สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายวิธีการรับทำบัญชี โรงแรม โรงแรมขนาดเล็ก Hostel Guest Houese (เกสต์เฮ้าส์) และ Homestay (โฮมสเตย์) ภาษีที่เกี่ยวข้อง และ ความรู้ทางภาษีในการจัดทำบัญชีเบื้องต้น ที่เจ้าของโรงแรมควรรู้ ว่าบัญชีโรมแรมจะจัดการในรูปแบบธุรกิจใด ซึ่งส่งผลต่อภาษีที่เกิดขึ้นในรูปแบบกิจการที่แตกต่างกัน รวมทั้งข้อผิดพลาดในการจัดทำบัญชี ซึ่งพบเจอจากการตรวจสอบของกรมสรรพากรในการเข้าตรวจกิจการ ส่งผลให้เจ้าของโรงแรมต้องมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น บทความนี้จะช่วยสรุปข้อผิดพลาดเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายทางภาษีที่อาจเกิดขึ้นได้
กิจการโรงแรม เป็นการให้บริการที่พักชั่วคราวสําหรับคนเดินทางหรือบุคคลถือเป็นการให้บริการ ถ้าบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ถือเป็นผู้ประกอบการตามประมวลรัษฎากร
1. โรงแรม (Hotel, Inn, Villa, Club)
2. สถานที่พักตากอากาศ (Resort)
3. สถานที่พัก และบริการสุขภาพ (Resort & Health Services)
4. บ้านพักชั่วคราว (Guest house) หรือบังกะโล (Bungalow)
5. แพพักตากอากาศ (Jungle Raft)
6. โฮมสเตย์ (Home Stay) / โฮสเทล (Hostel)
7. กิจการที่ให้บริการทํานองเดียวกันกับกิจการโรงแรม เชน เซอร์วสอพาร์ทเมนต์ ( Service Apartment)
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ร้านค้าและพลาซ่าจําหน่ายสินค้า
ศูนย์บริการสุขภาพ
สถานบันเทิง
การจัดประชุม สัมมนา งานนิทรรศการ และงานจัดเลี้ยง
การเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และศูนย์รับฝากของ
การบริการอื่น ๆ เช่น บริการซัก อบ รีด
บริการนําเที่ยว
การให้บริการอินเทอร์เน็ต
ให้บริการเช่ารถ การให้บริการเช่าพื้นที่ เป็นต้น
– รายได้ของกิจการโรงแรม เช่น
– รายได้ค่าบริการห้องพัก
– รายได้ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
– รายได้ค่าซักรีด
– รายได้ค่าเช่าสถานที่
– รายได้จากการจําหน่ายสินค้าต่างๆ
– รายได้จากการรับจ้างบริหาร
– รายได้ค่าโทรศัพท์ โทรสาร ให้บริการอินเทอร์เน็ต
– รายได้ค่าบริการพื้นที่จอดรถ
– รายได้ค่าบริการสมาชิกสระว่ายน้ํา ค่าบริการการใช้สระว่ายน้ํา
– รายได้จากการนําเที่ยว
– รายได้จากการโฆษณา
– รายได้จากค่านายหน้า เช่น ขายตั๋วทัวร์ ส่งลูกค้าให้โรงแรมอื่น เป็นต้น
– กําไรจากการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
– เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ
– ค่าน้ําประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
– ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
– ค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในห้องพัก เชน สบู่ แชมพู กระดาษชําระ เป็นต้น
– ค่าบริหารจัดการ ค่าบริการที่ปรึกษา
– ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
– ค่าเช่า
– ค่าจ้างทําของ
– ค่าส่งเสริมการขาย
– ค่าโฆษณา
– ค่าซ่อมแซม บํารุงรักษา
– ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด ค่าส่งเสริมการขาย
– ค่าประกันภัย
– ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
– ค่านายหน้า
รูปแบบการประกอบกิจการโรงแรมจะเป็นตัวกำหนดประเภทรายได้ ค่าใช้จ่าย และการบันทึกบัญชี การยื่นภาษี แยกได้ 2 ประเภทดังนี้
การคำนวนภาษี
ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่ง สามารถเลือกหัก
1. ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอัตราร้อยละ 80 หรือ
2. ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
การคำนวนภาษี
ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่ง สามารถเลือกหัก
1. ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอัตราร้อยละ 60 หรือ
2. ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรภีคานวภภาษีจากฐานเงินได้สุทธิ และการยื่นแบบแสดงรายได้
อัตรารายได้ภาษีบุคคลธรรมดาปี 2562
ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การคำนวนภาษี
1. การคานวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ
2. ฐานภาษี ได้แก่ กาไรสุทธิซึ่งคานวณได้จากรายได้จากกิจการ เสียภาษีปีละ 2 ครั้งด้วยแบบ ภงด 51 และ ภงด 50
3. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในการคานวณภาษีจากฐานกาไรสุทธิ 2562
ภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการปั๊มน้ำมัน
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. อากรแสตมป์ เช่น กิจการเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ สัญญาเช่าที่ดิน สถานประกอบการ สิ่งปลูกสร้าง หรือ เช่าซื้อทรัพย์สิน ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ชาระอากรแสตม
3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น กิจการปั๊มน้ำมัน ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินและคานวณดอกเบี้ยรับเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ และจาการขายสินค้า ตามมาตรา ๗๙ แห่งประมวลรัษฎากร มูลค่าของฐานภาษีให้หมายความถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชนใด ๆ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
1.1 ได้ออกใบกํากับภาษี หรือ
1.2 ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทํานั้น ๆ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๗๘/๑ แห่งประมวลรัษฎากร
2.การขายสินค้า
ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทําดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้าก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทํานั้น ๆ ด้วย
2.1 โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
2.2 ได้รับชําระราคาสินค้า หรือ
2.3 ได้ออกใบกํากับภาษี ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทํานั้น ๆ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๗๘ แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําใบกํากับภาษีและสําเนาใบกํากับภาษีสําหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทําในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพมเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกํากับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนสําเนาใบกํากับภาษีให้เก็บรักษาไว้ ตามมาตรา ๘๖ และ มาตรา ๘๗/๓ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีธุรกิจโรงแรม เมื่อมีการให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินต้องมีการคํานวณดอกเบี้ยรับเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และต้องนําดอกเบี้ยรับดังกล่าวมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา ๙๑/๒(๕) แห่งประมวลรัษฎากร และหากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ได้ทําเป็นปกติธุระ ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด ตามมาตรา ๙๑/๑๓แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง การกําหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของนิติบุคคลตามมาตรา ๗๗/๑ แห่งประมวลรัษฎากร ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ ๓๒) พ.ศ.๒๕๔๑ ชำระภาษีในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น
การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ธ.40 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.40 พร้อมกับชำระภาษีเป็นรายเดือน ทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
กรณีกิจการโรงแรมได้ทําสัญญา หรือตราสารที่เข้าลักษณะต้องติดอากรแสตมป์ เช่น
1. กิจการเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ สัญญาเช่าที่ดิน สถานประกอบการ สิ่งปลูกสร้าง หรือเช่าซื้อทรัพย์สิน ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ชาระอากรแสตมป์อตรา ๑ บาท ต่อจํานวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท รวมกันตลอดอายุการเช่าตามมาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ แห่งประมวรัษฎากร
2.. กิจการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้มีหน้าที่ชำระอากรแสตมป์อัตรา ๑ บาท ต่อจํานวนเงิน ๒,๐๐๐ บาท หรือ เศษของ ๒,๐๐๐ บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม
วิธีการเสียภาษีอากร
1. แสตมป์ปิดทับ ปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทําหรือในทันทีที่ทาตราสาร
2. ชําระเป็นตัวเงิน ใชแบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน อ.ส.๔ ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยแนบตราสารที่ขอเสียอากรไปด้วย และให้ยื่นต่อสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
– เมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ ค่าบริการจ้างทําของ หรือได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น เช่นได้รับชำระจากลูกค้าที่มาใชบริการในห้องพัก ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด ตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
– กรณีได้รับชำระราคาค่าบริการ หรือค่าขายสินค้าจากรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาลสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้สิทธในการเครดิตคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๖๙ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
– เมื่อได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๔) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องถูกหักภาษ ณ ที่จายตามตามมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ ๔ ของคําสังกรมสรรพากรที่ ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) และ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินได้ตามมาตรา ๕๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) และ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๕๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้รับเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ต้องคํานวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๕๐(๑) วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร หากเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๘) แหงประมวลรัษฎากร
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๗) หรือ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินให้กับผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒(๙) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ.๒๕๒๒)ฯและข้อ ๘ ของคําสั่งกรมสรรพากร ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
รางวัลส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินให้กับผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องคํานวณหักภาษีณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒(๑๔) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ.๒๕๒๒)ฯ และข้อ ๑๒/๒ ของคําสั่งกรมสรรพากร ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๗) หรือ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นค่าจ้าง กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอน จ่ายเงินให้กับผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒(๙) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ.๒๕๒๒)ฯ และข้อ ๘ ของคําสั่งกรมสรรพากร ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๗) หรือ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นค่าจ้างกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินให้กับผู้รับที่มีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๘) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินให้กับผู้รับที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องคํานวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ ๒(๑๕) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ.๒๕๒๒)ฯ และข้อ ๑๐ ของคําสั่งกรมสรรพากร ท.ป.๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘
1. บันทึกทรัพย์สินเป็นค่าใช้จ่าย
2. การสร้างรายจ่ายค่าที่ปรึกษา หรือค่าตอบแทน หรือจ่ายเงินเดือนผู้บริหารเกินสมควร
3 ดอกเบี้ยจ่ายจากการกอสร้างอาคารโรงแรมที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง น ามาบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
4. การเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร และค่าใชจ่ายไม่ถูกต้อง และหรือมีการโอนกรรมสิทธอาคาร หรือนำไปใชในธรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพม ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
5. นำภาษีซื้อรถยนต์นั่งและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่งมาเครดิตภาษี
6. บันทึกมูลค่าของอาคารไว้สูงกว่าความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ในการขอกู้เงินธนาคาร ทำให้มีการหักค่าเสื่อมราคาสูงไป
7. นำบิลค่ารับรองบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย หรือมีการโอนค่ารับรองเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย
8. ไม่ได้บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายจากการแลกเปลี่ยนค่าบริการ ( Barter) เชนค่าใช้จ่ายโฆษณาในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ผู้ให้บริการขอใช้ห้องพักและหรือห้องประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยนกับค่าบริการ
9. กรณีโรงแรมสร้างใหม่
9.1 ค่ารับเหมาก่อสร้างแยกเป็น 2 สัญญา โดยแยกเป็นสัญญาจัดซื้อวัสดุ และสัญญาจ้างเหมาแรงงาน หักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะค่าจ้างเหมาแรงงาน
9.2 นิติบุคคลก่อสร้างโรงแรมใหม่ในที่ดิน ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกรรมการ หรือของบุคคลอน ไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มักจะพบประเด็นความผิดเกี่ยวกับภาษีซื้อ และประเด็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย การโอนกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างให้กับเจ้าของที่ดิน
10. บันทึกบัญชีทรัพย์สินไม่ครบถ้วนตามข้อเท็จจริง โดยเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์
11. คำนวณภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้อง กรณีจ่ายค่านายหน้าให้แก่บุคคลธรรมดา
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้