Skip to content

การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี
กิจการ ร้านทอง

การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี กิจการ ร้านทอง - รายได้

การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี กิจการ ร้านทอง ลักษณะของทองรูปพรรณที่กิจการร้านทองมีไว้เพื่อขาย แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

สินค้าเพื่อขาย

1. ทองคำแท่ง คือ ทองคำที่ยังไม่ได้นำไปขึ้นรูปเป็นทองรูปพรรณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทองคำแท่ง 99.99% และทองคำแท่ง 96.5% โดยทองคำแท่ง 96.5% เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากกว่า

2. ทองรูปพรรณทองคำ คือ ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับและของใช้ต่างๆ เช่นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ  แหวน จี้ แบ่งความบริสุทธิ์ ได้ 2 ประเภท คือ 99.99% และ 96.5%

ลักษณะทองรูปพรรณ ที่กิจการร้านทองมีไว้เพื่อการขาย แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้

1. ทองรูปพรรณใหม่ ผลิตขึ้นใหม่โดยกลุ่มผู้ค้าส่งทอง ผู้ค่าปลีกทองจะซื้อได้จากร้านทองค้าส่ง หรือ ร้านทองค้าปลีกรายใหญ่

2. ทองรูปพรรณเก่า เป็นทอง ที่ซื้อจากผู้ขายที่มาติดต่อหน้าร้าน ได้แต่ ร้านทองค้าปลีก  หรือบุคคลทั่วไป ซึ่งกิจการร้านทอง ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ โดยอาศัยประสบการณ์ความชำนาญในการตรวจสอบ
               1. ทองตัน
               2.ทองโปร่ง
               3. ทองเขียว
              4.  ตะขอทอง

ค่ากำเหน็จ คือ ค่าแรงหรือค่าจ้างในการผลิตทองคำ จากทองคำแท่งให้กลายมาเป็นทองรูปพรรณในรูปแบบต่างๆ ซึ่งราคาค่ากำเหน็จจะแตกต่างกันตามความยากง่ายของแบบทองรูปพรรณที่ทำขึ้น ซึ่งตามมาตรฐานค่าแรงของไทยแล้วจะคิดเป็นราคาต่อบาททอง (ซึ่งปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณบาทละ 600 – 800 บาทต่อน้ำหนักทอง 1 บาท ขึ้นอยู่กับร้านค้าทองแต่ละร้านจะกำหนด)

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

อัตราค่าบริการรับทำบัญชี ปิดงบการเงิน สำหรับกิจการร้านทอง เริ่มต้น รายการค้าระหว่าง 1-40 รายการ อัตราค่าบริการ 6,500 บาทรวมบริการับส่งเอกสาร  (นับเพิ่มขั้นละ 40 รายการ ค่าบริการเพิ่มขั้นละ 3,000 บาท)

ค่าบริการยื่นแบบภาษีทุกประเทภ 2,000 บาทต่อเดือน ผ่านระบบ Internet ของกรมสรรพากรเท่านั้น

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

ขอข้อมูลเพิ่มเติม

การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี กิจการ ร้านทอง - ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)

เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร

“(14) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า

ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย

ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป)

“(14/1) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายซึ่งผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นจำนวนเท่ากับราคาขายฝากที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า

หากมิได้กำหนดราคาขายฝากไว้มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายฝากตามวรรคหนึ่งให้เป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 85 ของราคาสินไถ่ที่กำหนดไว้ตามสัญญาขายฝาก

สินไถ่ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขายฝากหรือผู้มีสิทธิไถ่ตามกฎหมาย จะต้องนำมาชำระให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้มีหน้าที่รับไถ่ เมื่อมาใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้น

ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่างๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วยและหมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 213) ใช้บังคับตั่งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

แบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำ ภ.พ.01.3

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายทองรูปพรรณ

การขายทองรูปพรรณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณรวมค่ากำเหน็จ(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หักด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ ที่สมาคมค้าทองคำประกาศในแต่ละวัน

เงื่อนไขการได้รับสิทธิคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายทอง รูปพรรณหักด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำ
ประกาศ

1. ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. ต้องประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ

3. ต้องมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า

ข้อสังเกต  เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ หากมี อัญมณีอื่น ประกอบอยู่ เช่น เพชร พลอย ทับทิม เป็นต้น ไม่ถือเป็นทองรูปพรรณ และไม่ได้รับสิทธิ คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างแต่อย่างใด

การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี กิจการ ร้านทอง
การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี กิจการ ร้านทอง

การบันทึกบัญชี นำส่งภาษี กิจการ ร้านทอง - รายได้​ที่เกี่ยวข้อง

รายได้จากการขายสินค้าโดยทั่วไป ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณใหม่ / เก่า สินค้าเกี่ยวเนื่อง

บันทึกบัญชี

ผู้ขาย

DR เงินสด / ลูกหนี้
        CR รายได้จากการขาย

ผู้ซื้อ
DR ซื้อสินค้า
       CR เงินสด/เจ้าหนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม  =  (ราคาทองรูปพรรณรวมค่ากำเหน็จ – ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ) * 7/100

รายได้จากการขายสินค้า กรณีผู้ค้าส่งขายเชื่อทองคำให้ผู้ค้าปลีก

รายได้จากการหักกลบลบหนี้ โดยการนำทองเก่ามาแลกทองใหม่

การขายทองรูปพรรณใหม่ของผู้ค้าปลีก โดยผู้ซื้อ (ที่เป็นบุคคลธรรมดา) นำทองเก่ามาแลกเปลี่ยน

รายได้ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม

รายได้จากการรับผลิตงานตามสั่ง

รายได้จากการรับซื้อฝากทอง

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

บริการบัญชีภาษีร้านทอง ระบบบัญชีร้านทอง ร้านทอง ใบกำกับภาษี รับทำบัญชีร้านทอง ภาษีร้านทอง pantip คู่มือร้านทองฉบับปรับปรุง กฎหมายใหม่ ร้านทอง การบัญชีร้านค้าทองคำ ตอนที่ 2 การกรอกแบบ ภ.พ.30 ร้านทอง กิจการร้านทอง รับทำบัญชีร้านทอง บันทึกบัญชีร้านทอง ระบบบัญชีร้านทอง คู่มือร้านทองฉบับปรับปรุง ตัวอย่างงบการเงินร้านทอง กฎหมายใหม่ ร้านทอง ภ.พ.30 ร้านทอง ร้านทอง ใบกำกับภาษี

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 9,945

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า