สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
สาเหตุในการออก ใบลดหนี้ ใครมีสิทธิออก ต้องยื่นรายงานภาษีซื้อ ขายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบให้คุณ ได้รับ ใบลดหนี้ ต้องทำอย่างไร
ใบลดหนี้ คืออะไร เอกสารที่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง
การขายสินค้าหรือให้บริการโดยทั่วไปแล้วเมื่อได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า แต่ต่อมาอาจเกิดปัญหาขึ้น เช่น สินค้าที่ส่งไปให้ลูกค้าเกิดชำรุด เสียหาย ไม่ต้องตามตัวอย่างที่ได้ตกลงกัน ได้มีการส่งคืนให้กับผู้ขายตามข้อตกลง ผู้ขายก็จะลดหนี้ให้กับลูกค้า โดยผู้ขายจะต้องออกหลักฐานการลดหนี้ให้กับลูกค้า ซึ่งหลักฐานดังกล่าวก็คือ “ใบลดหนี้”
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง เพราะเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ ออกใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกใบลดหนี้ได้ทันในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ให้ออกใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
สาเหตุในการออกใบลดหนี้ คืออะไรบ้าง
1. เมื่อมีการลดราคาสินค้า/บริการ เนื่องจากของที่เราส่งไปนั้น “ขาดไป”จากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันไว้ หรือให้บริการ “ขาดไป”หรือบกพร่องหรือผิดไปจากข้อตกลงที่ตกลงกัน
2. คำนวณราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการผิดพลาด “สูงกว่า” ที่เป็นจริง
3. เราในฐานะผู้ขายได้รับสินค้าที่เราขายไปนั้นกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่องไม่ตรงตามตัวอย่างหรือไม่ตรงคุณสมบัติที่ตกลงไว้ทำให้มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลง (อันนี้ควรต้องมีการแลกเปลี่ยนกันในระยะเวลาที่เหมาะสมทางธุรกิจด้วยนะครับ)
4. มีการบอกเลิกสัญญาบริการหรือว่าไม่มีการให้บริการตามสัญญา
5.มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ซื้อ, มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้า/เงินประกัน/เงินมัดจำ ให้กับผู้ซื้อตามข้อตกลงทางการค้า
และสินค้าต้องมีการส่งมอบคืนกับจริง มิใช่แต่เพียงเอกสาร
การได้รับคืนสินค้านอกจากจะต้องเป็นไปตามเหตุการณ์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต้องเป็นการได้รับคืนสินค้าตามความเป็นจริง กล่าวคือ
ผู้ขายสินค้าต้องรับคืนสินค้าและรับสินค้าที่คืนเข้าคลังสินค้าจริง
ถ้าเป็นการคืนสินค้าแต่ในทางเอกสารซึ่งไม่มีการรับคืนสินค้ากันในทางข้อเท็จจริง
การคืนสินค้าดังกล่าว
ไม่อาจถือได้ว่าผู้ขายสินค้าได้รับคืนสินค้าจึงไม่สามารถออกใบลดหนี้ได้
เมื่อมีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบลดหนี้ตามกฎหมายแล้ว
ผู้ขาย
1. ผู้ขายสินค้าจะต้องออกใบลดหนี้ในเดือนที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น (เดือนที่ได้รับคืนสินค้า)
2. กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกได้ ก็ให้ออกในเดือนถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร และ
ผู้ขายสินค้าก็มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีขายของตนเองในเดือนที่ออกใบลดหนี้
ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยนำไปหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบลดหนี้
ผู้ซื้อ
สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏในใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อของตนเองในเดือนที่ได้รับใบลดหนี้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้
สรุป ผู้ออกต้องใช้ในเดือนที่ออก / ผู้รับในเดือนที่ได้รับ ไม่มีกำหนดอายุการใช้งาน 6 เดือนเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูป
เมื่อมีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบลดหนี้ตามกฎหมายแล้ว
ผู้ซื้อที่ได้รับใบลดหนี้
สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏในใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อของตนเองในเดือนที่ได้รับใบลดหนี้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้
สรุป ผู้ออกต้องใช้ในเดือนที่ออก / ผู้รับในเดือนที่ได้รับ ไม่มีกำหนดอายุการใช้งาน 6 เดือนเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูป
ใบลดหนี้ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. คำว่า “ใบลดหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
3. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
4. วัน เดือน ปีที่ออกใบลดหนี้
5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น
6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้
7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
ให้ถือว่าใบลดหนี้ตามมาตรานี้เป็นใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบลดหนี้จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(3) ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ข) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง
(ค) ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุการให้บริการบกพร่อง หรือให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน ตามข้อ 2 (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)
(ง) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการคืนเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า หรือไม่มีการให้บริการตามสัญญา ตามข้อ 2 (2) และ (6) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบลดหนี้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ดังกล่าว มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 และข้อ 2
สามารถออกใบเพิ่มหนี้ 1 ฉบับ หรือใบลดหนี้ 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกำกับภาษีเดิมมากกว่า 1 ฉบับก็ได้ และรายการตามข้อ 3(5) หรือ (6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารแนบใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้อ้างถึงใบกำกับภาษีเป็นรายใบกำกับภาษีก็ได้
การได้รับคืนสินค้าที่เป็นเหตุอันจะทำให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบลดหนี้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากเป็นการคืนสินค้าด้วยเหตุอื่น ผู้ขายสินค้าก็ไม่มีสิทธิออกใบลดหนี้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แต่อย่างใด
ถ้าออกใบลดหนี้โดยไม่มีเหตุการณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ถือเป็นการออกใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิ
ซึ่งมีความรับผิดทั้งทางอาญาและต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า
รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565Inbox: อังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:05 น.
ชงโค แซ่ซำ
กราบเรียนอาจารย์สุเทพ
ขอสอบถามเรื่อง ใบลดหนี้คะ
ทางบริษัทฯ ได้รับใบลดหนี้เมื่อปลายเดือนกันยายน 2561 คะแต่วันที่ในเอกสารใบลดหนี้ระบุเดือนสิงหาคม2561คะ ไม่ทราบว่าสามารถนำหักในรายงานภาษีซื้อเดือนกันยายน 2561 ได้หรือไม่คะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 82/10 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบลดหนี้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ดังกล่าว มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น
ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ได้รับใบลดหนี้เมื่อปลายเดือนกันยายน 2561 คะแต่วันที่ในเอกสารใบลดหนี้ระบุเดือนสิงหาคม 2561 ให้บริษัทฯ นำไปหักในรายงานภาษีซื้อสำหรับเดือนกันยายน 2561
เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.ก.702
วันที่ : 20 กันยายน 2543
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/10, มาตรา 86/10
ข้อหารือ :
….บริษัท พ. จำกัด ซึ่งได้ขายส่งรองเท้าให้ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยในเดือนสิงหาคม 2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7.0 เป็นอัตราร้อยละ 10.0 บริษัทฯ ได้ออกใบลดหนี้ให้แก่ห้างสรรพสินค้าเสมือนมีการรับคืนสินค้า สำหรับสินค้า ที่เหลืออยู่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2540 ว่า กรณีดังกล่าวไม่เป็นเหตุที่จะออกใบลดหนี้ได้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
แนววินิจฉัย :
….บริษัทฯ ไม่มีสิทธิที่จะออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 7.0 เป็นอัตราร้อยละ 10.0 โดยมิได้รับคืนสินค้าดังกล่าวนั้นไม่ใช่เหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)ฯ ดังนั้น กรณีมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริษัทฯ ออกใบลดหนี้ตามข้อเท็จจริงข้างต้น อันไม่ถือเป็นเหตุการณ์ที่จะออกใบลดหนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ใบลดหนี้นั้นจึงไม่ใช่เป็นใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ลูกค้าของบริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
เลขตู้ : 63/29834
เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./10877
วันที่ : 18 ธันวาคม 2545
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้จากการรับคืนสินค้าจากตัวแทนจำหน่าย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/10 (3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)ฯ
ข้อหารือ :
….บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาขายรถยนต์โดยมีเงื่อนไขกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์บรรทุกฮีโน่ ในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 กำหนดชำระราคาในวันที่ 1 ธันวาคม 2540 โดยบริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีและส่งมอบรถยนต์ให้แก่ห้างฯ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540
ต่อมาห้างฯ ไม่สามารถชำระราคาค่ารถยนต์ตามกำหนดเวลาได้ บริษัทฯ จึงบอกเลิกสัญญา และห้างฯ ได้ส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทฯ ตามเงื่อนไขข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของหนังสือสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขระหว่างบริษัทฯ กับห้างฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้หารือว่ากรณีดังกล่าวจะถือเป็นเหตุการณ์ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(2)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 18) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 อันเป็นเหตุให้บริษัทฯ สามารถออกใบลดหนี้ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย :
….บริษัทฯ ตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับห้างฯ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกล่าวคือ
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยมีกำหนดชำระราคาทั้งหมดในวันที่ 1 ธันวาคม 2540 และสัญญาดังกล่าวได้ระบุให้ผู้ขายมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้ หากผู้ซื้อมิได้ชำระราคาภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา และผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่ซื้อคืนให้แก่ผู้ขายในสภาพอย่างเดียวกันกับที่ผู้ซื้อได้รับมอบข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงยินยอมทั้งสองฝ่าย
ดังนั้น การที่บริษัทฯ ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากห้างฯ ไม่สามารถชำระหนี้ค่ารถยนต์ได้ และห้างฯ ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่บริษัทฯ เป็นกรณีคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ในสัญญา จึงเป็นเหตุเนื่องจากมีการคืนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน ตามมาตรา 82/10 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1) (2) (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
บริษัทฯ จึงมีสิทธิออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ห้างฯ ได้
เลขตู้ : 65/32132
คุณ Boonruk Ngamkiatikul (25 มิถุนายน 2558 เวลา 9:41 น.)
ปุจฉา: เรียน ท่านอาจารย์ครับ
ผมขอสอบถามเรื่องใบลดหนี้ตาม มาตรา 82/10 และ 86/10
กรณีบริษัทได้ขายสินค้าและได้รับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้ซื้อพบว่า สินค้ามีข้อชำรุดบกพร่อง ขอส่งคืน หรือขอให้ลดราคาให้ โดยให้ออกใบลดหนี้ ซึ่งผมมีความสงสัยในข้อปฏิบัติตามกฎหมายว่า เมื่อได้ชำระราคาเสร็จสิ้นแล้ว หากมีปัญหาเรื่องสินค้าภายหลัง หากให้ออกใบลดหนี้ จะมีผลอย่างไร เนื่องจากในระบบบัญชีก็ไม่มีลูกหนี้คงเหลืออยู่แล้ว อีกทั้งหากออกใบลดหนี้ไม่ตรงกับภายในเดือนที่มีการขายเกิดขึ้น ตามมาตรา 86/10 ก็ต้องมีเหตุจำเป็นมาแสดงเพื่ออ้างอิงได้ คำว่า เหตุจำเป็น ตามที่กำหนดนี้ ต้องทำอย่างไร
ขอขอบคุณมากครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับชำระราคาค่าสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว หากมีปัญหาเรื่องสินค้าภายหลัง และได้ออกใบลดหนี้ ก็ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือนำไปลดยอดลูกหนี้สำหรับค่าซื้อสินค้าที่ยังไม่ได้ชำระ
บริษัทรับฝากขายสินค้า จากผู้ผลิต https://www.facebook.com/…/%E0%B8%84%E0%B…/1382810795103226/
ขอความกรุณาอาจารย์แนะนะสาเหตุในการออกใบลดหนี้ ให้เป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป 80/2542 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
เกี่ยวกับออกใบลดหนี้ กรณีฝากขายสินค้าโดยถือเป็นการขายสินค้าทันทีที่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับฝากขาย (Consignee) โดยถือตามเงื่อนไข “มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน” ตามข้อ 2 (3)(ฉ) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 80/2542
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้