Skip to content

รับสอนทำบัญชี เงินสดย่อย โปรแกรมบัญชี Express

รับสอนทำบัญชี เงินสดย่อย โปรแกรมบัญชี Express เบื้องต้น สำหรับกิจการซื้อมาขาย กิจการบริการ โดย สำนักงานบัญชี BEE -ACCountant  

หลักสูตรการสอนการใช้งาน โปรแกรมเอ็กซ์เพรส  เหมาะกับ

1. ท่านที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนงาน เลื่อนตำแหน่ง
2. ท่านที่กำลังหางานด้านบัญชี และไม่มีประสบการณ์ หรือทำงานด้านบัญชีอยู่แล้ว ต้องการเพิ่มพูนความรู้เพิ่มเติม
3. ท่านที่ไม่จบบัญชี ที่ต้องการเรียนรู้งานด้านบัญชี และผู้ที่ขาดความเชื่อมั่นทำงานด้านบัญชี
4. ผู้ที่เริ่มประกอบการ ที่ต้องการทำบัญชีเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย  เพื่อนำไปใช้งานในการทำบัญชีของตนเอง
5. นักศึกษาที่จบใหม่ สาขาการบัญชี หรือสาขาอื่น  ที่ต้องการความรู้ไปปฎิบัติจริงในการทำงานด้านบัญชี

รับสอนทำบัญชีด้วย โปรแกรม Express ตัวต่อตัว (ใช้โปรแกรมรุ่น  Demo) สอนงบดุล งบกำไรขาดทุน บัญชี แยกประเภทการใช้งาน โปรแกรม Express เบื้องต้น ตั้งแต่เริ่มระบบ จนถึง การจัดทำรายงาน วิธีการวิเคราะห์เอกสารเพื่อประกอบการลงบัญชี สอนวิธีการการจัดทำเอกสารประกอบเพื่อให้สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายทางภาษีได้อย่างถูกต้อง สอนวิธีการทำทะเบียนทรัพย์  เรียนตัวต่อตัวเข้าใจง่าย สอนถึงบ้าน หรือ ตาม Co-working space

รับสอนทำบัญชี เงินสดย่อย โปรแกรมบัญชี Express เบื้องต้น​
รับสอนทำบัญชี สินทรัพย์ถาวร โปรแกรมบัญชี Express เบื้องต้น

ระบบต่างๆ ใน โปรแกรมบัญชี Express
ประกอบไปด้วยระบบย่อย 12 ระบบคือ

รับสอนโปรแกรมเอ็กซ์เพรส 
:   โปรแกรม Express ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ดังนี้

1 ระบบการจัดซื้อสินค้า และการรับสินค้า
2 ระบบควบคุมเจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
3 ระบบการจัดจำหน่ายและการจองสินค้า
4 ระบบควบคุมลูกหนี้และรายได้อื่น ๆ
5 ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง
6 ระบบควบคุมเช็คและเงินฝากธนาคาร
7 ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย
8 ระบบบัญชีแยกประเภท
9 ระบบสินทรัพย์ถาวร  ตัวอย่างเนื้อหาการสอนในหัวข้อ สอนการทำบญชี โดยโปรแกรม express เบื้องต้น
10 ระบบวิเคราะห์การขายสินค้า
11 ระบบวิเคราะห์การซื้อสินค้า
12 ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ที่มาExpress Software Group Co.,Ltd

รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express
ระบบการทำงานของ โปรแกรม Express

เนื้อหาหัวข้อ (บางส่วน) ในการอบรมการใช้งานโปรแกรม express เบื้องต้น
: รับสอนทำบัญชี เงินสดย่อย โปรแกรมบัญชี Express

ในเนื้อหาหัวข้อ  รับสอนทำบัญชี เงินสดย่อย โปรแกรมบัญชี Express เบื้องต้น ( เป็นหนึ่งในหัวข้อของการสอนการใช้งานโปรแกรม express เบื้องต้น)  

ในการเรียน เราจะขออธิบาย เกี่ยวกับ การดู ตรวจสอบเอกสารที่ได้รับมา จากการจ่ายเงินสดย่อย เพื่อให้เอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินสดย่อย เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้อย่างถูกต้อง มีเอกสารประกอบการจ่ายอย่างชัดเจนถูกต้อง หรือ ในกรณีที่เป็นบิลเงินสด / เอกสารการรับเงินไม่ชัดเจน ทางเราจะแนะนำวิธีการจัดทำเอกสารประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นค่าใช้จ่ายที่พิสูจน์ผู้รับได้ ชัดเจนว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการ และสามารถนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีประจำปีได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ หลักจากการวิเคราะห์รายการค้า ตามข้อมูลเบื้องต้นแล้ว เราจะสอนให้ท่านบันทึก เบิกเงินสดย่อย บันทึกรายการเงินสดย่อย การบันทึกข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบความครบถ้วนข้องเอกสารประกอบต่างๆ แนะนำการจัดการเงินสดย่อย การตรวจสอบการควบคุมภายในเงินสดย่อยอีกด้วย

โดยใช้ประโยชน์จากตัวโปรแกรมเอ็กซ์เพรส ท่านไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางบัญชี เกี่ยวกับ Dr /Cr ก็สามารถบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง และการแนะนำเรื่องเอกสารจะทำให้ท่านจัดการเอกสารให้ถูกต้องสำหรับภาษีกรมสรรพากรได้ด้วย ดังนี้

เพิ่มเติม : เนื้อหาการสอนเรื่อง การบันทึกบัญชี สินทรัพย์ถาวร ที่ดิน อาคาร อุุปกรณ์ ด้วยโปรแกรมเอ็กซ์เพรส (บางส่วน)

เงินสดย่อย คือ

เงินสดย่อย คือ เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย) เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก

ระบบควบคุมภายในที่ดี กิจการไม่ค่อยนำเงินสดมาใช้จ่าย แต่การจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารโดยการเขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้รับ และขีดคร่อมเช็คฉบับนั้น และโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือเงินสดย่อยไว้ในมือจำนวนมากๆ เหตุผลเพราะ

1.กิจการไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเก็บเงินสดไว้ในมือจำนวนมาก
2.การควบคุมเงินสดเป็นไปได้ง่ายขึ้น
3.กิจการจัดเก็บเอกสารและการบันทึกบัญชีจะมีระบบมากขึ้น
4.สามารถตรวจสอบได้ และใช้เป็นหลักฐานได้

ระบบเงินสดย่อย

เงินสดย่อยมี 2 ระบบ ดังน้ี คือ

1.ระบบเงินสดย่อยแบบจำกัดวงเงิน (Impress System) เป็นระบบที่นิยมใช้มากโดยกิจการจะกำหนดวงเงินสดย่อยขึ้นมาจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม และมอบให้ผู้รักษาเงินสดย่อยรับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งวงเงินสดย่อยจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มหรือลดวงเงินสดย่อย เท่านั้น

2.ระบบเงินสดย่อยแบบไม่จำกัดวงเงิน (Fluctuating System) เป็นวิธีการเกี่ยวกับเงินสดย่อย ที่ไม่ได้กำหนดวงเงินสดย่อยไว้เป็นจำนวนแน่นอนผู้รักษาเงินสดย่อยอาจขอเบิกเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับ, มากกว่าหรือน้อยกว่า เงินสดย่อยที่จ่ายไปได้ตลอดเวลา

ผู้รักษาเงินสดย่อย มีหน้าที่ดังนี้

1. เก็บรักษาเงินสดย่อยไว้ เมื่อมีผู้มาขอเบิกก็จะจ่ายเงินตามหลักฐานนั้น

2. บันทึกการจ่ายเงินในสมุดเงินสดย่อย เพื่อเป็นการบันทึกช่วยจำว่าได้จ่ายอะไรไปบ้าง

3. รวบรวมหลักฐานการจ่ายเงินและจัดทำใบสำคัญเพื่อขอเบิกชดเชยเงินสดย่อย

การ วางระบบบัญชี เพื่อจัดการเงินสดย่อย

การ วางระบบบัญชี เพื่อจัดการเงินสดย่อย  

การจัดระบบเงินสดย่อย มีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่รักษาเงินสดย่อย (ผู้ถือเงินสดย่อย) และกำหนดวงเงินสดย่อยที่มีจำนวนเหมาะสมไว้อย่างแน่นอน

2. การเบิกเงินสดย่อยทุกครั้ง ผู้เบิกเงินจะต้องมีใบขออนุมัติเบิกเงิน (ใบขอเบิกเงินสดย่อย)

3. ทุกครั้งที่จ่ายเงินสดย่อยต้องประทับตรา “จ่ายแล้ว” ในใบเบิกเงินสดย่อยและเอกสารประกอบทุกฉบับเพื่อป้องกันการนำเอกสารเหล่านั้นกลับมาขอเบิกอีก และให้ผู้เบิกเงินเซ็นชื่อไว้ในใบเบิกเงินสดย่อยด้วย

4. ต้องเก็บเงินสดย่อยแยกจากเงินอื่น โดยเฉพาะเงินสดส่วนตัวของผู้รักษาเงินสดย่อยและต้องกำหนดวิธีปฏิบัติให้ทราบทั่วกัน

5. ทุกครั้งที่มีการเบิกเงินชดเชย ต้องจัดทำใบสรุปการจ่ายเงินสดย่อยโดยแนบใบเบิกเงินสดย่อยและเอกสารประกอบอย่างครบถ้วนและถูกต้อง

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การจ่ายเงินสดย่อย

การควบคุมภายใน การจ่ายเงินสดย่อย

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ การจ่ายเงินสดย่อย

  1. มีเพียงบุคคลเดียวรับผิดชอบวงเงินแต่ละวง ถ้าจำเป็นต้องมีหลายวง จะต้องเก็บไว้ในลักษณะที่สะดวกแก่การตรวจสอบแต่ละวงเงิน

  2. มีการทำเครื่องหมาย “จ่ายเงินแล้ว” บนหลักฐานประกอบทุกฉบับ เพื่อป้องกันการนำมาใช้อีก

  3. เมื่อมีการจ่ายเงินต้องมีใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อย

  4. การเบิกเงินทดแทนวงเงินสดย่อย จะต้องทำโดยผู้รักษาเงินสดย่อย

  5. มีการอนุมัติโดยผู้ที่มีอำนาจ

  6. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงวงเงินสดย่อย จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ

  7. การเบิกเงินทดแทนจำต้องทำโดยการออกใบสำคัญจ่ายเช็ค

การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย

การบันทึกบัญชีมีดังนี้

1. การตั้งวงเงินสดย่อย

                        Dr. เงินสดย่อย                            XX                               

                                                Cr. เงินฝากธนาคาร                       XX
2. การเบิกจ่ายเงินสดย่อย

เมื่อมีการจ่ายเงินสดย่อยพนักงานผู้รับผิดชอบจะให้ผู้รับเงินลงนามไว้ในสมุดทะเบียน

เงินสดย่อย  และเมื่อผู้รับเงินนำเงินไปจ่ายเรียบร้อยแล้วก็ให้นำหลักฐานการจ่ายเงิน  เช่น  ใบเสร็จรับเงิน  มามอบให้แก่ผู้รักษาเงินสดย่อย  สมุดทะเบียนเงินสดย่อยนี้ถือเป็นสมุดบันทึกรายการขั้นต้น 

3. การเบิกชดเชยเงินสดย่อย
                  เมื่อผู้รักษาเงินสดย่อยนำใบสำคัญมาเบิกชดเชยเงินสดย่อย

            Dr. ค่าเครื่องเขียน                        200

                    ค่าไปรษณีย์                             150

                    ค่าพาหนะ                                100

                    ค่ารับรอง                                 250

                        Cr. เงินฝากธนาคาร                       700

ผู้รักษาเงินสดย่อยเบิกชดเชยเงินสด ได้เขียนเช็คให้เรียบร้อยแล้ว


เมื่อมีการเพิ่มวงเงินสดย่อย (จะบันทึกบัญชีเหมือนตอนตั้งวงเงินสดย่อย)

         Dr.  เงินสดย่อย                           XX

                     Cr.  เงินฝากธนาคาร                      XX


   เมื่อมีการลดวงเงินสดย่อย ผู้รักษาเงินสดย่อยต้องนำเงินส่งคืนเจ้าหน้าที่การเงิน การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้  

          Dr.  เงินฝากธนาคาร                      XX

                       Cr.  เงินสดย่อย                           XX

 

กรณีที่ ณ วันปิดบัญชี ยังมีค่าใช้จ่ายที่ผู้รักษาเงินสดย่อย ยังไม่ได้ขอเบิกชดเชย  (การที่มีค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้เบิกชดเชย หมายความว่า มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วกิจการยังไม่ได้บันทึกบัญชี  ดังนั้นจึงต้องมีการบันทึกรายการปรับปรุง ในสมุดรายวันทั่วไป

            สมมติมีค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้เบิกชดเชย 2 รายการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม  คือ ค่าสาธารณูปโภค   500 บาท และค่าพาหนะ 300 บาท      

Dr.    ค่าสาธารณูปโภค                  500

         ค่าพาหนะ                          300

            Cr. เงินสดย่อย                            800

         บันทึกปรับปรุงค่าใช้จ่ายเงินสดย่อยที่ยังไม่ได้เบิกชดเชย

ต้นปีถัดไป เมื่อผู้รักษาเงินสดนำใบสำคัญจ่ายค่าใช้จ่ายมาเบิกชดเชยเงินสดย่อย จะบันทึกบัญชีไดดังนี้

                        Dr.  เงินสดย่อย                           800      

                                      Cr. เงินฝากธนาคาร                       800

            มีบางครั้งเมื่อนำหลักฐานใบสำคัญทั้งหมดมารวมกับเงินสดย่อยที่คงเหลืออยู่ในมือแล้ว  จะไม่เท่ากับบัญชีเงินสดย่อย  และเมื่อได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าหลักฐานตามใบสำคัญถูกต้อง 

            ดังนี้  แสดงว่าจำนวนเงินสดย่อยคงเหลือในมือไม่ถูกต้อง  อันอาจเนื่องมาจากจ่ายเงินหรือทอนเงินผิดน้อยไปหรือมากไปก็ได้  ในกรณีที่มีเงินเกินบัญชีหรือขาดบัญชีเกิดขึ้นเช่นนี้  ก็ต้องเปิดบัญชีขึ้นอีกบัญชีหนึ่ง  คือ
บัญชีเงินเกินและขาดบัญชี  ( Cash  Over  and  Short  Account )

            ถ้าเป็นกรณีเงินขาดบัญชี  การบันทึกรายการบัญชีตอนเบิกชดเชย  คือ

                        Dr.  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ                      XX

                               ภาษีซื้อ                               XX

                               เงินเกินและขาดบัญชี              XX

                                    Cr.  เงินฝากธนาคาร                      XX       

 

            ถ้าเป็นกรณีเงินเกินบัญชี  การบันทึกรายการบัญชีตอนเบิกชดเชย  คือ

                        Dr.  ค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ            XX

                               ภาษีซื้อ                               XX

                                    Cr.  เงินเกินและขาดบัญชี               XX

       เงินฝากธนาคาร                     XX       

 

วิธีการเงินสดย่อยอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า Fluctuation  Fund  System  หรือเงินสดย่อยระบบไม่จำกัดวงเงิน  วิธีนี้ต้องบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินสดย่อย  และเมื่อเบิกชดเชยวงเงินสดย่อย  ก็ไม่จำเป็นต้องเบิกชดเชยเท่ากับใบสำคัญที่ได้จ่ายไป  อาจเบิกชดเชยเท่ากับ  สูงกว่า  หรือต่ำกว่า  ใบสำคัญก็ได้

            วิธีนี้เมื่อมีการจ่ายเงินสดย่อยแต่ละครั้ง  จะบันทึกบัญชีดังนี้

                        Dr.  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ                      XX

                                   ภาษีซื้อ                               XX

                                    Cr.  เงินสดย่อย                           XX

ข้อมูลจาก อาจารย์ มานิดา

การบันทึกบัญชีเงินสดย่อย โดย โปรแกรมบัญชี Express และข้อจำกัดของโปรแกรม

โดยปกติโปรแกรมมีเมนูเงินสดย่อยให้เรียกใช้ได้อยู่แล้ว  แต่การใช้งานในเมนูเงินสดย่อยนั้นติดปัญหาบางประการ  เช่น

        1.  ไม่สามารถดูยอดเงินสดย่อยคงเหลือ  ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้  เพราะว่าโปรแกรมจะไม่บันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จ่ายด้วยเงินสดย่อย  (จนกว่าจะเบิกชดเชย จึงจะบันให้)  และอีกปัญหาคือ  

         2.  การเบิกชดเงินสดย่อยนั้น  จะใช้ใบสำคัญแยกไปเป็นเอกสารการจ่ายอีกหมวดหนึ่ง  ทำให้เวลาตรวจสอบรายการจ่ายเงินทำได้ลำบาก  เพราะมีเอกสารการจ่ายเงินหลายที่        

จากปัญหานี้  จึงต้องนำรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ  ที่จ่ายด้วยเงินสดย่อยมาคีย์ไว้ที่ซื้อเงินเชื่อ  (เพื่อตั้งหนี้)  ก่อน  จากนั้นเวลาเบิกชดเชยก็ไปทำใบจ่าย (PS)  รวมกันกับการจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรมเอ็กซ์เพรสเพื่อให้ข้อจำกัดต่างๆ หายไป ดังจะได้อธิบายขั้นตอนในหัวข้อถัดไป

การประยุกต์การใช้งาน โปรแกรม เอ็กซ์เพรส กับ บัญชีเงินสดย่อย

วิธีการประยุกต์การใช้งาน เงินสดย่อย กับโปรแกรม เอ็กซ์เพรส ดังนี้

  1. รายการค่าใช้จ่ายต่างๆ  ที่จ่ายด้วยเงินสดย่อยมาคีย์ไว้ที่ซื้อเงินเชื่อ  (เพื่อตั้งหนี้)  ก่อน

    รับสอนทำบัญชี เงินสดย่อย โปรแกรมบัญชี Express เบื้องต้น รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี กรุงเทพ ราคาถูก

  2. จากนั้นเวลาเบิกชดเชยก็ไปทำใบจ่าย (DP)  รวมกันกับการจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้า
  3. เมื่อวงเงินสดย่อยใกล้ครบ จำนวนให้ทำการเบิกคืน

ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ในการเรียนการสอน การทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express นั้น ทางสำนักงาน จะสอนการวิเคราะห์รายการค้าเบื้องต้นให้กับท่านด้วย เพราะเราตระหนักว่า การเข้าใจความเป็นมาเหตุผลของรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการอย่างถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นของการบันทึกบัญชี ปิดบัญชี ยื่นภาษี จัดทำงบการเงินอย่างถูกต้อง

รับสอนทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express เบื้องต้น

อัตราค่าบริการ รับสอนทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express เบื้องต้น ตัวต่อตัว ค่าเรียน 4,000 - 4,500 บาท เวลา 6 ชั่วโมง และแนะนำเรื่องการใช้งาน โปรแกรม Express ต่อเนื่อง

จองวันเวลาเรียนติดต่อ TEL  091-830-3543​ / Line  :@beeaccountant

ติดต่อ BEE-acc

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 9,585

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า