางบัญชี
6. ผลต่างประจำวัน
7. ผลต่างยกมาจากวันก่อน
8. ผลต่างสะสมยกไป
รายงานภาษีน้ำมันส่วน ค คือ มีรูปแบบเหมือนรายงานภาษี ข ทุกอย่าง แต่รายงานภาษี ค จะแสดงเป็นข้อมูลการเคลื่อนไหวน้ำมันประจำเดือน โดยจะแสดงยอดคงเหลือยกมา (เป็นยอดจากการตรวจนับของเดือนก่อน), ยอดซื้อ, ยอดขาย, และ “ยอดคงเหลือตามบัญชีตอนสิ้นเดือน ”เปรียบเทียบกับ “ ยอดคงเหลือของน้ำมันที่วัดได้จริง ” ทั้งนี้ ผลต่างสะสมของยอดน้ำมันคงเหลือตามบัญชีกับยอดน้ำมันคงเหลือจากการตรวจนับจะต้องไม่เกินร้อยละ 0.50 ของยอดขายสะสมประจำเดือนของน้ำมันแต่ละชนิด
รายงานดังกล่าวจะให้ข้อมูลดังต่อไปนี้
1. ยอดคงเหลือน้ำมันประจำวัน
2. ยอดซื้อน้ำมัน
3. ยอดขายน้ำมัน
4. ยอดคงเหลือจากการคำนวณ
5. ยอดคงเหลือทางบัญชี
1. มีการจ่ายส่วนลดส่งเสริมการขาย และมีการรับเงินชดเชยน้ำมัน แต่ผู้ประกอบการมักไม่นำมารวมคำนวณเป็นรายได้
2. ขายน้ำมันโดยไม่ผ่านมิเตอร์หัวจ่าย และไม่ออกใบกำกับภาษีขาย
3. ไม่ได้นำส่วนลดการซื้อน้ำมันมารวมคำนวณเป็นรายได้หรือนำมาหักรายจ่ายค่าซื้อน้ำมัน
4. รายได้ค่าขนส่ง ไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย เช่น กิจการที่มีรถสาหรับขนส่งน้ำมัน และมีค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีรายได้ค่าขนส่ง
5. ยื่นรายรับตามแบบ ภ.พ.๓๐ และ รายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.๕๐ ขาด
6. ไม่นำค่าเช่ามาลงเป็นรายได้
7. มีรายการหักยอดน้ำมันใช้เองและรายการทดสอบน้ำมันสูงผิดปกติ
8. นำรายได้ไปเสียภาษีไม่ครบถ้วน โดยเป็นการสร้างส่วนลดหน้าปั๊มเป็นจำนวนค่อนข้างสูง หรือ ยอดขายตามมิเตอร์หัวจ่าย แตกต่างจากยอดขายทางบัญชี ทำให้ยอดขายขาด หรือ ขายในราคาขายปลีก แต่ลงบัญชีในราคาขายส่ง
9. ไม่นำรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นมาลงเป็นรายได้และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ครบถ้วน
10. ราคาขายน้ำมันไม่เป็นไปตามราคาประกาศของบริษัทแม่
11. มียอดซื้อน้ำมันต่อยอดขายน้ำมันสูง มีการนำน้ำมันไปใช้ในกิจการขนส่ง หรือซื้อใส่ถังแยกไว้ต่างหากเพื่อใช้ในกิจการขนส่ง
12.ไม่ได้เฉลี่ยภาษีซื้อ กรณีประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) และรับจ้างขนส่งน้ำมัน (ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยได้นำสินทรัพย์ สินค้า หรือบริการ ที่ได้มาหรือได้รับมาไปใช้ ในการประกอบกิจการทั้งสองประเภท หรือไม่ได้เฉลี่ยภาษีซื้อ กรณีมีรายได้จากการให้เช่าสถานประกอบการ แต่รายจ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า นาไปหักเป็นรายจ่ายของผู้ประกอบการทั้งหมด
13. ปริมาณยอดซื้อน้ำมันมีมากกว่าขนาดของถังบรรจุน้ำมันของกิจการทั้งหมด – ผิดชัดเจน
14. มีการซื้อทรัพย์สินในนามสถานประกอบการ โดยเป็นทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ เช่น มีรถบรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์นั่ง หลายคัน ลงบัญชีทรัพย์สินสูงเกินจริง
15. มีการบันทึกรายจ่ายเกี่ยวกับรายจ่ายพนักงานสูงเกินจริงในการประกอบ และอื่นๆ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้