Skip to content

ใบเพิ่มหนี้ คืออะไร Debit note

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายบเพิ่มหนี้ คืออะไร

ใบเเพิ่มหนี้ คือ เอกสารสำคัญที่ใช้เพิ่มหนี้ให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าและบริการแล้ว แต่ลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอีก หรือการปรับปรุงราคาสินค้า ดังนั้นบริษัทจึงต้องออกใบเพิ่มหนี้ เพิ่มยอดชำระเงินให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทราบยอดเงินที่จะต้องชำระหนี้ และสามารถเอาใบเพิ่มหนี้ไปยื่นเพิ่มภาษีซื้อ และทางผู้ออกใบเพิ่มหนี้นำส่งภาษีขาย

ใบเพิ่มหนี้ จึงเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการเพิ่มหนี้ให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้ามีความต้องการตัวสินค้าและบริการอีก บริษัทจึงต้องออกเอกสารให้ เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบยอดชำระเงิน และได้เอาใบเพิ่มหนี้ไปลดหย่อนภาษี

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ ต้องออกใบเพิ่มนนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกใบเพิ่มหนี้ได้ทันในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ให้ออกใบเพิ่มหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

หัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้อง   ใบลดหนี้    ใบกำกับภาษีอย่างย่อ     ใบกำกับภาษีเต็มรูป  

สำนักงานบัญชี BEE Accountant

บริการรับทำบัญชี ตรวสอบบัญชี วางระบบบัญชี กิจการซื้อมาขายไป เช่น  ร้านสะดวกซื้อ  7-11  แฟมิลี่มาร์ท ร้านทอง ปั๊มน้ำมัน กิจการผลิต กิจการบริการ และรับสอนการบันทึกบัญชีด้วย Express จากเอกสารจริง

สนใจติดต่อ 091-830-3543

ใบเพิ่มหนี้ คืออะไร
ใบเพิ่มหนี้ คืออะไร

สาเหตุในการออก ใบเพิ่มหนี้ ต้องเกี่ยวกับราคา?

ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้ว ได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน   ดังนี้ สาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้ คือ

  • การเพิ่มราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าเกินกว่าจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

  • มีการเพิ่มราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ระยะเวลาในการออกใบเพิ่มหนี้

เมื่อมีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบเพิ่มหนี้ตามกฎหมายแล้ว

ผู้ขาย นำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นตามใบเพิ่มหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยถือเป็นภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบเพิ่มหนี้  สรุป

   1.  ผู้ขายสินค้าจะต้องออกใบเพิ่มหนี้ในเดือนที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น (เดือนที่ส่งเพิ่มสินค้า / ปรับราคา)

   2.  กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกได้ ก็ให้ออกในเดือนถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร และ

ผู้ขายสินค้าก็มีต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเพิ่มหนี้ไปนำส่งรวมกับภาษีขายอื่นของตนเองในเดือนที่ออกใบเพิ่มหนี้

ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงตามใบเพิ่มหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยนำไปหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบลดหนี้

 

ผู้ซื้อ

สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏในใบเพิ่มหนี้ไปรวมเพิ่มกับภาษีซื้อของตนเองในเดือนที่ได้รับใบเพิ่มหนี้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบเพิ่มหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปรวมเพิ่มกับภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบเพิ่มหนี้

 

สรุป ผู้ออกต้องใช้ในเดือนที่ออก / ผู้รับในเดือนที่ได้รับ ไม่มีกำหนดอายุการใช้งาน 6 เดือนเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูป

รายการที่ต้องมี - ใบเพิ่มหนี้

ใบลดหนี้ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. คำว่า “ใบเพิ่มหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออก ใบเพิ่มหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออก ใบเพิ่มหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ใบเพิ่มหนี้ = ใบกำกับภาษีเมื่อใด

ให้ถือว่า ใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรานี้เป็นใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออก ใบเพิ่มหนี้ จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(3) ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

               (ก) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
               (ข) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง

ใบเพิ่มหนี้ - การอ้างถึงข้อมูลในใบกำกับภาษีเต็มรูปที่ออกไว้แล้ว

ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 และข้อ 2
สามารถออกใบเพิ่มหนี้ 1 ฉบับ หรือใบลดหนี้ 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกำกับภาษีเดิมมากกว่า 1 ฉบับก็ได้
และรายการตามข้อ 3(5) หรือ (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารแนบใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้อ้างถึงใบกำกับภาษีเป็นรายใบกำกับภาษีก็ได้

ใบลดหนี้ ตัวอย่างเอกสาร
ใบเพิ่มหนี้

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

สำนักงานบัญชี  BEE-Accountant

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 15,191

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า