สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
ประเด็นความเสี่ยง จากข้อผิดพลาดในงบการเงินที่เจ้าของกิจการต้องรู้เพราะนำมาจากการเข้าตรวจสอบกิจการของกรมสรรพากร ทุกประเภทกิจการได้สรุปรวมไว้ตามรายละเอียดด้านล่าง สำนักงานรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อลูกค้า ทีมงาม ปรับปรุงความรู้ ข้อสังเกตต่างๆ เพื่อแนะนำจัดทำงบการเงินที่ถูกต้อง ปรับปรุงค่าใช้จ่ายต้องห้าม ค่าใช้จ่ายที่ไม่สอดคล้องออกจากงบการเงิน เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ข้อผิดพลาดในงบแสดงฐานะการเงิน ( Balance Sheet Errors )
หมายถึง ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน อันเกิดจากการจำแนกประเภทบัญชีผิด เช่น การจัดจำแนกลูกหนี้การค้าระยะสั้นเป็นเงินลงทุนระยะสั้น หรือการจัดตั๋วเงินจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหรือการจัดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ข้อผิดพลาดดังกล่าวนี้ จะต้องรายการแก้ไขปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องทันทีเมื่อตรวจพบ
ข้อผิดพลาดในงบกำไรขาดทุน ( Income Statement Errors )
หมายถึง ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีรายได้หรือค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการจำแนกประเภทบัญชีผิด เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร หรือบันทึกรายได้จากดอกเบี้ยรับเป็นรายได้จากการขาย ข้อผิดพลาดในการจำแนกรายการในงบกำไรขาดทุนผิดจะไม่มีผลกระทบต่องบดุลและงบกำไรขาดทุน ดังนั้น ถ้าหากเป็นข้อผิดพลาดของปีก่อที่ได้ปิดบัญชีไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องลงรายการแก้ไขปรับปรุงเมื่อตรวจพบ แต่ถ้าหากเป็นข้อผิดพลาดของปีปัจจุบันระหว่างปี ก็จำเป็นต้องรายการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องทันทีเมื่อตรวจพบ
ข้อผิดพลาดที่กระทบทั้งงบดุลและงบกำไรขาดทุน ( Balance Sheet and Income Statement Effect )
หมายถึง ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีสินทรัพย์ หรือ หนี้สิน หรือ ทุน และกระทบต่อรายได้หรือค่าใช้จ่าย เช่น มิได้บันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่าย เช่น มิได้บันทึกรายได้ค้างรับ ณ วันสิ้นงวดการบัญชี ผลของความผิดพลาดนี้จะทำให้รายได้ของงวดต่ำไป ซึ่งเป็นผลทำให้กำไรสุทธิของงวดต่ำไป และทำให้สินทรัพย์มีจำนวนต่ำไปด้วย
รายการเงินสดอยู่ในการครอบครองของกรรมการทั้งจำนวนหรือจำนวนมาก โดยไม่มีรายการเงินฝากสถาบันการเงิน อาจถือเป็นการให้กรรมการกู้ยืมเงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย
กิจการไม่มีการกระทบยอดรายการเงินสด
กิจการใช้เงินสดในการชำระรายการค้าทุกรายการ หรือบันทึกรายการด้วย บัญชีเงินสดทั้งหมด
กิจการมีการตั้งวงเงินสดย่อยเพื่อใช้ในจำนวนที่สูงมาก และหลักฐานการเบิก ชดเชยเงินสดย่อยมีเพียงใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสด หรือหลักฐานการเบิกจ่ายที่กิจการทำขึ้นเท่านั้น
กิจการมีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นจำนวนสูง โดยอาจเป็นลูกหนี้ที่ไม่มีตัวตน หรือเป็นยอดเงินให้กู้ยืมที่ไม่ได้นำมาแสดงไว้ในงบการเงิน ซึ่งอาจแสดงให้เห็น ได้ว่า กิจการมีการแสดงรายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง
กิจการไม่มีเงินให้กู้ยืมกรรมการจริง แต่มีรายการดังกล่าวแสดงในงบการเงิน
กิจการมีเงินให้กู้ยืม แต่ไม่มีรายการดอกเบี้ยรับ
กิจการมีการให้กู้ยืมเงินจากปีที่ผ่านมา แต่คำนวณดอกเบี้ยรับ ณ วันสิ้นปี
กิจการมีสินค้าคงเหลือสูงหรือต่ำกว่าข้อเท็จจริง (สินค้าขาด/เกิน)
รายงานสินค้าคงเหลือของกิจการไม่ตรงกับสินค้าที่มีอยู่จริง
กิจการไม่มีผลิตภัณฑ์พลอยได้ ของเสีย ของมีตำหนิ และเศษซากคงเหลือในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และไม่มีการออกใบกำกับภาษีขาย
งบการเงินไม่แสดงรายการสินทรัพย์ในการประกอบกิจการ หรือสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดรายได้ของกิจการ
กิจการแสดงสินทรัพย์ในบัญชีสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง
กิจการมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หรือกิจการใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาตามนโยบายการบัญชี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตาม ประมวลรัษฎากร
กิจการบันทึกสินทรัพย์ที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง ไม่สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากร
กิจการมีรายการดังกล่าว แต่ไม่แสดงในงบการเงิน โดยใช้การหักกลบลบกันกับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
รายการเจ้าหนี้การค้าสูง ซึ่งอาจเป็นเจ้าหนี้การค้าที่ไม่มีตัวตน อาจแสดงว่ากิจการแสดงรายการไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง
รายการเจ้าหนี้การค้าต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากไม่บันทึกรายการซื้อที่เกิดขึ้น
กิจการไม่มีเงินกู้ยืมกรรมการจริง ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่ากิจการแสดงรายได้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
กิจการมีรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง
กิจการแสดงมูลค่าทุนจดทะเบียนไว้ครบตามจำนวน แต่จากข้อเท็จจริงกิจการได้รับชำระค่าหุ้นไม่ครบ และไม่ได้รับรู้เป็นลูกหนี้ค่าหุ้นค้างชำระ รวมทั้งไม่ได้คิดดอกเบี้ย
รายได้ที่แสดงในงบการเงินไม่สัมพันธ์กับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจแสดงได้ว่า
กิจการบันทึกรับรู้รายได้ไม่สอดคล้อกับสภาพข้อเท็จจริง
กิจการมีรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (out of vat scope) แต่ไม่นำมาบันทึกเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ
กิจการมีรายได้จากการส่งเสริมการขาย แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้
กิจการมีรายได้ค่าโฆษณาจากการแลกเปลี่ยนการให้บริการระหว่างกัน แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้ของกิจการ (Barter)
กิจการมีการขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ หรือของเสียจากกระบวนการผลิตแต่ไม่รับรู้เป็นรายได้
กิจการมีการจำหน่ายสินทรัพย์ แต่ไม่รับรู้กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์
กิจการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดเป็นหนี้สูญแล้ว แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้
กิจการได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้
กิจการมีการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าสูงเกินกว่าความเป็นจริงหรือธรรมเนียมปกติทางการค้า
กิจการบันทึกรายการซื้อสินค้าสูง/ต่ำกว่าข้อเท็จจริง
กิจการมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่มีรายได้ที่ลดลง
กิจการไม่มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุน เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายของพนักงานทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้น
กิจการมีรายการค่านายหน้า ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายพนักงานสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของกิจการ
กิจการมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าแรง ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา
กิจการบันทึกค่าซ่อมแซมที่มีจำนวนสูงเป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือ
กิจการบันทึกค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาเป็นต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย
กิจการบันทึกค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ได้ปรับปรุงเป็นรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายไว้ เช่น ค่าน้ า ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หรือไม่ได้ปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เช่น ค่าประกันภัย
กิจการบันทึกดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการได้มาซึ่งสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในรอบ
ประเด็นความเสี่ยง เงินกู้ยืมกรรมการในส่วนที่ต้องระมัดระวัง คือ เงินของกิจการที่ให้เจ้าของกิจการกู้ยืม เช่น เงินทุนของบริษัท (งบเปล่า) เงินทุนที่นำมาลงไม่ได้เข้าบัญชีกิจการจริง บันทึกเป็นเงินสด ดังนั้นผู้ทำบัญชี จะบันทึกเข้าบัญชี ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ
ตามข้อกำหนดที่
มาตรา 65 ทวิ (4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงินฃ
1. ธุรกิจแสดงรายได้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง มีค่าใช้จ่ายออก หรือยอดซื้อ ที่เบิกเงินแล้วแต่ไม่นำมาลงบัญชี – เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง แล้วมาบันทึกในนบัญชีลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการแทน
2. เรื่องการให้กู้ยืม ต้องมีการคิดดอกเบี้ย ตามอัตราราคาตลาด และต้องดูด้วยว่าแหล่งของการกู้ยืมเงินมาจากไหน และมีหลักฐานของการกู้หรือไม่
ข้อหารือ
: บริษัทฯ จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ต้องประสบปัญหา
เกี่ยวกับการขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์เป็นอย่างมาก เพราะธนาคารพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทฯน้อยมาก ทำให้เป็นปัญหากับบริษัทฯ อย่างยิ่ง บริษัทฯ จึงหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยแจ้งให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯกรรมการของบริษัทฯ และพนักงานของบริษัทฯ ว่าถ้าบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้มีเงินของตนเอง หากประสงค์จะให้บริษัทฯ กู้ยืม บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะกู้ยืมโดยให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.0 ต่อปี และบริษัทฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นรายเดือน แต่มีเงื่อนไขว่าเงินที่บุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นนำมาให้บริษัทฯ กู้ จะต้องเป็นเงินของตนเองเท่านั้น จะนำเงินของคนอื่นมารวมให้กู้ด้วยไม่ได้เป็นอันขาด และในการกู้ยืมดังกล่าว บริษัทฯ จะทำสัญญากู้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกคน ขอทราบว่า
1. ในกรณีที่บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยให้กับบุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องหัก
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายหรือไม่ ถ้าต้องหักจะต้องหักในอัตราใด
2. บุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว จะมีสิทธิเลือกไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับจากบริษัทฯ มารวมยื่น
แบบแสดงรายการเสียภาษีตอนสิ้นปีได้หรือไม่
3. การที่บุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว นำเงินของตนเองมาให้บริษัทฯ กู้ตามข้อเท็จจริงข้างต้น
และได้รับดอกเบี้ยจากบริษัทฯ เป็นรายเดือนจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ และถ้าบริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยให้ปีละครั้งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ ถ้าต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ให้กู้จะต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
4. สัญญากู้ยืมจะต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และถ้าจะต้องปิดอากรแสตมป์จะต้องซื้อ
อากรแสตมป์มาปิดทับ หรือต้องเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ จ่ายกับผู้ให้กู้ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ และพนักงานของ
บริษัทฯ จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีตาม 1 และ 2 บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บุคคลผู้ให้กู้ยืมบริษัทฯ มีหน้าที่
ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 ตามมาตรา 50 (2) (ข) แห่ง
ประมวลรัษฎากรและบุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว มีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีตาม 3 การที่บุคคลธรรมดาผู้ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทฯ ได้นำเงินของตนเองมาให้ บริษัทฯ กู้ยืมหากบุคคลดังกล่าวมิได้มีการประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อน และการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวมิได้มีการหาเงินจากที่อื่นมาโดยการกู้ยืมอยู่ด้วย การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด
3. กรณีตาม 4 สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวต้องเสียอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร 5.แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยวิธีการปิดแสตมป์ทับเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน
4. กรณีตาม 5 บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บุคคลผู้ให้กู้ยืม หากเป็นการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทฯ บริษัทฯ ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
คุณประภาพร ชอบม่วงนา “Prapaporn Chobmuangna” ได้เขียนไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 28 สิงหาคม 2557 เวลา 0:30 น. ว่า
“เรียน ท่านอาจารย์สุเทพที่เคารพ
หนูขอคำแนะนำคะ
กรณีที่บริษัท ก เป็นบริษัทขนาดเล็ก มีกรรมการผู้บริหารและถือหุ้นใหญ่ 98% ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินบริษัทฯ จำนวนเงิน 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ไม่ได้กู้ยืมมา และบริษัทฯ มิได้มีหนี้สินใดๆ ในการการกู้ยืมกับบุคคลหรือสถาบันการเงินอื่นๆ ในสัญญากู้ยืมจึงคิดดอกเบี้ยแก่กรรมการตามอัตราเงินฝากประจำ ยังไม่ได้มีการชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้กับบริษัทฯ ในสัญญามิได้กำหนดวันที่ต้องชำระคืนบริษัทฯ
ต่อมาเมื่อบริษัท ก ถูกตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานสรรพากร มีประเด็นโดยประเมินดังนี้คะ
1. เจ้าพนักงานประเมินการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมคิดอัตราต่ำไป ให้คิดตามอัตราเงินกู้ยืม และให้ยื่น ภ.ธ.40 สำหรับดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกไว้
2. เจ้าพนักงานประเมินแจ้งว่า เงินกู้ยืมที่กรรมการทำสัญญากู้ยืมนั้น เนื่องจากกรรมการถือหุ้น 98% จึงมิใช้การกู้ยืม แต่ถือเป็นการจ่ายเงินปันผล ให้บริษัท ก ยื่น ภ.ง.ด.2 สำหรับการจ่ายเงินปันผล 300,000 บาท
หนูขอเรียนสอบถามดังนี้คะ
1. เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยเป็นรายได้เพิ่มขึ้น บวกเป็นรายได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 แล้วนั้น แต่การยื่น ภ.ธ.40 นั้น บริษัท ก มีสิทธิเลือกเกณฑ์การนำส่ง ภ.ธ.40 ตามความเข้าใจคือ นำส่งเมื่อมีการรับชำระดอกเบี้ย เมื่อยังไม่มีการรับชำระ ก็ยังไม่ต้องนำส่ง ภ.ธ.40 ถูกต้องไหมคะ (แบบนี้เรียกว่า เกณฑ์คงค้าง (เกณฑ์สิทธิ) หรือเกณฑ์เงินสดคะ)
2. เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเงินที่ให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวน 300,000 บาทนั้นเป็นเงินปันผล บริษัท ก โดนประเมินลักษณะนี้ เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตามมาตราใดคะ เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินลักษณะนี้หรือไม่คะ ทำไมเจ้าพนักงานประเมินลักษณะนี้คะ
ขอบคุณมากคะ
ขอแสดงความนับถือ”
เรียน คุณประภาพร ชอบม่วงนา “Prapaporn Chobmuangna”
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. กรณีตามข้อเท็จจริง เมื่อบริษัทฯ ไม่มีต้นทุนเงินกู้ยืม แต่ให้กรรมการกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์แล้ว ถือได้ว่า เป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ตามแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรแล้ว อาทิ หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/8010 ลงวันที่ 4 กันยายน 2556 ที่แนบมาท้ายคำตอบนี้
กรณีนี้ผมมีความเห็นว่า เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยเป็นรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อบวกเป็นรายได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 อีก
ในส่วนของการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น บริษัทฯ มีสิทธิเลือกใช้เกณฑ์เงินสดเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่ได้แจ้งไปข้างต้น
บริษัทฯ ก็ได้เลือกรับรู้รายรับจากการให้กู้ยืมตามเกณฑ์เงินสด จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว และหากเป็นการให้กู้ยืมเป็นครั้งคราว บริษัทฯ ได้สิทธิไม่ต้องจดทะเบียนธุรกิจเฉพาะ โดยให้นำรายรับค่าดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมไปยื่น ภ.ธ.40 และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับดอกเบี้ยนั้น
2. การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเงินที่ให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวน 300,000 บาทนั้นเป็นเงินปันผล
ผมไม่เคยเห็นกฎหมายในลักษณะนี้มาก่อนในชีวิต จึงไม่ทราบได้ว่า เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตามมาตราใด และเมื่อไม่เคยเห็นข้อกฎหมายดังกล่าว
จึงเชื่อว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินลักษณะนี้ ส่วนเหตุผลที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการในลักษณะนี้ บริษัทฯ เองก็อาจมีส่วนผิดที่ไม่ชี้แจงเหตุผลการให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการ ซึ่งควรชี้แจงเหตุผลให้ได้ความชัดแจ้ง เรื่องก็น่าจะจบลงได้สำหรับกระบวนการคิดของเจ้าพนักงานประเมินอาจเป็นการคิดในเชิงตรรกะว่า เมื่อมีกำไรพอที่จะจ่ายเงินปันผล ทำไมบริษัทฯ จึงไม่จ่าย แต่ให้กู้ยืมเงินแทน ซึ่งเป็นการคิดเอาแต่ได้ถ่ายเดียว ไม่รับฟังเหตุผลอื่นใดประกอบการพิจารณา ทำนองลุแก่อำนาจ
อนึ่ง ในระบอบเสรีประชาธิปไตย บริษัทฯ มีสิทธิดำเนินการใดๆ ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมือง เจ้าพนักงานประเมินจึงพึงต้องเคารพสิทธิของบริษัทฯ ในการดำเนินการใดๆ เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการที่ทำให้รัฐขาดประโยชน์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
เรื่องห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กู้ยืมเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วน เพื่อใช้ในกิจการ
แนวทางที่ 1
1. จัดทำสัญญากู้เงินระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน (ผู้ให้กู้ยืมเงิน) กับห้างฯ (ผู้กู้ยืมเงิน)
2. หลักฐานการรับเงินกู้ยืมและการบันทึกเจ้าหนี้ผู้เป็นหุ้นส่วน
3. หลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน โดยคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ของดอกเบี้ย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายดอกเบี้ย
แนวทางที่ 2
ประยุกต์หลักเกณฑ์ วิธีการ เกี่ยวกับการการกู้เงินจากธนาคารในนามกรรมการ เนื่องจากติดเงื่อนไขที่ธนาคารไม่สามารถให้ สินเชื่อต่อกิจการได้โดยตรง และกรรมการมีภาระดอกเบี้ยจ่าย ตามคู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ที่อออโดยกรมสรรพากร เป็น การกู้เงินจากผู้ให้กู้ยืมในนามผู้เป็นหุ้นส่วน เนื่องจากติดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ไม่สามารถให้สินเชื่อต่อห้างฯ ได้โดยตรง และผู้เป็นหุ้นส่วนมีภาระดอกเบี้ยจ่าย หลักเกณฑ์รายจ่ายทางภาษี และเอกสารหลักฐานที่ควรมี ดังนี้
1. มติที่ประชุมแจ้งความจำเป็นให้ผู้เป็นหุ้นส่วนไปกู้จากผู้ให้กู้แทนห้างฯ
2. สัญญากู้เงิน
2.1 คู่สัญญาระหว่างผู้ให้กู้ยืมกับผู้เป็นหุ้นส่วน
2.2 คู่สัญญาระหว่างผู้เป้นหุ้นส่วนกับห้างฯ
3. หลักฐานการรับเงินกู้ยืมและการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้
3.1 ใบรับเงินกู้ยืมจากผู้เป็นหุ้นส่วนที่ห้างฯ ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
3.2 การบันทึกบัญชีเจ้าหนี้ ผู้ให้กู้ยืม
4. หลักฐานที่ห้างฯ จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม
ซึ่งมีข้อดี คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ต้องรับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ยเพราะเป็นการกู้ยืมเงินทางห้างฯ และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15% ของเงินได้ค่าดอกเบี้ย
ปล.
1. รูปแบบสัญญากู้ยืม ช่วยหาเอาเอง ตามเวบไซต์ต่างๆ มีให้เลือกมากมาย
2. วิธการลงบัญชี กรณีจ่ายดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี (สมมติว่ายืมว่าครบ 1 ปี)
เดบิท ดอกเบี้ยจ่าย 10,000 บาท
เครดิต เงินสดหรือธนาคาร 10,000 บาท
(เงินต้นคงค้าง 500,000 X อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2/ปี ถ้าไม่ครบปีก็คำนวณตามจำนวนวันที่ยืมมา)
อัตราค่าบริการ รับสอนทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express เบื้องต้น ตัวต่อตัว ค่าเรียน 4,000 - 4,500 บาท เวลา 6 ชั่วโมง และแนะนำเรื่องการใช้งาน โปรแกรม Express ต่อเนื่อง
จองวันเวลาเรียนติดต่อ TEL 091-830-3543 / Line :@beeaccountant
ติดต่อ BEE-accประเด็นความเสี่ยง กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้า ประเด็นความเสี่ยงทางภาษีมูลค่าเพิ่มถือว่าเป็นการขาย ตามมาตรา 77/1 (8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้นรวมถึงสินค้าที่ขาดจากรายงานสินค้าจากการตรวจนับสินค้าประจำปีด้วย โดยไม่จำต้องออกใบกำกับภาษี กล่าวคือ จะออกใบกำกับภาษีหรือไม่ก็ได้ ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 “ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น โดยไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษี”
ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้นำราคาสินค้าตามราคาตลาดมาถือฐานภาษีตามมาตรา 79/3 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ที่กำหนดว่า “ราคาตลาด” ได้แก่ ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
การบันทึกรายการสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบในรายงานภาษีขาย นั้น ให้แสดงรายการสินค้าที่ขาดไปเสมือนเป็นการขายสินค้าทั่วไป โดยอาจแสดงแต่ละรายการหรือแสดงเป็นยอดรวมแล้วแนบรายละเอียดก็ได้ เนื่องจากไม่มีข้อกำหนด
DR. รายจ่ายต้องห้าม 570.00
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม XX.00 CR.ภาษีขาย 70.00 (ราคาตลาด 1000)
เจ้าหนี้กรมสรรพาพร XX.00 (เบี้ยปรับเงินเพิ่ม)
สินค้าคงเหลือ 500.00 (ต้นทุนสินค้าสูญหาย)
DR. รายจ่าย (ไม่ต้องห้าม) 570.00
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม XX.00 CR.ภาษีขาย 70.00 (ราคาตลาด 1000)
เจ้าหนี้กรมสรรพาพร XX.00 (เบี้ยปรับเงินเพิ่ม)
สินค้าคงเหลือ 500.00 (ต้นทุนสินค้าสูญหาย)
เรื่องสินค้าเกินจากรายงานสินค้าฯถ้าดูตามกฎหมายประมวลรัษฎากรแล้วจะเห็นว่าไม่มีประเด็นความเสี่ยง และไม่มีตรงไหนกำหนดว่าจะต้องเสียภาษีไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่ว่าถ้าตรวจนับสินค้าแล้วปรากฏว่าสินค้าเกินจากรายงานสินค้าฯกฎหมายกำหนดความผิดทาง อาญาไว้ตามมาตรา 90 (14) แห่งประมวลรัษฎากร ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เปรียบเทียบปรับเพียง 1,000) โดยมีอายุความเพียง 1 ปีนับจากวันกระทำความผิด
ดังนั้นสินค้าเกินจากรายงาน
อาจนำไปสู่ประเด็นความเสี่ยง – ให้อำนานเจ้าพนักงานในการกำหนดรายได้หรือรายรับที่ควรจะเป็นในการเสียภาษี
ซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 88/2 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 88/2 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 88 และมาตรา 88/1 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ
(4) กำหนดมูลค่าที่ควรได้รับ โดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบการ หรือสถิติการค้าของผู้ประกอบการเอง หรือของผู้ประกอบการที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์ อย่างอื่นอันอาจแสดงมูลค่าที่ได้รับโดยสมควร
แต่ถ้าผู้ประกอบการ มีหลักฐาน ชี้แจงที่มาที่ไปของสินค้าได้ เช่น บางครั้งอาจจะมีข้อผิดพลาดเรื่องเอกสาร หรือการรับสินค้าเข้า STOCK แต่ลืมลงรายการในรายงานสินค้าฯ หรือมี การกระทำที่เจ้าพนักงานประเมินเชื่อได้ว่า ไม่มีการกระทำใดที่ส่งผลให้เสียภาษีไม่ครบถ้วน ก็เป็นอันสบายใจได้ว่า จะถูกปรับทางอาญาอย่างเดียว ไม่เกิน 2,000 บาท ไม่มีความรับผิดอย่างอื่น
บริษัทเพียงปรับปรุงปริมาณสินค้าตามสต๊อกให้ตรงตามผลการตรวจนับ และให้นำมูลค่าสินค้าคงเหลือตามที่ตรวจนับ และตีราคาไว้ไปบันทึกบัญชีถือเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดในงบการเงิน ผลการปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนสินค้าที่ขายได้แบกรับมูลค่าสินค้าขาดเกินจากบัญชีคุม
บริษัทจะต้องปรับปรุงบัญชีสินค้าคงเหลือ และต้นทุนขายเสียใหม่ ให้ตรงตามผลการตรวจนับซึ่งจะมีผลให้ยอดตามบัญชีทั้งสองเพิ่มขึ้น หรือลดลงตามยอดสินค้าที่ขาดหรือเกิน
เลขที่หนังสือ: กค 0706/34153
วันที่: 3 พฤษภาคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าสูญหาย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของบริษัทฯ สินค้าของบริษัทฯ ได้แก่ เพชร พลอย แหวน ต่างหู จี้ สร้อยคอ และอื่นๆ อีกหลายรายการมีมูลค่ารวม 2,901,355.69 บาทได้ถูกโจรกรรมโดยนาย ด. และบริษัทฯ ได้แจ้งความและดำเนินคดีทางกฎหมายกับนาย ด. ตามสำเนาคำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้คดีหมายเลขแดง และเนื่องจากการดำเนินคดีได้สิ้นสุดลงแล้ว
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ค่าเสียหายมูลค่า 2,901,355.69 บาท บริษัทฯ มีสิทธินำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 และมีสิทธินำภาษีซื้อของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหายและบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่า สินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ หากผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ
บริษัทฯ มีสิทธิ นำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(12) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยต้องลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผลเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้น และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็ให้นำจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระแล้วนั้น มาลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย
2. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ สูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าที่ถูกโจรกรรมเข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า
บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้:69/34153
วิธีการตัดจำหน่ายสินค้าสูญหาย, ตรวจนับพบสินค้าขาด/เกินจาก Stock
ตอบ กรณีสินค้าสูญหาย เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องระมัดระวังในการจัดการ โดยแต่ละกิจการก็พยายามที่จะหาหนทางหรือวิธีการในการจัดการเกี่ยวกับสินค้า แต่ในบางครั้งก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีได้มีการให้แนวทางปฏิบัติไว้ว่าให้รับรู้ผลขาดทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ เช่น ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย โดยกิจการต้องจัดประเภทผลขาดทุนนั้นในงบการเงินงวดก่อนที่นำมาเปรียบเทียบ โดยแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ในกรณีของสินค้าขาดรายงานต้องเสียภาษีขาย (ม.77/1 (8) (จ)) เบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89 (10)) ถูกปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90 (14) (15))
กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหายและบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่า สินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ หากผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ บริษัทฯ มีสิทธิ นำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผลเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้น และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับชำระหนี้ (ได้รับคืน) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็ให้นำจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระแล้วนั้น มาลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย
สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ สูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าที่ถูกโจรกรรมเข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
โดย อาจารย์ธนพล สุขมั่นธรรม https://www.dha.co.th
เลขที่หนังสือ: กค. 0706/พ./6444
วันที่: 2 กรกฎาคม 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าสูญหายเนื่องจากถูกลักขโมย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (12) มาตรา 77/1(8)(9) มาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) มาตรา 87(3) มาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
: บริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายเศษโลหะทุกชนิดโดยรับซื้อจากหลายแหล่งนำมาคัดแยกแล้วอัดเป็นก้อนเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ
ในระหว่างปี 2547 บริษัทฯ ถูกโจรกรรมในเวลากลางคืน และสินค้าของบริษัทฯ ถูกลักขโมย ในวันรุ่งขึ้น บริษัทฯ ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุภายในโรงงานเพื่อติดตามจับกุมคนร้าย
ต่อมา สถานีตำรวจนครบาล แจ้งว่า พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นให้งดการสอบสวน โดยส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งพนักงานอัยการมีความเห็นให้งดการสอบสวน และมีคำสั่งให้งดการสอบสวน
บริษัทฯ ขอทราบว่า ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ ดังต่อไปนี้
1. สินค้าของบริษัทฯ ที่ถูกขโมยเป็นสินค้าที่ไม่มีประกัน หรือสัญญาคุ้มกันใดๆ มูลค่าของสินค้าที่สูญหายดังกล่าว ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ ไม่ถือเป็นการขายที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าที่สูญหายไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
3. สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ ที่สูญหายเนื่องจากการถูกโจรกรรม เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่สูญหายดังกล่าว
4. ภาษีซื้อของสินค้าที่ถูกโจรกรรม เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย
: 1.กรณีตาม 1 และ 2 สินค้าของบริษัทฯ สูญหาย และบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่าสินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ ผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องนำมาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกโจรกรรม มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีที่การดำเนินคดีความสิ้นสุด และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับสินค้าคืนหรือได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้นำจำนวนสินค้าหรือจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระมาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. กรณีตาม 3 สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ ที่สูญหายเนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) และ(9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 จากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา
79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีตาม 4 หากบริษัทฯ ได้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่เป็นต้องห้าม ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 70/35085
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้