สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
โปรแกรมบัญชี Express – การวางผังบัญชี ในส่วนงานของการบริการวางระบบบัญชี การจัดทำเอกสาร ทางเดินของเอกสาร ที่ทางสำนักงานบัญชีดูแลให้กับระบบงานบัญชีของกิจการอยู่นั้น สิ่งแรกที่ทางสำนักงานขอข้อมูลจากกิจการคือ ผังบัญชี ทางสำนักงานเคยเขียนบทความเกี่ยวกับข้อดีของระบบโปรแกรม Express
ในส่วนนี้ทางสำนักงานบัญชี ขอกล่าวถึง การจัดทำบัญชีโดยนำ โปรแกรม Express มาใช้ในการวางผังบัญชี นอกจากนี้ในบทความนี้กล่าวถึง ผังบัญชี รหัสบัญชี การตั้งชื่อผังบัญชี และการผูกผังบัญชีเพื่อการลงบัญชีอัตโนมัติ ตามความสามารถของโปรแกรมบัญชี Express ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการทำลงรายการโดยไม่ต้องมีความรู้ทางด้านบัญชีเลย
ในบริการรับทำบัญชี สำหรับกิจการที่ยังไม่มีผังบัญชีที่ชัดเจน ณ ตอนรับทำบัญชี ทางสำนักงานจะช่วยกำหนดผังบัญชีให้ละเอียดครบถ้วนเพื่อการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารกิจการ หรือถ้าทางกิจการที่รับทำบัญชี มีผังบัญชีที่ละเอียดอยู่แล้วทางสำนักงานจะบันทึกบัญชีในการรับทำบัญชีตามผังบัญชีเดิมที่มี
โปรแกรมบัญชี Express – การวางผังบัญชี : ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทำบัญชีสะดวกง่ายต่อการพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสามารถทำคำอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น – เป็นขั้นตอนหนึ่งในการวางระบบบัญชี : การออกแบบและกำหนดระบบของบัญชี
ผังบัญชี คือ การแสดงจำแนกของบัญชีในและละบัญชีออกเป็น หมวดหมู่ โดยนิยมใช้ตัวเลขเป็นตัวกำกับของบัญชีหรือตัวอักษร การจำแนกแล้วแต่กิจการจะดำเนินในการจัดหมวดหมู่ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ
กิจการขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก การจำแนกบัญชีออกเป็นหมวดหมู่ ออกเป็นประเภทนั้นมีความสำคัญ นอกจากเพื่อรองรับการขยายตัวของกิจการ และยังสะดวกในการบันทึกบัญชีโดยเฉพาะในงบทดลองหรือว่าบัญชีอื่นๆ ให้ง่ายและป้องกันความสับสน และยังมีผลทำให้ระบบบัญชีมีความเป็นระเบียบร้อยด้วย โดยเฉพาะในกิจการที่มีรายการค้ามาก หลายชนิด หลายประเภทที่มีความซับซ้อน จะทำให้หาบัญชีที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ในปัจจุบันการจัดทำบัญชีในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการใช้ผังบัญชีที่ดีจะช่วยให้การรับจัดทำบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้นมาก
รหัสบัญชี – สำหรับหลักในการกำหนดรหัสบัญชีนั้นมักนิยมตั้งเลขที่บัญชีนั้น ใช้ตัวเลข 2 – 3 หลัก แล้วแต่ขนาดของกิจการ และสามารถที่จะใช้เครื่องหมายหรือว่าตัวอักษรในการใช้เป็นรหัสหรือว่าเลขที่บัญชีได้ โดยให้หลักที่หนึ่งจำแนกเป็นหมดหมู่ใหญ่ แล้วใช้หลักที่ 2 จำแนกหมวดหมู่ย่อยลงมา หากไม่พออาจจะใช้หลักที่ 3 ในการจำแนกออกไปอีก ซึ่งในหลักสุดท้ายจะเป็นของบัญชีนั้นๆ ส่วนใหญ่จะแบ่งหมวดหมู่ตามสมการบัญชี เช่น
ตามตัวอย่างการ โปรแกรมบัญชี Express – การวางผังบัญชี เพื่อการกำหนดเลขที่ผังบัญชีตามด้านล่างนี้จะแบ่งผังบัญชีดังนี้
สินทรัพย์ เริ่มต้นด้วยหมายเลข 1
หนี้สิน เริ่มต้นด้วยหมายเลข 2
ส่วนของเจ้าของเจ้าของ เริ่มต้นด้วยหมายเลข 3
รายได้ เริ่มต้นด้วยหมายเลข 4
ค่าใช้จ่ายใช้ เริ่มต้นด้วยหมายเลข 5
การตั้งชื่อรหัสบัญชี ควรจะต้องนิยามความหมายให้สอดคล้องกับรายการที่ต้องบันทึก และควรแยกความแตกต่างให้ชัดเจนว่าเป็นรายการฝั่งสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ หรือ ค่าใช่จ่าย เพื่อประโยชน์ในการบันทึกบัญชีดังนี้
1. การบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นเพราะความชัดเจนในการนิยายชื่อบัญชี
2. การผูกผังบัญชีกับรายการค้าต่างเป็นไปได้อย่างละเอียด ครบถ้วน ถูกต้อง
3. ผังบัญชีที่ละเอียดทำให้ผู้บริหารมองตัวเลขเพื่อประเมินสถานะของกิจการได้ง่าย
4. ผังบัญชีที่ละเอียดลดค่าใช้จ่ายในการเขียนรายงาน หรือ ลดเวลาในการจัดทำรายงานเพิ่มเติมได้
ตัวอย่างการนิยามชื่อบัญชีให้ชัดเจน เช่น
บัญชีเงินฝากธนาคาร ควรจะกำหนด ชื่อย่อ BBL KTB KBAK + เลขที่บัญชี เพื่อความชัดเจนมากขึ้นในกรณีมีหลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน
เงินกู้ยืมกรรมการ ควรระบุให้ชัดเจน ว่าเป็น ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรการ
ภาษีสรรพากร ควรระบุให้ชัดเจน ว่าเป็น ลูกหนี้กรมสรรพากร (ขอคืนภาษี) หรือ เจ้าหนี้กรมสรรพากร (นำส่งภาษี)
ภาษีประจำเดือน ควรระบุให้ชัดเจน ว่าเป็น ภาษีซื้อ, ภาษีขาย, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด 1, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด 2, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด 3, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด 53, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภงด 50) ,ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภงด 50) ปี 256X (ปีก่อน), ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด 51
ลูกหนี้ แยกเป็น ขายในประเทศ ขายต่างประเทศ ลูกหนี้บริการ ลูกหนี้อื่น
ค่าใช้จ่ายสวัสดิการพนักงาน เช่น เงินเดือนพนักงานประจำ เงินเดือนพนักงานโรงงาน เงินเดือนพนักงานชั่วคราว เงินค่าล่วงเวลาพนักงานประจำ เงินค่าล่วงเวลาโรงงาน ค่าอบรมฝ่ายการตลาด ค่าอบรมฝ่ายบัญชี
สำหรับการวางผังบัญชี การตั้งชื่อบัญชีจากโปรแกรมบัญชี การกำหนดรายการย่อยต่างๆ จะทำการบันทึกบัญชีแยกแผนก แยกโกดัง แยกโรงงาน แยกคลังสินค้ากันได้ ทำให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นด้วยความละเอียดมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ในบริการของสำนักงานในการรับทำบัญชี จะต้องจัดทำภงด 50 และภงด 51 ให้กับทางลูกค้าของสำนักงาน ดังนั้น ในการแนะนำชื่อบัญชีบางอย่างควรสอดคล้องกับชื่อประเภทรายการในภงด 50 ดังนี้
รายการที่8 รายจ่ายในการขายและบริหาร
(ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ตั้งบัญชีคุมไว้ก่อนเมื่อมีการจ่ายเงินจากค่าใช้จ่ายประเภทนี้จึงมาตั้งบัญชีย่อยในผังบัญชี)
1. รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน (บัญชีคุม)
เงินเดือนพนักงานประจำ – สำนักงาน
เงินเดือนพนักงานประจำ – ขายและการตลาด
เงินล่วงเวลา
2. ค่าตอบแทนกรรมการ
ค่าตอบแทนการเข้าประชุม
ค่าตอบแทนรายไตรมาส
3. ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์
4. ค่าพาหนะ รายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก
5. ค่าระวาง ค่าขนส่ง
6. ค่าเช่า
7. ค่าซ่อมแซม รายจ่ายที่มีลักษณะ เพื่อทำให้ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิม และไม่เป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็น การลงทุน
8. ค่ารับรอง
9. ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าส่งเสริมการขาย
10. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ (รวมรายได้ส่วนท้องถิ่น)
11. ค่าภาษีอากรอื่นๆ
12. ต้นทุนทางการเงิน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จะถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็น การลงทุน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ใน สภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือ รายจ่ายในลักษณะเป็นการลงทุน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ ให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้
13. ค่าทำบัญชี
14. ค่าสอบบัญชี
15. รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
16. รายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ
17. รายจ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสถานศึกษา
18. รายจ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์
19. รายจ่ายเพื่อพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
20. รายจ่ายในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อปท.
21. รายจ่ายเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯ
22. รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานศึกษา
23. รายจ่ายบริจาคให้แก่องค์กรกีฬา
24.รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะฯ
25. รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
26. ค่าธรรมเนียมในการให้คำแนะนำและปรึกษา
27. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
28. หนี้สูญ
29. ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
30. รายจ่ายอื่นที่นอกเหนือจาก 1. ถึง 29
1100-00 สินทรัพย์หมุนเวียน
1110-00 เงินสดและเงินฝากธนาคาร
1111-00 เงินสด
1111-50 เงินสดย่อย
1112-00 เงินฝากกระแสรายวัน
1112-01 เงินฝากกระแสรายวัน 999-9-99999
1112-02 เงินฝากกระแสรายวัน 999-9-99999
1112-03 เงินฝากกระแสรายวัน 123-456-789
1113-00 เงินฝากออมทรัพย์
1113-01 เงินฝากออมทรัพย์ 999-9-99999-1
1113-02 เงินฝากออมทรัพย์ 999-9-99999-2
1113-03 เงินฝากออมทรัพย์ 999-9-99999-3
1114-00 เงินฝากประจำ
1114-01 เงินฝากประจำ 999-9-99999-1
1114-02 เงินฝากประจำ 999-9-99999-2
1114-03 เงินฝากประจำ 999-9-99999-3
1120-00 เงินลงทุนระยะสั้น
1130-00 ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ
1130-01 ลูกหนี้การค้า
1130-02 เช็ครับลงวันที่ล่วงหน้า
1130-03 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
1130-04 ลูกหนี้อื่น ๆ
1140-00 สินค้าคงเหลือ
1140-01 วัตถุดิบคงเหลือ
1140-02 สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
1140-03 งานระหว่างทำ
1150-00 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ
1151-00 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
1151-01 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า-ค่าสินค
1151-02 ภาษีนิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า
1151-03 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า-ค่าเช่า
1151-04 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า-อื่น ๆ
1152-00 เงินทดลองจ่ายพนักงาน
1153-00 รายได้ค้างรับ
1153-01 ดอกเบี้ยค้างรับ
1153-02 รายได้ค้างรับอื่น
1154-00 ภาษีซื้อ
1155-00 ภาษีซื้อ-ยังไม่ถึงกำหนด
1156-00 ลูกหนี้-กรมสรรพากร
1200-00 ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูก
1210-00 ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม-นาย…
1300-00 เงินลงทุนในบริษัทในเครือ
1400-00 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ
1410-00 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
1410-01 ที่ดิน
1410-02 อาคาร
1410-03 อุปกรณ์สำนักงาน
1410-04 เครื่องตกแต่งสำนักงาน
1410-05 ยานพาหนะ
1420-00 ค่าเสื่อมราคาสะสม
1420-02 ค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร
1420-03 ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงา
1420-04 ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องตกแต่งส
1420-05 ค่าเสื่อมราคาสะสม-ยานพาหนะ
1500-00 สินทรัพย์อื่น ๆ
1500-01 กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย-สินค้าและอา
1500-02 กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย-ยานพาหนะ
1500-03 กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุพนักงาน
1500-04 พันธบัตรโทรศัพท์
2000-00 | หนี้สิน | หนี้ส | 1 | คุม | ||
2100-00 | หนี้สินหมุนเวียน | หนี้ส | 2 | คุม | 2000-00 | |
2120-00 | เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย | หนี้ส | 3 | คุม | 2100-00 | |
2120-01 | เจ้าหนี้การค้า | หนี้ส | 4 | — | 2120-00 | |
2120-02 | เช็คจ่ายล่วงหน้า | หนี้ส | 4 | — | 2120-00 | |
2130-00 | หนี้สินหมุนเวียนอื่น | หนี้ส | 3 | คุม | 2100-00 | |
2131-00 | ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย | หนี้ส | 4 | คุม | 2130-00 | |
2131-01 | เงินเดือนค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-02 | เงินโบนัสค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-03 | ค่านายหน้าค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-04 | เงินประกันสังคมรอนำส่ง | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-05 | ค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-06 | ค่าไฟฟ้าค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-07 | ค่าน้ำประปาค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-08 | ดอกเบี้ยเงินกู้ค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2131-09 | ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย-อื่น ๆ | หนี้ส | 5 | — | 2131-00 | |
2132-00 | ภาษีค้างจ่าย | หนี้ส | 4 | คุม | 2130-00 | |
2132-01 | ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย ภงด.1 | หนี้ส | 5 | — | 2132-00 | |
2132-02 | ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย ภงด.3/53 | หนี้ส | 5 | — | 2132-00 | |
2132-03 | ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย | หนี้ส | 5 | — | 2132-00 | |
2133-00 | รายได้รับล่วงหน้า | หนี้ส | 4 | คุม | 2130-00 | |
2133-01 | รายได้รับล่วงหน้า-ค่าสินค้า | หนี้ส | 5 | — | 2133-00 | |
2133-02 | รายได้รับล่วงหน้า-ค่านายหน้า | หนี้ส | 5 | — | 2133-00 | |
2134-00 | เงินมัดจำรับและเงินค้ำประกัน | หนี้ส | 4 | — | 2130-00 | |
2135-00 | ภาษีขาย | หนี้ส | 4 | — | 2130-00 | |
2136-00 | ภาษีขาย-รอเรียกเก็บ | หนี้ส | 4 | — | 2130-00 | |
2137-00 | เจ้าหนี้กรมสรรพากร | หนี้ส | 4 | — | 2130-00 | |
2138-00 | เงินกู้ยืมจากกรรมการ | หนี้ส | 4 | — | 2130-00 | |
2200-00 | เงินกู้ยืมระยะยาว | หนี้ส | 2 | คุม | 2000-00 | |
2210-00 | เงินกู้ยืมธนาคารระยะยาว | หนี้ส | 3 | — | 2200-00 | |
2300-00 | หนี้สินอื่น ๆ | หนี้ส | 2 | — | 2000-00 |
3000-00 | ส่วนของผู้ถือหุ้น | ทุน | 1 | คุม | ||
3100-00 | ทุน | ทุน | 2 | — | 3000-00 | |
3200-00 | กำไรสะสม | ทุน | 2 | — | 3000-00 | |
3300-00 | กำไร(ขาดทุน) | ทุน | 2 | — | 3000-00 |
4000-00 | รายได้ | รายได | 1 | คุม | ||
4100-00 | รายได้จากการขายสินค้า-สุทธิ | รายได | 2 | คุม | 4000-00 | |
4100-01 | รายได้จากการขาย | รายได | 3 | — | 4100-00 | |
4100-02 | รายได้จากการให้บริการ | รายได | 3 | — | 4100-00 | |
4100-03 | รับคืนสินค้า | รายได | 3 | — | 4100-00 | |
4100-04 | ส่วนลดจ่าย | รายได | 3 | — | 4100-00 | |
4200-00 | รายได้อื่น ๆ | รายได | 2 | คุม | 4000-00 | |
4200-01 | ดอกเบี้ยรับ | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-02 | กำไร(ขาดทุน)จากการจำหน่ายทรัพย์สิน | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-03 | ส่วนลดเงินสดรับ | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-04 | กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-05 | รายได้จากการขายเศษวัสดุ | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-06 | รายได้ให้เช่าที่จอดรถ | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-07 | รายได้บริการให้คำปรึกษา | รายได | 3 | — | 4200-00 | |
4200-08 | รายได้อื่น ๆ | รายได | 3 | — | 4200-00 |
5000-00 | ค่าใช้จ่าย | คชจ. | 1 | คุม | ||
5100-00 | ต้นทุนขายสุทธิ | คชจ. | 2 | คุม | 5000-00 | |
5110-00 | ต้นทุนสินค้าเพื่อขาย | คชจ. | 3 | — | 5100-00 | |
5130-00 | ซื้อสุทธิ | คชจ. | 3 | คุม | 5100-00 | |
5130-01 | ซื้อ | คชจ. | 4 | — | 5130-00 | |
5130-02 | ส่วนลดรับ | คชจ. | 4 | — | 5130-00 | |
5130-03 | ส่งคืนสินค้า | คชจ. | 4 | — | 5130-00 | |
5200-00 | ค่าใช้จ่ายในการขาย | คชจ. | 2 | คุม | 5000-00 | |
5200-01 | ค่านายหน้า | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-02 | ค่าโฆษณา | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-03 | ค่าสินค้าตัวอย่าง | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-04 | ค่าส่งเสริมการขาย | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-05 | ค่าขนส่ง | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-06 | ค่ารับรอง | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-07 | ค่าประกันภัยสินค้า | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-08 | คชจ.ในการขาย-ค่าติดต่อสื่อสาร | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-09 | ค่าใช้จ่ายเดินทางและยานพาหนะ | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5200-10 | ค่าวิจัยตลาด | คชจ. | 3 | — | 5200-00 | |
5300-00 | ค่าใช้จ่ายในการบริหาร | คชจ. | 2 | คุม | 5000-00 | |
5310-00 | ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน-เงินเดือนและสวัสดิการ | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5310-01 | เงินเดือน | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-02 | ค่าล่วงเวลา | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-03 | ค่าเบี้ยเลี้ยง | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-04 | โบนัส | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-05 | เงินเพิ่มพิเศษ | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-07 | ค่าที่พักอาศัย | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-08 | คอมมิชชั่น | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-09 | เงินสมทบกองทุนประกันสังคม | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-10 | เงินสมทบกองทุนทดแทน | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-11 | ค่ารักษาพยาบาล | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-12 | ค่าอบรมสัมนา | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-13 | ค่าแบบฟอร์มพนักงาน | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-14 | ค่าเบี้ยประกันชีวิตและอุบัติเหตุ | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-15 | ค่าอาหารและเครื่องดื่ม | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-16 | ค่าจัดเลี้ยงและสันทนาการ | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5310-17 | ค่าสวัสดิการอื่น ๆ | คชจ. | 4 | — | 5310-00 | |
5320-00 | ค่าใช้จ่ายสำนักงาน | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5320-01 | ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5320-02 | ค่าซ่อมแซม | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5320-03 | วัสดุสิ้นเปลือง | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5320-04 | ค่าวารสารและสมาชิก | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5320-05 | ค่าเช่าสำนักงาน | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5320-06 | ค่ายามรักษาความปลอดภัย | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5320-07 | ค่ารักษาความสะอาด | คชจ. | 4 | — | 5320-00 | |
5330-00 | ค่าสาธารณูปโภคและสื่อสาร | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5330-01 | ค่าโทรศัพท์ | คชจ. | 4 | — | 5330-00 | |
5330-02 | ค่าไฟฟ้า | คชจ. | 4 | — | 5330-00 | |
5330-03 | ค่าน้ำประปา | คชจ. | 4 | — | 5330-00 | |
5330-04 | ค่าไปรษณีย์ | คชจ. | 4 | — | 5330-00 | |
5340-00 | ค่าเสื่อมราคา | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5340-02 | ค่าเสื่อมราคา-อาคาร | คชจ. | 4 | — | 5340-00 | |
5340-03 | ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน | คชจ. | 4 | — | 5340-00 | |
5340-04 | ค่าเสื่อมราคา-เครื่องตกแต่งสำนักงาน | คชจ. | 4 | — | 5340-00 | |
5340-05 | ค่าเสื่อมราคา-ยานพาหนะ | คชจ. | 4 | — | 5340-00 | |
5350-00 | ค่าเบี้ยประกันภัย | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5350-01 | ค่าเบี้ยประกัน-อาคาร | คชจ. | 4 | — | 5350-00 | |
5350-02 | ค่าเบี้ยประกัน-อุปกรณ์ | คชจ. | 4 | — | 5350-00 | |
5350-03 | ค่าเบี้ยประกัน-เครื่องตกแต่ง | คชจ. | 4 | — | 5350-00 | |
5350-04 | ค่าเบี้ยประกัน-ยานพาหนะ | คชจ. | 4 | — | 5350-00 | |
5360-00 | ค่าภาษีและค่าธรรมเนียม | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5360-01 | ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน | คชจ. | 4 | — | 5360-00 | |
5360-02 | ค่าภาษียานพาหนะ | คชจ. | 4 | — | 5360-00 | |
5360-03 | ภาษีป้าย | คชจ. | 4 | — | 5360-00 | |
5360-04 | ค่าธรรมเนียมธนาคาร | คชจ. | 4 | — | 5360-00 | |
5360-05 | ค่าตรวจสอบบัญชีและปรึกษากฏหมาย | คชจ. | 4 | — | 5360-00 | |
5360-06 | ค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกัน | คชจ. | 4 | — | 5360-00 | |
5370-00 | ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5370-01 | ดอกเบี้ยจ่าย | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5370-02 | หนี้สงสัยจะสูญ | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5370-03 | ค่ารับรอง | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5370-04 | ค่าบริจาคการกุศล | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5370-05 | ส่วนลดจากการขายลดเช็ค | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5370-06 | ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5370-07 | กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน | คชจ. | 4 | — | 5370-00 | |
5380-00 | หนี้สูญ | คชจ. | 3 | — | 5300-00 | |
5390-00 | ค่าใช้จ่ายต้องห้าม | คชจ. | 3 | คุม | 5300-00 | |
5390-01 | ภาษีซื้อไม่ขอคืน | คชจ. | 4 | — | 5390-00 | |
5390-02 | ภาษีซื้อขอคืนไม่ได้ | คชจ. | 4 | — | 5390-00 | |
5390-03 | เบี้ยปรับเงินเพิ่ม | คชจ. | 4 | — | 5390-00 |
1 การบัญทึกยอดลูกหนี้ยกมา เข้าเมนู การเงิน (3) รับเงิน (1) และ บันทึกยอดลูกหนี้ยกมา (6) กด alt +3+1+6
การบันทึกยอดเจ้าหนี้ยกมา เข้าเมนูการเงิน (3) จ่ายเงิน (2) และ บันทึกยอดเจ้าหนี้ยกมา (6) กด alt +3+2+6
2. การเรียกดูรายกงานยอดยกมา จาก รายงาน aging ลูกหนี้ / เจ้าหนี้
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้