Skip to content
ตรวจสอบบัญชี รับรองงบการเงิน รับทำบัญชี
ตรวจสอบบัญชี

บริษัทจำกัด

จัดประชุม เพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว เสนอภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี — 30/04/2567

ประกาศ นสพ — 22/4/2567

จัดส่งรายชื่อผู้ถือหุ้น  — 14/5/2567

ส่งงบการเงินกรมพัฒนาธุรกิจการค้า –30/5/2567

ภงด 50 กรมสรรพากร – 31/5/2567

บริษัท บี.อี. แอคเค้าติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด รับทำบัญชี สอบบัญชี

บริการ ตรวจสอบบัญชี โดย CPA / TA

“มาตรา 1197 กำหนดให้บริษัทต้องจัดให้มีการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคนตรวจสอบงบดุล แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ในงบดุลและให้ส่งสำเนางบดุลที่ตรวจสอบแล้วไปให้ผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน

งบการเงินที่สามารถนำส่งต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการได้นั้น  ต่อเมื่องบการเงินของกิจการต้องผ่านการรับรองโดย “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต”  เพราะว่าในการนำส่งงบการเงินให้ต่อ “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” และ “กรมสรรพากร” จะต้องมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตรวจสอบก่อนว่างบการเงินของกิจการฃ“ถูกต้องตามสมควร ในสาระสำคัญ”  โดยจะมีหน้ารายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือ รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พร้อมกับลงลายมือชื่อว่า และแสดงความเห็นต่องบการเงินแบบไม่มีเงื่อนไข

รับตรวจสอบบัญชี - ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบของ CPA/TA

ตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยทีมงานผู้สอบบัญชี รับอนุญาตที่มีประสบการณ์ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชีไว้อย่างถูกต้องกับสภาวิชาชีพบัญชี โดยมีการวางหลักประกันตามข้อกำหนดของสภาวิชาชีพอย่างถูกต้องครบถ้วน

รับตรวจสอบบัญชี - รายงานการตรวจสอบอยู่ในรูปแบบไฟล์พร้อมนำส่ง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร

BEE – Accountant จัดทำไฟล์ในรูปแบบ excel XBRL พร้อมเอกสารแนบ เพื่อดำเนินการส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้กิจการจนเรียบร้อย (E-Filing) และจัดทำไฟล์  PND50 จากกระบบของกรมสรรพากรเพื่อนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีีอีกด้วย

สำนักงานจะ ดูแลประสานงานระหว่างกิจการในการนำส่งงบการเงินให้ CPA/TA ตรวจสอบ ให้ถูกต้องทันเวลา พร้อมนำข้อเสนอแนะนำมาทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้งบการเงินของกิจการสะท้อนความเป็นจริง ถูกต้อง เชื่อถือได้ สามารถนำไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันเวลา

รับตรวจสอบบัญชี - ทีมงานตรวจสอบคุณภาพ มีประสบการณ์ในการตรวจสอบบัญชี

คัดสรร ที่มีประสบการณ์การทำงานที่ครบถ้วนในทุกธุรกิจเพื่อตรวจสอบงบการเงินของกิจการ เพื่อให้ได้ความมั่นใจว่า งบการเงินถูกต้อง ครบถ้วน ในการยื่นนำส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

รับตรวจสอบบัญชี - โปรแกรมแและแผนงานการตรวจสอบตามมาตราฐานการสอบัญชี

นอกจากนี้โปรแกรมการตรวจสอบที่ทางทีม CPA นำมาใช้งานเพื่อให้งานตรวจสอบมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คำแนะนำในระบบบัญชี การควบคุมภายใน ความเสี่่ยงที่พบระหว่างการตรวจสอบให้กับกิจการได้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบบัญชี/การควบคุมภายในให้ดีขึ้นไป

งานรับตรวจสอบบัญชี - มั่นใจในการทำงานตรวจสอบบัญชี ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์

BEE – Accountant มั่นใจว่าการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบจัดทำบัญชี และ ทีมงาน CPA จะทำให้กิจการมีข้อมูลบัญชีที่ถูกต้อง ไม่เกิดภาระค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานต่างๆ ตามมาในภายหลังได้

อัตราค่าบริการรับตรวจสอบบัญชี งบประกอบกิจการ

การตรวจสอบงบกิจการที่ดำเนินการเริ่มต้นหรือมีรายการค้า รายได้ / ค่าใช้จ่าย ค่าบริการเริ่มต้นที่ 17,000 บาท เป็นต้นไป

อัตราค่าบริการตรวจสอบบัญชีขึ้นกับขนาดของกิจการ ความซับซ้อนของรายการค้า สินค้าคงคลัง ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีของกิจการ ตาม link https://eservice.fap.or.th/corporate_check/

อัตราค่าบริการรับตรวจสอบบัญชี

กิจการที่ไม่ได้ดำเนินกิจการ หรืองบเปล่า

งบไม่ดำเนินงานหรืองบเปล่า คือ งบที่กิจการยังไม่ได้ประกอบธุรกิจ หรือ ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อการรักษาสภาพธุรกิจ เช่นมีเพียงรายจ่ายค่าบริการทำบัญชี ค่าบริการตรวจสอบบัญชี  บัญชีทุน บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีเงินกู้ยืมกรรมการ

อัตราค่าบริการสอบบัญชี งบเปล่า เริ่มต้นที่ 12,500 บาท  

สำหรับกิจการที่ยังไม่ได้ดำเนินกิจการ
        ค่าบริการจัดทำบัญชีรายปี (รายการค้าไม่เกิน 10 รายการค้า) 
        ค่าบริการปิดงบการเงิน
        ค่าบริการตรวจสอบบัญชี
        ไฟล์นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า E – Filing
        กรอกแบบภงด 50 และลงชื่อเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ

        อัตราค่าบริการ 15000.00 บาท
(พร้อมไฟล์เพื่อนำส่ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ กรอก ภงด 50 เพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร)

ประเภทของผู้ตรวจสอบ - ความแตกต่างของ CPA / TA

ผู้สอบบัญชี คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชี รับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชี รวมถึงเอกสารทางการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพอีกประเภทหนี่งที่มีหน่วยงานกำกับดูแล แบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็น ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็น ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา กรมสรรพากร

ความแตกต่าง

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
   1. การขึ้นทะเบียน           ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544ฯ           ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547
   2. สิทธิในการปฏิบัติงาน

           สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)

 

           สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

 

   3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน

           ปฎิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

 

           ปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
           ปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
   4. การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

           จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

 

           จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
           จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

ความจำเป็นของกิจการกับงานบริการ ตรวจสอบบัญชี

1. พรบ.การบัญชีกำหนดให้ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับรองงบการเงินก่อนนำส่งกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

2. ประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินก่อนนำส่งกรมสรรพากร

3. แจ้งปัญหาและข้อแนะนำจากการตรวจสอบบัญชี ปรับปรุงให้กิจการมีระบบบัญชีที่ดีและสามารถบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง

4. การปรับปรุงระบบการควบคุมภายในให้รัดกุมและป้องกันข้อผิดพลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

ขึ้นตอนและวิธีการ ตรวจสอบบัญชี รวมถึงของเขตงานรับ ตรวจสอบบัญชี

  • รับตรวจสอบบัญชีและงบการเงิน
  • ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยใช้วิธีการทดสอบรายการบัญชี ระบบควบคุมภายในและการเปิดเผยข้อมูลงบการเงิน  เช่น วิธีการทดสอบรายการบัญชี ระบบควบคุมภายในและการเปิดเผยข้อมูลงบการเงิน พิจารณาความเหมาะสมในหลักการบัญชีที่กิจการใช้ รวมถึงประมาณการในรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ
  • ประเมินความเหมาะสมหลักการบัญชีที่กิจการใช้ รวมทั้งประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ
  • เสนอข้อสังเกตต่อผู้บริหาร เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการควบคุมภายในทางบัญชีที่สำคัญ ซึ่งได้พบในระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี
  • ทำการเสนอข้อคิดเห็นและข้อสังเกตที่พบเจอทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบัญชีให้ทางผู้บริหารได้ทราบ   เช่น   ความบกพร่องในการควบคุมภายใน, ความเหมาะสมของระบบบัญชีที่ใช้, เสนอแนะการจัดเก็บเอกสารที่เป็นระบบ, การทุจริตที่อาจเกิดขึ้น, สาระสำคัญต่าง ๆ ที่กระทบกับผลการดำเนินกิจการ ฯลฯ
  • แสดงความเห็นรับรองในรายงานการตรวจสอบบัญชีโดย CPA / TA
  • ให้บริการในเรื่องของการยื่นงบการเงินที่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

เอกสารเบื้องต้นที่สำหรับบริการรับตรวจสอบบัญชี

 

  • งบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ปีปัจจุบัน งบทดลองปีปัจจุบัน  รายงานตรวจสอบบัญชี และงบการเงินปีก่อน
  • บอจ. 5 (กรณีเป็นบริษัท) , หนังสือรับรองบริษัท หรือห้างฯ
  • หนังสือรับรองจากผู้บริหาร + หนังสือตอบรับงาน ตรวจสอบบัญชี
  • ภ.พ. 30 ปีปัจจุบัน, รายงานภาษีซื้อ-ขาย ธันวาคม – ปีปัจจุบัน
  • ภ.ง.ด.1 – ปีปัจจุบัน + ภ.ง.ด. 1ก
  • ภ.ง.ด. 3,53  ปีปัจจุบัน ( พร้อมใบต่อ ภ.ง.ด.ด้วย)
  • ภ.ง.ด. 50 ปีก่อน
  • ภ.ง.ด. 51 ปีปัจจุบัน
  • หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
  • การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • รายละเอียดภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย

ประโยชน์ของการตรวจสอบบัญชี

1.  เป็นการให้บริการสอบบัญชีรายไตรมาสและรายปีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้กับบริษัทจำกัดทั่วไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระต่องบการเงินว่างบการเงินที่จัดทำขึ้นแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญหรือไม่ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินทุกฝ่ายสามารถนำไปตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.  เสนอข้อสังเกตต่อผู้บริหาร เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการควบคุมภายในทางบัญชีที่สำคัญ และให้คำปรึกษาแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการจัดทำบัญชี

3. จัดทำงบการเงินซึ่งรวมหมายเหตุประกอบงบการเงิน และเอกสารประกอบการยื่น ต่อกระทรวงพาณิชย์และ กรมสรรพากร ได้แก่ สปช.3, สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) นำยื่นส่งกระทรวงพาณิชย์

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

Contact us

Post Views: 17,840

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า