สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็น เอกสารสำคัญในอีกรูปแบบ
ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าห
เพื่อความชัดเจน และ ไม่โต้แย้งกับหน่วยงานใดๆ ในการออก ใบกำกับภาษีอย่างย่อ กิจการที่จะประกอบการค้าปลีก ควรต้องมีการระบุในวัตถุประสงค์ของบริษัท พร้อมแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (วัตถุประสงค์ของบริษัท) และ แจ้งทางกรมสรรพากร (ตามแบบแจ้งการเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)
1. กิจการที่มีสิทธิออก ใบกำกับภาษีอย่างย่อ – ประเภท / ต้องออกใบกำกับอย่างย่อทุกครั้ง
2. กิจการที่มีสิทธิออก ใบกำกับภาษีอย่างย่อ – ประเภท / ไม่ต้องออกใบกำกับถ้าขายต่ำกว่า 1,000 บาท
3. การออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้ารายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งใน 1 วัน
4. รายงานภาษีขาย จากใบกำกับภาษีอย่างย่อในแต่ละวัน
5. ขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน (ภ.พ.30)
6. คำถาม – การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องขออนุมัติกรมสรรพากร ?
7. เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ต้องขออนุมัติ? + สรุปเงื่อนไขว่าต้องขออนุมัติหรือไม่
8. ลักษณะความแตกต่างของใบกำกับภาษีอย่างย่อและใบกำกับภาษีเต็มรูป
9. ประโยชน์ของกิจการ – ใบกำกับภาษีอย่างย่อ / ผู้ซื้อไม่ให้ข้อมูลเพื่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูป
10. ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ และใบกำกับภาษีเต็มรูป ปี 2561
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ กิจการที่มีสิทธิออก คือ กิจการทุกประเภทที่เข้าเงื่อนไขการขายปลีกดังนี้ กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) และ ฉบับที่ 154
เงื่อนไขการขาย/บริการปลีก คือ การประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก
กิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้
– การขายปลีก เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น การขายสินค้าของกิจการแผงลอยกิจการขายของชำ กิจการขายยา กิจการจำหน่ายน้ำมัน และกิจการห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะในการขายสินค้าที่เป็นไปตามลักษณะและหรือเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น
กิจการบริการปลีกต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้
– การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น การให้บริการของกิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการซ่อมแซมทุกชนิด กิจการโรงภาพยนต์ และกิจการสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น กิจการภัตตาคารได้แก่กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
การออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจการค้าปลีก / บริการรายย่อยตามประกาศฉบับ 32
กิจการที่มีลักษณะตามข้างต้น สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ บริษัทฯ ย่อมมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ตลอดไป ไม่ว่าบริษัทฯ จะมีขายได้ยอดเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องเป็นการขายให้ผู้ซื้อรายย่อยที่นำไปใช้เอง – และไม่ต้องขออนุญาตกรมสรรพการ และ ละต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้ผู้ซื้อ สินค้าหรือบริการทุกครั้ง หรือ ใบกำกับภาษีเต็มรูป
สำหรับกิจการที่ขายแบบ B2B แต่มีบางครั้งมีการขายปลีกให้ผู้ถือรายย่อยที่ทราบแน่ว่าซื้อไปใช้สอยเอง มิได้นำไปขายต่อ กิจการสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ (ตามข้อหารือด้านล่างหน้านี้)
(ไม่สับสบกับ รายได้ 300,000 ต่อเดือน ตามข้อมูลด้านล่าง)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154) ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขของ
การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน
1. การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
(2) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(3) การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือการกระทำใดๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้า แข่งขัน
(4) การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
(5) การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
(6) การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
(7) การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า คำว่า “กิจการขนส่งมวลชน” หมายความว่า การให้บริการรับขนส่งสาธารณชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชน”
สำหรับกิจการตามเงื่อนไขนี้ กรมสรรพากรอนุญาตเพิ่มเติมดังนี้
การออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจการค้าปลีก / บริการรายย่อยตามประกาศฉบับ 154
ถ้าไม่เคยมีเดือนไหนขาย VAT เกินกว่า 300,000 –
ไม่จำต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ
ที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท (ถ้าเกินต้องออกให้ผู้ซื้อนะคะ)
เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี
เพิ่มเติมกรณีกิจการบริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน)
ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท กรณีปั๊มน้ำมันเป็นสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับอนุมัติเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก
ผู้ประกอบการค้าปลีก บริการปลีก หรือ ขายสินค้าให้บริการรายย่อยสามารถออกใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวใน 1 วันทำการได้
โดยให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวัน
ที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีดังกล่าว
การลงรายงานขายไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และรายการสินค้าหรือบริการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ข้อ 7
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 มาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับ ซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 มาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปนั้น และให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อหรือใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการและรายการสินค้าหรือบริการ และต้องแยกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าหรือบริการ
(ข) กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ ของใบกำกับภาษี ว่า “ เล่มที่… เลขที่…ถึงเลขที่…”
(ค) กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อโดยไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่องเลขที่/เล่มที่ ของใบกำกับภาษี ว่า “ เลขที่…ถึงเลขที่…”
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นแบบเสียภาษี (ภ.พ.30) เป็นรายสถานประกอบการ
กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง
หรือ
ผู้ประกอบการสามารถขออนุมัติยื่นแบบและชำระภาษีรวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ หรือสาขาใดสาขาหนึ่งได้
การจัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ
ไม่ว่าจะ ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีรวมกันหรือไม่
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อจะต้องยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นความสะดวกของผู้ประกอบการฯ ที่ไม่ต้องมีภาระในการเขียน หรือพิมพ์ใบกำกับภาษี โดยเฉพาะกิจการค้าปลีกซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการแก่บุคคลจำนวนมาก และยังง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ด้วย
ขั้นตอนการขอหมายเลขเครื่องบันทึกการขายกับกรมสรรพากร เพื่อออกใบเสร็จรับเงินอย่างย่อ
เอกสารแนบ (1) แบบคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.06)
เอกสารแนบ (2) หนังสืออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามข้อ 9 (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536)
เอกสารแนบ (3) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ (ภ.พ.06.1)
ถ้าเข้าเงื่อนไข ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) – ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ + ไม่ต้องขออนุญาติ
ถ้าเข้าเงื่อนไข ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 154) – ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ + ไม่ต้องขออนุญาติ + ถ้าขายต่ำ 1,000 ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีก็ได้
เครื่องบันทึกเก็บเงิน – ต้องขออนุมัติจากกรมสรรพากรทุกครั้ง
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ – ถ้าไม่ได้ใช้เครื่องเก็บเงินสด สามารถพิมพ์จาก excel ใบแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงินได้
การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ กฎหมายไม่ได้เคร่งครัดเท่ากับการออกใบกำกับภาษีเต็มรูป เนื่องจากไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เครดิตภาษีขายได้ หรือ เรียกได้ว่าภาษีซื้อจาก ใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นภาษีซื้อต้องห้าม
กิจการไม่จำต้องออกใบกำกับภาษี ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับ การขายที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษี
** เพิ่มเติมกรณีผู้ซื้อไม่ให้ ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษี ให้กิจการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้แทน และ
ในกรณีถ้ากิจการไม่เข้าเงื่อนไขให้ออกใบกำกับอย่างย่อได้ ให้กิจการติดประกาศทุกช่องทาง เช่น หน้าร้านกิจการ โต๊ะแคชเชียร์จ่ายเงิน ประกาศผ่านเวปไซค์ เพื่อแสดงว่ากิจการได้กระทำการอย่างเต็มความสามารถ เต็มที่เพื่อขอข้อมูลลูกค้าแล้ว แต่ไม่ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ถือว่าได้ทำเต็มที่แล้ว และเมื่อออกใบกำกับให้ใส่ข้อมูลที่มี และระบุว่าผู้ซื้อไม่ประสงค์จะขอรับใบกำกับภาษี #ลูกค้าไม่ให้ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษี
บริษัท ก. ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ หากผู้ใช้บริการต้องการเครดิตภาษีซื้อ จะนำต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อมาขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งบริษัท ก. ต้องจัดเก็บสำเนาใบกำกับภาษีเป็นจำนวน จึงได้นำวิธีการจัดเก็บเอกสารหลักฐานไว้ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.121/2545ฯ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 บริษัท ก. จึงขอทราบว่า
1. เมื่อได้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บเอกสารหลักฐานแล้ว บริษัท ก. จะต้องจัดเก็บสำเนาใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อต่อไปอีกหรือไม่
2. เมื่อผู้รับบริการนำต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน /ใบกำกับภาษีอย่างย่อมาขอใบเสร็จรับเงิน /ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป บริษัท ก. จะต้องยกเลิกต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ แล้วนำต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ยกเลิกดังกล่าวมาแนบและเก็บรักษาไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต่อไปอีกหรือไม่
1. กรณีบริษัท ก. ได้จัดทำเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากรที่เป็นต้นฉบับในรูปแบบกระดาษและจัดเก็บสำเนาไว้ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ย่อมกระทำได้ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ต้องเป็นไปตามทางปฏิบัติที่กรมสรรพากรได้ วางไว้ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 5 และข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว
2. กรณีผู้รับบริการได้รับใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประสงค์จะได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท ก. ต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่โดยนำใบกำกับภาษีฉบับเดิมมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือ “ขีดฆ่า” แล้วเก็บรวบรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่และจะต้องลงวันเดือน ปี ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม พร้อมทั้งหมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ …เล่มที่ …” นอกจากนั้นให้บริษัท ก. หมายเหตุ การยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย
บริษัทฯ มีหนังสือหารือสำนักงานสรรพากรจังหวัด เรื่อง การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทน
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้
1. บริษัทฯ มีนโยบายใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งเมื่อลูกค้า ต้องการเปลี่ยนจากใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป บริษัทฯ จะออก ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้โดยใช้โปรแกรมในคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนในการขอออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป มีดังนี้
– ลูกค้านำใบกำกับภาษีอย่างย่อคืนบริษัทฯ
– พนักงานตรวจสอบว่าเป็นใบกำกับภาษีของบริษัทฯ หรือไม่ และวันที่ใน ใบกำกับภาษีเป็น วันที่ปัจจุบันหรือไม่
– พนักงานเรียกข้อมูล โดยเรียกเลขที่ตามใบกำกับภาษีอย่างย่อเดิมที่ลูกค้านำมาคืน และขอ ชื่อที่อยู่ของลูกค้า เพื่อบันทึกข้อมูลชื่อที่อยู่และพิมพ์ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้ลูกค้าโดยเลขที่ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะตรงกับเลขที่ใบกำกับภาษีอย่างย่อในรายงานภาษีขายที่ออกเมื่อสิ้นวันจะมีเลขที่ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ออกใหม่ให้ลูกค้าและในช่องหมายเหตุจะมีคำว่า “ออกแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อ เลขที่ …”
บริษัทฯ ขอทราบว่า กรณีออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปมีเลขที่ตรงกับใบกำกับภาษีอย่างย่อซึ่ง ทำให้เลขที่ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไม่เรียงตามลำดับถูกต้องหรือไม่ อย่างไร
2. สำนักงานสรรพากรจังหวัดเห็นว่า การออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ ให้บริการทุกครั้ง ต้องออกให้ในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับการเปลี่ยนใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูต้องกระทันทีใน ขณะที่ออกใบกำกับภาษีและยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อฉบับที่ออกไปแล้วโดยกลัดติดไว้ในสำเนาเครื่อง ออกใบเสร็จรับเงิน
การที่บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้วจะเปลี่ยนเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปใน ภายหลังไม่อาจทำได้ เนื่องจากจะเป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 86 แห่ง
ประมวลรัษฎากร
3. สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทน ใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ เนื่องจากไม่มีกำหนดเวลากรณีการยกเลิกและออกใบแทนใบกำกับภาษีแต่บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้
(1) บริษัทฯ ต้องเรียกใบกำกับภาษีอย่างย่อคืนและประทับตราว่ายกเลิกหรือขีดฆ่าและ เก็บรวบรวมไว้กับสำเนาเครื่องออกใบเสร็จรับเงินและให้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ให้ตรงวันเดือนปีใน ใบกำกับภาษีอย่างย่อพร้อมทั้งระบุชื่อที่อยู่ของลูกค้าและหมายเหตุในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปว่า “เป็นการ ยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อและออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนเลขที่….เล่มที่….”
(2) บริษัทฯ ต้องหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อไว้ในรายงานภาษีขายประจำ เดือนที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนด้วยว่า “ใบกำกับภาษีเล่มที่….เลขที่….เป็นการออกแทน ใบกำกับภาษีอย่างย่อเลขที่….วันที่……”
(3) ลูกค้าผู้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องส่งมอบ ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืนให้แก่บริษัทฯ โดยจะต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีอย่างย่อแนบกับ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเก็บไว้ ณ สถานประกอบการของลูกค้าด้วย
(4) การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องออกเรียงตามลำดับที่ได้ออกไปก่อนหน้าแล้ว จะนำเลขที่วันที่ในใบกำกับภาษีอย่างย่อมาออกในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไม่ได้
กรณีบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อ สินค้าหรือผู้รับบริการไปแล้ว ต่อมาผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องการเปลี่ยนเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น
บริษัทฯ มีสิทธิยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อฉบับเดิมและ ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้เนื่องจาก ไม่มีกฎหมายใดห้าม ผู้ประกอบการจดทะเบียนยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อฉบับเดิมแล้วออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนแต่
อย่างใด ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ข้อ 25 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การ จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบ เต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
กค 0811/พ.00342
บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทผลิต ขายส่ง ส่งออก อาหารสำเร็จรูป ขนมและเครื่องดื่ม และนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร ต่อมาบริษัทฯ ได้นำเข้าเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (เครื่องอัตโนมัติ) เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง จึงขอทราบว่า
1. การขายสินค้าโดยเครื่องอัตโนมัติถือเป็นการค้าปลีกหรือไม่ และบริษัทฯ จะต้อง
ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรืออย่างย่อ
2. บริษัทฯ จะต้องจัดทำใบกำกับภาษีในวันที่บริษัทฯ บรรจุสินค้าเข้าเครื่องอัตโนมัติ หรือวันที่นำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
3. บริษัทฯ จะต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) หรือไม่ อย่างไร
4. การนำเครื่องอัตโนมัติไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายสินค้าจะต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขาหรือไม่
5. ในการติดตั้งเครื่องอัตโนมัติในสถานที่ต่าง ๆ บริษัทฯ ได้ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของสถานที่ “ผู้ให้อนุญาต” ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ๆ หน่วยงานราชการโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในลักษณะของค่าเช่าเหมา หรือค่าไฟฟ้าเหมา หรือเปอร์เซนต์จากการขาย ขึ้นอยู่กับการตกลงว่าจะใช้รูปแบบใด บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราเท่าใด
กรณีตามข้อเท็จจริง
1. การขายเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง ที่บรรจุอยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่า เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคโดยตรง และในปริมาณซึ่งตามปกติของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป ถือเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6
แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 32)ฯ ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ตามมาตรา86/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
2. การขายเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง ที่บรรจุอยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติดังกล่าว ไม่ว่าจะมีการชำระราคาโดยวิธีการหยอดเงิน เหรียญ บัตร หรือด้วยวิธีการในลักษณะทำนองเดียวกัน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้นำเงิน เหรียญ บัตร หรือด้วยวิธีการในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัตินั้นตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ.
2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
บริษัทฯ ประกอบกิจการค้าปลีกดังกล่าว จึงมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในขณะที่ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 86/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
3. เดิมบริษัทฯ ได้จดทะเบียนประเภทของสินค้าเพียง ผลิต ขายส่ง และส่งออกอาหารสำเร็จรูป ขนม และเครื่องดื่ม ต่อมาเมื่อบริษัทฯ ได้ประกอบกิจการค้าปลีกจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งเพิ่มประเภทของการประกอบกิจการ “ขายปลีก” ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามมาตรา 85/6 แห่งประมวลรัษฎากร
4. การที่บริษัทฯ นำเครื่องอัตโนมัติไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายสินค้า ถ้าบริษัทฯ มิได้จัดให้มีพนักงานหรือบุคคลใดเป็นผู้ให้บริการขายสินค้าในเครื่องอัตโนมัติ กรณีไม่ถือว่าเครื่องอัตโนมัติดังกล่าวเป็นสถานประกอบการตามมาตรา 77/1 (20) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่แจ้งการเปิดสถานประกอบการที่ติดตั้งเครื่องอัตโนมัติเพิ่มเติมตามมาตรา 85/7 แห่งประมวลรัษฎากร
5. การที่บริษัทฯ และผู้ให้อนุญาตทำสัญญาอนุญาตให้ติดตั้งเครื่องอัตโนมัติโดยที่ผู้ให้อนุญาตยังเป็นผู้ควบคุมดูแลพื้นที่ติดตั้งนั้น มิได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่ให้บริษัทฯ โดยเด็ดขาด ทั้งผู้ให้อนุญาตมีหน้าที่จะต้องดูแลและรักษาเครื่องอัตโนมัติให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เรียบร้อยพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาและแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเมื่อเครื่องอัตโนมัติชำรุดเสียหายหรือขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้
สัญญาดังกล่าวนั้นจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่งไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์สินหรือสัญญาจ้างทำของค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่ค่าเช่าทรัพย์สินและค่าจ้างทำของ
เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าตอบแทนดังกล่าว จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่26 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด
คุณ Weeree Kanjanawaikoon ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” แฟนเพจ เมื่อ 1 พ.ย. 2556 เวลา 9:21 น. ว่า
“เรียน ท่านอาจารย์สุเทพ
วันนี้มีเรื่องที่จะขอรบกวนสอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอย่างย่อค่ะ
1. กรณีที่บริษัทฯ จะออกบูทขายสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง ซื่งการซื้อขายแต่ละครั้งไม่น่าจะเกิน 1000 บาทต่อราย ซึ่งถ้าพิจารณาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 154 แล้ว บริษัทจะถือว่าเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย ซึ่งมีสิทธิที่จะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากกรมสรรพากร และกรณีที่ผู้ซื้อไม่เรียกร้องใบกำกับภาษี บริษัทสามารถที่จะรวบรวมรายการขายเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อเพียง 1 ใบ ต่อการขายสินค้าใน 1 วันทำการได้ ไม่ทราบว่าที่ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ค่ะ
2. ถ้าบริษัทต้องการที่จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อเวลาที่ไปออกบูทในสถานที่ต่าง ๆ โดยเครื่องเก็บเงินนี้จะไม่มีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แต่อย่างไร จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเครื่องพริ้นเตอร์ และพอสิ้นวันบริษัทก็จะพิมพ์สรุปการขายออกมา เพื่อนำไปบันทึกในระบคอมพิวเตอร์ของบริษัทเพียง 1 ใบ ในกรณีเช่นนี้บริษัทจำเป็นที่จะต้องขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนหรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ”
เรียน คุณ Weeree Kanjanawaikoon
1. กรณีที่บริษัทฯ จะออกบูทขายสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง ซื่งการซื้อขายแต่ละครั้งไม่น่าจะเกิน 1000 บาทต่อราย นั้น
(1) กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา โดยอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีก ไว้ดังต่อไปนี้
“ข้อ 2 การประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น การขายสินค้าของกิจการแผงลอยกิจการขายของชำ กิจการขายยา กิจการจำหน่ายน้ำมัน และกิจการห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะในการขายสินค้าที่เป็นไปตามลักษณะและหรือเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น
(2) การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น การให้บริการของกิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการซ่อมแซมทุกชนิด กิจการโรงภาพยนตร์ และกิจการสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น
กิจการภัตตาคารได้แก่กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
(3) ผู้ประกอบการตาม (1) และ (2) ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”
ซึ่งในกรณีนี้ บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อมิใช่การออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (Cash Register) โดยไม่ต้องขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแต่อย่างใด
(2) สำหรับกรณีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154) ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 เป็นต้นมานั้น เป็นกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ได้สิทธิไม่จำต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี ไว้ดังต่อไปนี้
“ข้อ 2 กำหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย
(1) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
(2) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(3) การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือการกระทำใดๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้า แข่งขัน
(4) การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
(5) การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
(6) การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
(7) การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า
คำว่า “กิจการขนส่งมวลชน” หมายความว่า การให้บริการรับขนส่งสาธารณชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชน
ข้อ 3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามข้อ 2 ไม่จำต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี
ข้อ 4 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ในหนึ่งวันทำการเพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีดังกล่าว โดยต้องเก็บใบกำกับภาษีดังกล่าวไว้ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย”
ดังนั้น หากลักษณะของการประกอบกิจการของบริษัทฯ ไม่ต้องด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154) บริษัทฯ ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย
ซึ่งบริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
เว้นแต่ กรณีผู้ซื้อเรียกรับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอให้ทำความเข้าใจข้อกฎหมายโดยถ้วนถี่เสียก่อน
2. กรณีบริษัทฯ ประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เมื่อไปออกบูทในสถานที่ต่างๆ โดยเครื่องเก็บเงินนี้จะไม่มีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แต่อย่างไร จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเครื่องพริ้นเตอร์ และพอสิ้นวันบริษัทก็จะพิมพ์สรุปการขายออกมา เพื่อนำไปบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทเพียง 1 ใบ นั้น
บริษัทฯ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ดังนี้
“ข้อ 2 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กำหนดลักษณะและหรือเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากร
คำขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคำขออนุมัติ
(1) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่อง (Serial Number) และจำนวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ
(3) แผนผังแสดงตำแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(4) ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย
(5) ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือการ
กค 0706/3280
บริษัท อ. จำกัด ประกอบกิจการขายส่งและขายปลีกนาฬิกาข้อมือภาพสตรี บริษัทฯ ได้ขายโดยตรงกับบุคคลหรือร้านนาฬิกาในต่างจังหวัด ซึ่งลูกค้าบางรายไม่ยอมรับใบกำกับภาษีที่บริษัทฯ ออกให้สำหรับการขายสินค้าที่ซื้อ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่ และบริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อได้หรือไม่ อย่างไร ่
1. กรณีบริษัทฯ ขายนาฬิกาข้อมือสุภาพสตรี หากเป็นการขายที่บริษัทฯ ทราบโดยชัดแจ้งว่า เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภค หรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป จึงเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32 ) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่8 เมษายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อซึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทฯ ขายส่งนาฬิกาข้อมือสุภาพสตรี บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปโดยไม่ระบุชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า บริษัทฯ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/4(3) และมาตรา 90(12) แห่งประมวลรัษฎากร
คุณ Tiew Panthita (21 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:38 น.)
เรียน อาจารยสุเทพ ที่เคารพ
รบกวนถามปัญหาดังนี้ค่ะ
1. บริษัทฯ อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการซื้อมาขายไป ปกติการซื้อขายจะเป็น B2B
….1.1 บางวันจะมีลูกต้า 2-3 คน มาซื้อสินค้าเพื่อใช้ (เดือนละครั้งสองครั้ง บางเดือนก็ไม่มี) ไม่ร้องขอใบกำกับภาษี
….1.2 บริษัทฯ ออกบูธเป็นครั้งคราวจำหน่ายสินค้าให้กับบุคคลทั่วไปที่มาเที่ยวงานลูกค้าไม่ได้ร้องขอใบกำกับภาษี (มูลค่าสินค้าที่ลูกค้าซื้อไม่สูง ราคาหลักร้อย/พันบาท ต่อราย) ต้องการทราบแนวปฎิบัติเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีค่ะ ว่าเราสามารถรวมยอดการขายทั้งวัน (หลักหมื่นบาท) ต่อหนึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อ หรือการขายหนึ่งรายต่อหนึ่งใบค่ะ
: ได้อ่านประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) มีข้อสงสัยคำว่า “บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก” กรณี 1.1 สามารถทำตามประกาศนี้ได้ไหมค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชชนา
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
….การประกอบกิจการการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เข้าลักษณะเป็นการขายปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งบริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้ บริษัทฯ มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้แก่ลูกค้าดังกล่าวทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (เมื่อส่งมอบสินค้า)
— ขายแบบ B2B แต่มีการขายปลีกในบางครั้ง สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ และต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อทุกครั้งที่ขาย —
คุณ Pumpui Naja (26 มิถุนายน 2562 เวลา 11:42 น.)
สอบถามเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีค่ะ
1. บริษัทฯ ขายของทางอินเตอร์เน็ต โดยในแต่ละวันมีรายการขายสินค้าเป็นจำนวนมาก (ประมาณ 1,000 รายการ) และเดือนๆ นึงมียอดขายเกินหลักล้านค่ะ
ปัญหาคือ ตอนนี้ต้องเปิดใบกำกับภาษีแบบย่อเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
มีวิธีไหนที่จะลดปริมาณเอกสารที่ต้องออกบ้างไหมคะ (ผู้ซื้อไม่ได้ให้ข้อมูลเพื่อออกเอกสารค่ะ)
2. บริษัทฯ ได้มีการขายส่งสินค้าด้วยค่ะ โดยมูลค่าที่เปิดบิลประมาณ 50,000-100,000 บาท แต่ว่า ผู้ซื้อไม่ให้ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษี แบบนี้สามารถที่จะออกใบกำกับภาษีแบบย่อไปได้ไหมคะ (แต่เป็นการขายส่งนะคะ)
ขอบพระคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
1. บริษัทฯ ขายของทางอินเทอร์เน็ต โดยในแต่ละวันมีรายการขายสินค้าเป็นจำนวนมาก (ประมาณ 1,000 รายการ) และเดือนๆ นึงมียอดขายเกินหลักล้านค่ะ ปัญหา คือ ตอนนี้ต้องเปิดใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน นั้น
บริษัทฯ สามารถขออนุมัติกรมสรรพากรออกใบกำกับภาษีอย่างย่อด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (Cash Register) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536
(http://www.rd.go.th/publish/3394.0.html)
ก็จะช่วยลดแรงงานในการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีที่ต้องออกลงได้บ้าง
2. บริษัทฯ ได้มีการขายส่งสินค้าด้วยค่ะ โดยมูลค่าที่เปิดบิลประมาณ 50,000 – 100,000 บาท แต่ว่า แม้ผู้ซื้อไม่ให้ข้อมูลเพื่อออกใบกำกับภาษี
บริษัทฯ ก็ไม่มีสิทธิที่จะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ เพราะการขายส่งต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น
Inbox: ศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10:29 น.
คุณ Proud Heart “วาสนา”
กราบเรียนอาจารย์ ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีในกรณีออกบูธขายสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
• ลูกค้าซื้อสินค้าต่อบิลมีมูลค่าไม่ถึง 1,000.00 บาท
• ลูกค้าซื้อสินค้าต่อบิลมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000.00 บาทขึ้นไป
• ใบกำกับภาษี
1.ลูกค้าไม่ต้องการใบกำกับภาษี
2. ลูกค้าต้องการใบกำกับภาษี
จากรายละเอียดข้างต้น ณ ปัจจุบัน
บริษัทฯ มีการปฏิบัติดังนี้
1. ใบกำกับภาษี จะออกในนามพนักงาน ที่รับผิดชอบในการเปิดบูธ-กรณีลูกค้าไม่ต้องการใบกำกับภาษี ซึ่ง ณ ปัจจุบันมียอดขายสูงขึ้นมาก เช่น ปี 2562 ตั้งแต่เดือน มกราคม-สิงหาคม ยอดขายประมาณ 1,800,000.00 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2. ใบกำกับภาษี ออกในนามลูกค้า – กรณีลูกค้าร้องขอ
จึงไม่ทราบว่าที่ปฏิบัติอยู่ ณ ปัจจุบันถูกต้องหรือไม่ และถ้าไม่ถูกต้องควรจะทำอย่างไรคะ
กราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ
ขอแสดงความนับถือ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
เกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีในกรณีออกบูธขายสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าต่อบิลมีมูลค่าไม่ถึง 1,000.00 บาท และลูกค้าซื้อสินค้าต่อบิลมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000.00 บาทขึ้นไป
• การขายสินค้าในกรณีออกบูธ เข้าลักษณะเป็นการขายปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) บริษัทฯ จึงสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ที่ไม่ต้องมีชื่อลูกค้าได้ เว้นแต่ลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่มีชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัว รวมทั้ง สำนักงานใหญ่/สาขา จึงจะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้ลูกค้า
คำค้นหา ใบกำกับภาษีอย่างย่อ รายงานภาษีขาย ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อร้านทอง ใบ กำกับ ภาษี อย่าง ย่อ pantip ใบกํากับภาษีอย่างย่อ บันทึกบัญชีอย่างไร ใบกํากับภาษีอย่างย่อ excel ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ยื่นภาษีได้หรือไม่ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ บกำกับภาษีอย่างย่อ ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ ยื่นภาษีได้หรือไม่ ใบกํากับภาษีอย่างย่อ excel ใบกํากับภาษีอย่างย่อ บันทึกบัญชีอย่างไร ใบกํากับภาษีอย่างย่อ สรรพากร ใบ กำกับ ภาษี อย่าง ย่อ pantip ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์ การ ออก ใบ กำกับ ภาษี
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้