Skip to content

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน คืออะไร หมายถึงอะไร

             การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี            

              การปิดบัญชี (Closing  Entries)  หมายถึง  การโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีทุน  ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว ได้แก่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ และบัญชีค่าใช้จ่าย ไปยังบัญชีทุน  เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีทุนที่ถูกต้อง  ณ วันสิ้นงวดบัญชี รวมทั้งการหายอด คงเหลือ ของบัญชีสินทรัพย์ และหนี้สิน  ซึ่งหลังจากทำการปิดบัญชีแล้ว บัญชีที่เหลืออยู่ ได้แก่ บัญชีสินทรัพย์  บัญชีหนี้สิน  และบัญชีทุน  เพื่อยกไปยังงวดบัญชีถัดไป

ค่าบริการจัดทำบัญชีรายเดือน / รายปีของทางสำนักงาน รวมค่าบริการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับงานบริการส่วนนี้

การ ปิดบัญชี มีกี่ประเภท

การปิดบัญชี ประจำวัน คือ การปิดบัญชีในสมุดเงินสดทุกสิ้นวัน เพื่อทราบจำนวนเงินสดในบัญชีทุกวัน

การปิดบัญชี ประจำเดือน คือ การปิดบัญชี ในสมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า  รายการภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดรายได้ขายสินค้า ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดทำงบทดลอง

การปิดบัญชี ประจำปี คือ การปิดบัญชีทุกบัญชีในสมุดรายวันแยกประเภท ภายหลังจากได้รับมีการปรับปรุงรายการ รับรู้รายได้ ค่าใช้จ่ายในงวด มีการบันทึกค่าเสื่อมราคา ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อประมาณการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : ขั้นตอนในการปิดบัญชี

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : ขั้นตอนในการปิดบัญชี

การปิดบัญชีจะบันทึกตามหลักการบัญชีปกติ  คือ  จะทำการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทดังนี้

 1.  บันทึกรายการปิดบัญชีประเภทรายได้และประเภทค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันทั่วไป 

 2.  ผ่านรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป  ไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง  การปิดบัญชีมีขั้นตอนดังนี้

 ขั้นตอนที่  1  บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

                          1.1  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.2  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.3  บันทึกรายการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ(ทุน)
                          1.4  บันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวหรือเงินถอนเข้าบัญชีทุน

 ขั้นตอนที่  2  ผ่านรายการปิดบัญชี  จากสมุดรายวันทั่วไปไปยังสมุดแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  3  การปิดบัญชีทรัพย์สิน  หนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  4  การจัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี

 ขั้นตอนที่  5  ปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวด เช่น รายได้รับล่วงหน้า / ค้างรับ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า / ค้างจ่าย หนี้สงสัญจะสูญ วัสดุสิ้นเปลอง ค่าเสื่อมราคา

 ขั้นตอนที่  6  การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงรายการ

 ขั้นตอนที่  7  จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน
ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

ข้อมูลเพิ่มเติม

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : รายการปรับปรุงสิ้นงวด

รายได้รับล่วงหน้า

รายได้รับล่วงหน้าคือ คือรายได้ที่กิจการรับมาแล้วแต่ยังไม่ได้ให้บริการกับลูกค้า โดยจะได้รับในงวดปัจจุบันแต่ยังมีระยะเวลาที่ต้องให้บริการถึงงวดบัญชีหน้า

อย่างเช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า ดอกเบี้ยรับล่วงหน้า เงินเดือนรับล่วงหน้า

เมื่อรับมาแล้วกิจการจะต้องดำเนินการให้กับลูกค้าจนกว่าจะครบกำหนดจึงถือเป็นบัญชีประเภทหนี้สินหมุนเวียน

ถ้าเงินที่ได้รับมาในงวดปัจจุบันก็ถือได้ว่าเป็นรายได้งวดปัจจุบันของกิจการ จึงต้องทำการปรับปรุงเสียก่อน

รายได้รับล่วงหน้านั้นจะมีการปรับปรุง 2 วิธี ขึ้นอยู่กับกิจการได้ลงบัญชีได้ 2 แบบโดยมีดังนี้

1. ลงไว้เป็นรายได้รับล่วงหน้า (หนี้สิน)
2. ลงไว้เป็นรายได้

รายได้ค้างรับ

รายได้ค้างรับ คือ การที่กิจการได้ดำเนินการหรือจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าไปแล้วนั้นแต่ลูกค้ายังไม่ได้ชำระให้กับกิจการ

เช่นรายได้ค่าบริการค้างรับ รายได้ค่าเช่ารับ กอดเบี้ยค้างรับ

เนื่องจากิจการไม่ได้รับในงวดปัจจุบันจึงถือได้ว่าให้บริการและเป็นรายได้สำหรับงวดนี้แล้ว รายได้ค้างรับอยู่ในฐานะลูกหนี้อยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียน

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คือ กิจการได้ชำระค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่กิจการยังไม่ได้รับประโยชน์จากที่ได้ใช้จ่ายไป

ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าล่วงหน้า เงินเดือนจ่ายล่วงหน้า ค่าทำความสะอวดจ่ายล่วงหน้า

ในการปรับปรุงนั้น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน และส่วนที่เหลือจะเป็นของงวดถัดไป

ซึ่งส่วนที่เหลือจะเป็นลักษณะของลูกหนี้ที่อยู่ในหมวกสินทรัพย์หมุนเวียนจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วย โดยจะมีการลงบัญชีได้ 2 วิธีคือ

1.ลงไว้เป็นค่าใช้จ่าล่วงหน้า(สินทรัพย์)
2.ลงเป็นค่าใช้จ่าย

ตัวอย่าง กิจการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปี จำนวนเงิน 120,000 บาท เป็นค่าเช่าอาคาร ได้จ่ายในวันที่ 1 กันยายน 25X8

– ค่าใช้จ่ายงวดนี้ 40,000(10,00*4) และ

– ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอีก 80,000(10,000*8)

เมื่อได้ยอดที่สรุปได้จะนำไปลงบัญชีซึ่งค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสามารถบันทึกได้ 2 วิธีคือ

1.ลงบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
2.ลงบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายคือ รายจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้ชำระเงินเมื่อสิ้นงวดเราจึงตั้งให้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบันเนื่องจากกิจการได้ดำเนินและได้ใช้ประโยชน์ไปแล้ว

เช่น ค่าเช่าค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย ค่าไฟค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่ายเป้ฯต้น
ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายนั้นมีลักษณะเป็นหนี้ของกิจการที่ต้องชำระคืนในอนาคต

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ในขณะที่กิจการกำลังดำเนินการไปนั้นจะมีลูกหนี้เกิดขึ้นเพราะจะมีการการชำระเงินสดเป็นบางส่วนอีกส่วนจะเป็นเงินเชื่อ ซึ่งผู้ใช้บริการแบบเงินเชื่อก็จะเป็นลูกหนี้ของกิจการ 

แต่มีกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินได้ หรือมีสถานะที่เสี่ยงต่อหนี้สูญ เพื่อให้กิจการได้รับทราบค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงจึงตั้งให้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในบางส่วนโดยการประมาณ และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมเป็นยอดที่จะนำไปหักจากลูกหนี้และมีหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่าย

การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสามารถทำได้ 2 วิธีได้แก่

1. การประมาณจากยอดขาย
2. การประมาณจากยอดลูกหนี้

                1.การประมาณจากยอดขาย  เป็นการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขาย  ซึ่งไม่ต้องคำหนึ่งถึงยอดสะสม  สามารถตั้งได้ตามยอดลูกหนี้ได้เลย

             2.การประมาณจากยอดลูกหนี้  เป็นการประมาณค่าจากยอดลูกหนี้ทั้งหมด  การประมาณค่านี้จะต้องได้ยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีอยู่เดิมมารวมด้วย  หากมียอดเดิมอยู่เท่าไหร่ให้นำยอดเดิมนั้นมาหักยอดที่คำนวณได้แล้วจึงตั้งยอดที่ได้ผลลบนำมาตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดนี้

วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป

วัสดุสำนักงาน คือ วัสดุต่างๆที่มีไว้ใช้ประโยชน์ของกิจการ อย่างเช่น ปากกา กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น วัสดุอย่างอื่นที่เมื่อใช้ไปแล้วก็จะหมดไปเรื่อยๆ ซึ้งตอนแรกที่ซื้อมานั้นจะมีมูลค่าเต็มและเมื่อกิจการดำเนินการไปนั้น วัสดุเหล่านี้ก็จะถูกใช้ไป

เมื่อถึงสิ้นงวดจะมีการตรวจนับยอดคงเหลือมูลค่าเท่าไหร่ หรือในระหว่างงวดจะมีการรวมกับกับต้นงวดนำมาหักยอดที่เหลือปลายงวด ก็จะได้ยอดวัสดุใช้ไปจะมีการบัญชีดังนี้

ค่าเสือมราคา

ค่าเสื่อมราคา ( Depreciation )
     ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่ตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ ที่กิจการใช้ประโยชน์ประจำงวดทั้งนี้เพราะสินทรัพย์ประเภทอาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร รถยนต์ เป็นสินทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานและมักจะมีมูลค่าสูง จึงมีการประมาณประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านี้เฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละงวด

 

            ค่าเสื่อมราคา ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เนื่องจากเมื่อกิจการซื้อสินทรัพย์มา ซึ่งมีราคาสูง และมีการใช้งานหลายปี ถ้าจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนเลยก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในปีที่ซื้อ สินทรัพย์ ส่วนปีถัดไปจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลยแม้ว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่จะใช้ประโยชน์จาก สินทรัพย์นั้น

         ค่าเสื่อมราคาสะสม เป็นบัญชีหมวดสินทรัพย์ แต่เป็นตัวลดยอดของสินทรัพย์นั้น ๆ เพราะเมื่อกิจการซื้อสินทรัพย์มา ก็จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ แต่สินทรัพย์นี้เมื่อมีการใช้งานแล้วจะเสื่อมค่าลง ดังนั้นทุกสิ้นปีจึงต้องบันทึกค่าเสื่อมราคา เพื่อลดยอดสินทรัพย์ลง

วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่นิยม มี 4 วิธี คือ วิธีเส้นตรง วิธียอดลดลงทวีคูณ วิธีผลรวมจำนวนปี และวิธีจำนวนผลผลิต

วิธีเส้นตรง
     ค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงคำนวณจากการนำราคาทุนของสินทรัพย์ในหมวดที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (ยกเว้นที่ดิน) หักด้วยมูลค่าซาก หารด้วยอายุการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปี

วิธียอดลดลงทวีคูณ
     ค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณคำนวณโดยใช้ สองเท่าของอัตราค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงคูณด้วยราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวด

วิธีผลรวมจำนวนปี
     ค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจำนวนปีคำนวณจากเศษส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือของสินทรัพย์ คูณด้วยราคาทุนหักมูลค่าซาก

วิธีจำนวนผลผลิต
     ค่าเสื่อมราคาวิธีจำวนผลผลิตคำนวณจาก การคำนวณหาค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยคูณด้วยปริมาณผลผลิตในแต่ละงวดบัญชี

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน : การปิดรายได้ ค่าใช้จ่าย

ปิดบัญชี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย เข้าบัญชี ต้นทุนการขาย ต้นทุนการผลิต ต้นทุนบริการ และบันทึกวัตถุดิบสิ้นปี

 DR    ต้นทุนการผลิต
           สินค้า / วัตถุดิบปลายปี
           ส่งคืนสินค้า /วัตถุดิบ
           ส่วนลดรับสินค้า /วัตถุดิบ
              CR  สินค้า / วัตถุดิบต้นปี
                      ซื้อสินค้า / วัตถุดิบ
                      ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
                      ค่าใช้จ่ายในการผลิต

ปิดบัญชี รายได้ ต้นทุน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อหากำไรสุทธิ / ขาดทุนสุทธิ

ปิดบัญชี สินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน เพื่อคำนวณหายอดยกไป และแสดงยอดไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามประเภทของบัญชี ณ วันสิ้นปี

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ภาษี ที่เกี่ยวข้อง นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีร้านค้า บุคคลธรรมดา 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2560 ใหม่ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2561 ภาษีนิติบุคคล 2561 ภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ภาษีการค้า คือ 2561 2562 2018 2019 การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนบริษัท pantip จดทะเบียนบริษัทที่ไหน การจดทะเบียนบริษัท คนเดียว แบบฟอร์มจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง จดทะเบียนบริษัท กี่คน จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ เอกสารจดทะเบียนบริษัทใหม่

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 15,473

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า