สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
การลักทรัพย์
การลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยต้องการจะครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เพื่อตนเองเอาไปขายหรือให้กับบุคคลอื่นก็ตามแต่ ผู้ที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์จะต้องถูกระวางโทษไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 พันบาท
การลักทรัพย์นั้นถ้าผู้กระทำได้กระทำในเวลากลางคืนหรือในบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด หรือในบริเวณที่มีอุบัติเหตุผู้ที่เข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณดังกล่าวจะต้องถูกระวางโทษหนักขึ้นกว่าการลักทรัพย์ในเวลา สถานที่หรือเหตุการณ์ปกติ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุการณ์ หรือช่วงเวลาดังกล่าวเจ้าของทรัพย์กำลังได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถที่จะดูแลทรัพย์ของตนเองได้และการกระทำในเหตุการณ์หรือช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการกระทำที่ซ้ำเติมเจ้าของทรัพย์ที่กำลังได้รับความเดือดร้อน
ที่มา http://www.taparnhin.phichit.police.go.th
การยักยอกทรัพย์ คือ
ตามกฎหมาย การยักยอกทรัพย์ว่า “เป็นการนำทรัพย์ของคนอื่นแล้วเบียดเบียนเอาไปเป็นของตนเอง เช่น ทรัพย์ที่ฝากไว้ หรือเป็นทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของเรา แต่ไม่ใช่ของเรา เอาไปขายหรืออะไรก็ตามแต่ เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์”
เมื่อยักยอกทรัพย์ไปแล้วและนำมาคืน ความผิดจะสำเร็จนับตั้งแต่วันที่ยักยอกไป เมื่อนำมาคืนเรียกว่าเป็นการบรรเทาผลร้าย ไม่ได้หมายความว่าไม่ผิด ศาลอาจจะเห็นใจลดโทษให้ อีกทั้ง คดียักยอกทรัพย์เป็นคดีที่สามารถยอมความได้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้นเป็นความผิดอันยอมความได้ ต้องแจ้งความหรือฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ มิฉะนั้นแล้วคดีจะขาดอายุความ เมื่อฟ้องคดีผู้นั้นไปต่อศาล ในคดีอาญานั้นถ้าคดีขาดอายุความ ศาลจะมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย
ตัวอย่าง คดีที่มีลักษณะเป็นความผิดอันยอมความได้ ได้แก่ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ โกงเจ้าหนี้ ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก หมิ่นประมาท พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เป็นต้น คดีเหล่านี้ต้องแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องร้องดำเนินคดีภายใน 3 เดือนเท่านั้นนะครับ
ที่มา https://www.closelawyer.com
รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
อัตรค่าบริการรับทำบัญชีเลขที่หนังสือ: กค 0706/34060
วันที: 5 เมษายน 2549
เรื่อ: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหาย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี มาตรา 77/1 และมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
: บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อมา ขายไป เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2549 สินค้าของบริษัทฯ บางส่วนถูกโจรกรรมไป บริษัทฯ ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ จึงขอทราบว่า
1. กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรมไปถือเป็นผลเสียหายที่บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าสินค้าดังกล่าวมาบันทึกเป็นผลเสียหาย ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่
2. สินค้าถูกโจรกรรมไป อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม
3. บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายสูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรม และบริษัทฯ ได้แจ้งความไว้แล้ว หากสินค้าที่สูญหายดังกล่าวไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ย่อมถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวน ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ จะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สินค้านั้นได้สูญหายจริง
2. กรณีสินค้าสูญหาย เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่สูญหายไปดังกล่าวตามมาตรา 79 และมาตรา 79/3(3) แห่งประมวลรัษฎากร
3. ภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่สูญหายเนื่องจากถูกโจรกรรมไปนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
เลขตู้:69/34060
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายเศษโลหะทุกชนิด โดยรับซื้อจากหลายแหล่งนำมาคัดแยกแล้วอัดเป็นก้อนเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ
ในระหว่างปี 2547 บริษัทฯ ถูกโจรกรรมในเวลากลางคืน และสินค้าของบริษัทฯ ถูกลักขโมย ในวันรุ่งขึ้น บริษัทฯ ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุภายในโรงงานเพื่อติดตามจับกุมคนร้าย (หลักฐานเพื่อพิสูจน์ความสูญหารที่เกิดขึ้น )
ต่อมา สถานีตำรวจนครบาล แจ้งว่า พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นให้งดการสอบสวน โดยส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งพนักงานอัยการมีความเห็นให้งดการสอบสวน และมีคำสั่งให้งดการสอบสวน
บริษัทฯ ขอทราบว่า ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ ดังต่อไปนี้
1. สินค้าของบริษัทฯ ที่ถูกขโมยเป็นสินค้าที่ไม่มีประกัน หรือสัญญาคุ้มกันใดๆ มูลค่าของสินค้าที่สูญหายดังกล่าว ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ ไม่ถือเป็นการขายที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าที่สูญหายไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
3. สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ ที่สูญหายเนื่องจากการถูกโจรกรรม เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่สูญหายดังกล่าว
4. ภาษีซื้อของสินค้าที่ถูกโจรกรรม เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย
1.กรณีตาม 1 และ 2 สินค้าของบริษัทฯ สูญหาย และบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่าสินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ ผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ
บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องนำมาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกโจรกรรม มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีที่การดำเนินคดีความสิ้นสุด
(หายเมื่อไหร่ แจ้งความดำเนินคดีอาญา นำมาบันทึกค่าใช้จ่ายตามรอบบัญชีนั้น)
และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับสินค้าคืนหรือได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้นำจำนวนสินค้าหรือจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระมาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. กรณีตาม 3 สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ ที่สูญหายเนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) และ(9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 จากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีตาม 4 หากบริษัทฯ ได้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่เป็นต้องห้าม ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร
คำค้นหา การ ปิด บริษัท ต้อง ทํา อย่างไร pantip , ค่า ใช้ จ่าย การ จดทะเบียน เลิก บริษัท, ขั้นตอนการปิดบริษัท กรมสรรพากร,ปิดบริษัทชั่วคราว,ปิดหจก pantip,ตัวอย่างงบเลิกกิจการ,ภาษีเลิกกิจการ,การปิดบัญชีบริษัท,หนังสือชี้แจงเลิกกิจการ,ตัวอย่าง รายงานการประชุม จด เลิก บริษัท,รับ จดทะเบียน บริษัท,การ ปิดบัญชี บริษัท,การ ปิด บริษัท ต้อง ทํา อย่างไร pantip,ตัวอย่างงบเลิกกิจการ,ค่า ใช้ จ่าย ปิด บริษัท,เลิกบริษัท สรรพากร,ปิดบริษัท pantip,ปิด บริษัท ต้อง ทำ อย่างไร,เลิกบริษัท,จดทะเบียนเลิกกิจการ พร้อมปิดงบการเงินชำระบัญชี
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้