สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
บิลซื้อ คือ
บิลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการต้องจ่ายเงินออกไป เรียกว่า ใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน เช่น ค่าซื้อสินค้า ค่าจ้าง ค่าซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน เงินเดือน จ่ายค่าตอบแทนกรรมการ เงินปันผล ฯลฯ … เช่น ค่าบริการ ค่าขายสินค้า ค่าจ้างงาน ฯลฯ
ตาม พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดไว้ว่า
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
— บริษัท ห้าง กระทำการโดยกรรมการผู้กระทำการแทน ดังนั้น กรรมการของห้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
บิลซื้อ คือ บิลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการต้องจ่ายเงินออกไป เรียกว่า ใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน เช่น ค่าซื้อสินค้า ค่าจ้าง ค่าซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน เงินเดือน จ่ายค่าตอบแทนกรรมการ เงินปันผล ฯลฯ … เช่น ค่าบริการ ค่าขายสินค้า ค่าจ้างงาน ฯลฯ
บิลซื้อต้องเป็นใบกำกับภาษีหรือไม่
บิลซื้อไม่จำเป็นต้องเป็นใบกำกับภาษี เพราะผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีคือ
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยค านวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
2-6 ไม่ค่อยพบใน sme
7. ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้แจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับอนุมัติให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยค านวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี (มาตรา 82/3)
เช็คให้ชัวร์ก่อนใช้
https://www.rd.go.th/publish/313.0.html
ตรวจสอบรายชื่่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
บิลซื้อที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี ต้องมีลักษณะดังนี้
1. เกี่ยวข้องกับกิจการ
2. เกิดขึ้นจริง ได้รับสินค้าบริการจริง จ่ายเงินจริง
3. พิสูจน์ผู้รับเงินได้ว่าคือใคร
บิลซื้อ/ใบกำกับภาษีที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เป็นอย่างไร
ข้อมูลตามที่สรรพากรกำหนด
1. ห้ามบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน กล่าวคือ ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพแต่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1
----- หากเป็นใบกำกับภาษี บิลซื้อที่ออกโดยผู้ประกอบการที่ไม่จดทะเบียนนำมาเป็นใบกำกับภาษีซื้อไม่ได้ แต่ นำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ --
2. ห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมิได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการจริง กล่าวคือ
1. การออกใบกำกับภาษีตามกฎหมายนั้น นอกจากผู้ออกจะต้องมีฐานะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนแล้ว ยังต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า
2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้น จึงจะถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จะต้องออกใบกำกับภาษีนั้นได้ ดังนั้น
3. แม้จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหากมิได้ขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นจริงแล้วออกใบก ากับภาษีแล้ว
อาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา นอกจากนี้ยังมีผลไปถึงผู้ประกอบการซึ่งน าใบก ากับภาษีดังกล่าวไปใช้ในการเครดิตภาษีด้วย
---- บิลซื้อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ารายการตามบิลเกิดจริง เช่นได้รับสินค้าจริง จ่ายเงินตามหน้าบิลจริง ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
ใบรับรองแทนใบเสร้จรับเงิน
ใช้กรณีที่จ่ายค่าใช้จ่าย ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขาย ต้องให้พนักงานของกิจการที่ไปซื้อสินค้าหรือบริการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงิน
* กรณีซื้อของจากตลาดสดแล้วไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงินจากแม่ค้า ผู้ประกอบการสามารถใช้เอกสาร "ใบรับรองแทนใบเสร็จ" โดยให้พนักงานที่ไปซื้อสินค้าเขียนรายการสินค้าที่ซื้อ และให้ผู้ซื้อเซ็นชื่อรับรอง
สำหรับเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จสามารถที่จะออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับธุรกิจของแต่ละคนได้
เอกสารแนบอื่น
1. รูปถ่ายสินค้า
2. การรับสินค้าเข้าคลัง สต๊อคการ์ด
3. ใบเบิกขายสินค้าที่ซื้อมา
.
ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย ใบลดหนี้ กรณีสินค้าชำรุด สำนักงานบัญชีกรุงเทพ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้