Skip to content

บริษัทร้าง คือ ? สถานะนิติบุคคล ผลกระทบทางบัญชี ภาษี

บริษัทร้าง

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายบริษัทร้าง ห้างหุ้นส่วนร้าง คือ นิติบุคคลที่ฝ่าฝืนไม่ส่งงบการเงิน นาน 3 ปีต่อเนื่อง ทำให้หมดสิทธิ์ดำเนินกิจการ ส่งผลให้นิติบุคคลสิ้นสภาพตามกฎหมาย

สาเหตุของ บริษัทร้าง ห้างหุ้นส่วนร้าง คือ

นิติบุคคลจำนวนไม่น้อยที่จดทะเบียนจัดตั้งและดำเนินกิจการแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเหตุให้ต้องเลิกกิจการ จึงไม่นำส่งงบการเงิน หรือบางราย ไม่มีที่ตั้งสำนักงานตามที่ยื่นขอจดทะเบียน หรือบางรายจดทะเบียนเลิกกิจการแต่ไม่ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามกฎหมาย ส่งผลให้ชื่อของนิติบุคคลนั้นๆ ยังมีสถานภาพคงอยู่ในระบบฐานข้อมูลของกรมฯ โดยข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และประชาชน หรือผู้ร่วมค้า ร่วมลงทุน อาจเข้าใจผิดและก่อให้เกิดความเสียหายจากการทุจริตหลอกลวงสภาพอันแท้จริง

นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ห้างหุ้นส่วนและบริษัทที่จดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ไม่ยื่นรายงานการชำระบัญชีและจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 3 ปี นับแต่วันรับจดทะเบียนเลิก

โดยนายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าข่ายตามข้อสันนิษฐานข้างต้น โดยอาศัยอำนาจตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้เป็น “บริษัทร้าง”

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี

งบเปล่า ไม่จด VAT

24,999 บาท*
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จดเลิก / จดชำระบัญชี
  • งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ
  • ประกาศลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น / รายงานการประชุม
  • กรมสรรพากร นำส่ง ภงด 50 และ งบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

งบเปล่า จด VAT

29,999 บาท*
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จดเลิก / จดชำระบัญชี
  • งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ
  • ประกาศลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น / รายงานการประชุม
  • กรมสรรพากร นำส่ง ภงด 50 และ งบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

งบเปล่า คือ งบที่ยังไม่ได้ทำเนินธุรกิจ หรือไม่มีกิจกรรมการดำเนินงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพธุรกิจ
ไม่มีการดำเนินการทางธุรกิจใดๆ เช่น ไม่มีซื้อ ไม่มีรายการขาย ไม่มีรายได้ใดๆ

*ค่าบริการข้างต้นไม่รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าภาษีอากรค้างชำระ     และค่าภาษีอื่นๆ ที่กิจการเป็นผู้รับผิดชอบต้องชำระ

บริษัทร้าง
รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก

บริษัทร้าง ห้างหุ้นส่วนร้าง มีผลกระทบอะไรบ้าง

1. ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทสิ้นสภาพนิติบุคคล


2. ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นทุกๆ คนยังคงมีอยู่ เสมือนว่าห้างฯ และบริษัทยังไม่ได้เลิก


3. เจ้าหนี้ (รวมถึงกรมสรรพากร) มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้อยู่ และสามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้ห้างฯ หรือบริษัทนั้น กลับคืนเข้าสู่ทะเบียน


4. ไม่สามารถทำนิติกรรม รวมถึงไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทร้าง หรือรับโอนผลประโยชน์ใดๆ ที่พึงมีได้


5. กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการที่ละเลยกิจการ ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

ปัญหาภาษี หลักกฎหมาย สถานะต่าง ๆ ของ บริษัทร้าง

หลักกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง มาตรา 1273/4

หลักกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง

 

          มาตรา 1273/4 ถ้าห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นรู้สึกว่าต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรมเพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เมื่อห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้กลับคืนสู่ทะเบียนก็ดี ศาลจะสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้ และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย โดยศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้เป็นประการใด ๆ ตามที่เห็นเป็นการยุติธรรมด้วยก็ได้เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและบรรดาบุคคลอื่น ๆ กลับคืนสู่ฐานะอันใกล้ที่สุดกับฐานะเดิมเสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย

          การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ห้ามมิให้ร้องขอเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินภาษีอากรกรณีบริษัทจำกัดถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็น บริษัทร้าง

 มาตรา 1246(5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
 
ข้อหารือ :
 
หารือการประเมินภาษีอากร ราย บริษัท ช. กรณีสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้เข้าตรวจ สถานประกอบการของบริษัทฯ แต่ไม่สามารถติดต่อกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ เพื่อขอทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯ ได้
 
สำนักงานสรรพากรพื้นที่จึงได้ทำหนังสือเชิญพบ 2 ครั้ง แต่กรรมการผู้จัดการมิได้มาพบตามหนังสือฉบับแรก ส่วนหนังสือฉบับหลังถูกตีกลับโดยไปรษณีย์แจ้ง ว่า “ไม่มารับภายในกำหนด” ซึ่งจากการคัดค้นข้อมูลพบว่า
 
บริษัทฯ จดทะเบียนนิติบุคคลเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2513 มีสาขา 1 แห่ง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2534 ประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้าง
 
บริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30)
 
แต่จากการคัดค้น ข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย พบว่า บริษัทฯ มีรายได้ในเดือนเมษายน 2544 ถึงเดือนมิถุนายน 2545 รวมทั้งสิ้น 3,239,799.21 บาท
 
และจากการคัดหลักฐานทะเบียนนิติบุคคลพบว่านายทะเบียนได้ขีดชื่อ บริษัทฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตามมาตรา 1246 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วตั้งแต่ วันที่ 8 สิงหาคม 2543 กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
 
บริษัทฯจึงมีรายได้ภายหลังจากถูกขีดชื่อเป็นบริษัท ร้างแล้ว ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่เห็นว่า แม้นายทะเบียนจะขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนทำให้สภาพ นิติบุคคลเป็นร้างแล้ว แต่ความรับผิดของกรรมการยังคงมีอยู่ตามมาตรา 1246 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงหารือว่า 
 
(1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่จะประเมินภาษีอากรได้หรือไม่ 
 
(2) หากประเมินภาษีอากรได้ จะทำการประเมินในนามของใคร และ 
 
(3) หากประเมินภาษีอากรได้ จะส่งหนังสือแจ้งการประเมินไปที่ใด 
 
แนววินิจฉัย :
 
1. กรณีบริษัท ช. ได้ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 ผลทางกฎหมายที่นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน ถือเป็นการเลิกบริษัทตั้งแต่ เมื่อโฆษณาแจ้งความในหนังสือราชกิจจานุเบกษา
 
แต่ความรับผิดของกรรมการ ของผู้จัดการ และของ ผู้ถือหุ้นทุก ๆ คนมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้น และพึงเรียกบังคับได้เสมือนดั่งว่าบริษัทยังมิได้เลิก ตาม มาตรา 1246(5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
แต่ถ้าเจ้าหนี้ใดๆ ของบริษัทฯ รู้สึกว่าต้องเสีย มิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทฯ ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เจ้าหนี้ของบริษัทฯ ผู้ได้รับความเสียหายต้อง ไปยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียน ตามมาตรา 1246(6) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย พบว่าบริษัทฯ มีรายได้ในเดือนเมษายน-ธันวาคม 2544 และเดือนมกราคม-เมษายน และมิถุนายน 2545 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,239,799.21 บาท
 
โดยบริษัทฯ มิได้นำรายได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรจึงต้องดำเนินการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบการ เสียภาษีอากรของบริษัทฯ ให้ถูกต้องต่อไป
 
แต่เนื่องจากบริษัทฯ สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แล้ว การออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีอากรของบริษัทฯ จึงไม่อาจกระทำได้
 
กรณีตาม ข้อเท็จจริงกรมสรรพากรจึงถือเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้รับความเสียหายเพราะการที่บริษัทฯ ถูกขีดชื่อออกจาก ทะเบียน
 
ดังนั้น ในการตรวจสอบภาษีอากรของบริษัทฯ ซึ่งเป็นบริษัทร้าง ก่อนออกหมายเรียกตรวจสอบ ภาษีอากรไปยังบริษัทฯ กรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทฯ ผู้ได้รับความเสียหายต้องไปยื่นคำร้อง ต่อศาล เพื่อขอให้ศาลสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทฯ คืนเข้าสู่ทะเบียนเช่นเดิมตามมาตรา 1246(6) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วถือว่าบริษัทฯ ยังคงตั้งอยู่ตลอดมาเสมือนดัง ว่ามิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่สามารถดำเนินการตรวจสอบภาษีอากร ของบริษัทฯ ได้ตามกฎหมายต่อไป 
 
 2. กรณีที่ต้องทำการประเมินภาษีอากร ให้ทำการประเมินในนามของบริษัท ช. 

กค 0706/8299 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเลิกประกอบกิจการ

เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเลิกประกอบกิจการ


ข้อกฎหมาย: มาตรา 77 มาตรา 85/15 มาตรา 90(8) มาตรา 90/1(5) มาตรา 83 มาตรา 85/19(2) มาตรา 86 มาตรา 82/3 มาตรา 77/1(8)(ฉ) มาตรา 79/3(5) มาตรา 87 และมาตรา 81/3(2) แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อหารือ:      ห้างฯ ประกอบกิจการตัดเย็บ จำหน่ายชุดดำน้ำ และอุปกรณ์ดำน้ำ ห้างฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ต่อมาในวันที ่ 29 สิงหาคม 2548 ต่อมาห้างฯ ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อที่จะประกอบ กิจการในรูปแบบของบริษัท แต่ไม่ได้ดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09)

ห้างฯ ยังคงประกอบกิจการเป็นปกติ มีการออกใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยยื่นแบบ ภ.พ.30 และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ห้างฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท อ. และได้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวันที่ 2 มีนาคม 2549 ห้างฯ จึงขอทราบว่า


       1. ห้างฯ ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 และ ได้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด 50 ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ไว้แล้ว สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2548 จนถึงวันที่ชำระ บัญชีเสร็จ ถ้าระยะเวลาการชำระบัญชีเกินกว่า 12 เดือน ห้างฯ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 อย่างไร


       2. กรณีห้างฯ ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ. 09 ห้างฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีหรือไม่ และผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจากห้างฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ห้างฯ เรียกเก็บไปหักออกจากภาษีขายได้หรือไม่


       3. ห้างฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าคงเหลือให้กับบริษัท อ.หรือไม่ และบริษัทฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าคงเหลือดังกล่าวไปเครดิตภาษีได้หรือไม่


แนววินิจฉัย


:       1. กรณีเจ้าพนักงานรับจดทะเบียนได้รับจดทะเบียนเกี่ยวกับการเลิกห้างฯ แล้ว ผู้ชำระบัญชี มีหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบถึงการเลิกห้างฯ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับ จดทะเบียนเลิกและให้ถือวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร


        2. กรณีตามข้อเท็จจริง ห้างฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไว้แล้ว แต่การชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้ถือว่า ห้างฯ ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ตามมาตรา 1249 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์

ดังนั้น ห้างฯ จึงยังมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ แบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมงบการเงินต่อไป จนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีเสร็จ โดยมีรอบระยะ เวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก)


        3. กรณีห้างฯ แจ้งเลิกกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ห้างฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.09) พร้อมคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ณ สถานที่ที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่ง ประมวลรัษฎากร

แต่ห้างฯ มิได้ยื่นแบบ ภ.พ.09 และยังคงประกอบกิจการ ออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบ ภ.พ. 30 พร้อมทั้งชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น ห้างฯ จึงมีความผิดกรณีที่ไม่แจ้ง เลิกประกอบกิจการและคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 90(8) และมาตรา 90/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อห้างฯ ยื่นแบบ ภ.พ. 09 แล้ว

ห้างฯ ยังคงรับผิดในฐานะ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไป โดยยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม จนกว่าอธิบดีจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ ห้างฯ ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทั้งนี้ ตามมาตรา 83 มาตรา 85/19(2) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร นับแต่วันที่แจ้งเลิกประกอบ กิจการเป็นต้นไป อีกทั้งไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปในระหว่างวันที่แจ้งเลิกประกอบกิจการ ถึงวันที่อธิบดีสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาถือเป็นภาษีซื้อ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร


        4. ห้างฯ มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ห้างฯ มีไว้ใน การประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ แจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) และมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมูลค่า ของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ และไม่ต้องออกใบกำกับภาษี แต่ประการใด

ส่วนรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างฯ ไม่มีหน้าที่จัดทำอีกต่อไป แต่ต้องเก็บและรักษารายงาน ที่ตนมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาอยู่ในวันเลิกประกอบกิจการต่อไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/3(5) มาตรา 87 และมาตรา 87/3(2) แห่งประมวลรัษฎากร


เลขตู้:69/34548

 

คำเตือนจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ขอแนะนำให้ประชาชน ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้ลงทุนที่มีความประสงค์จะติดต่อหรือทำธุรกิจกับนิติบุคคลรายใดก็ตาม ควรตรวจสอบสถานภาพของ นิติบุคคลนั้นๆ ก่อนว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจ และป้องกันปัญหาการหลอกลวง หรือแอบอ้างโดยตรวจสอบสถานะของนิติบุคคลได้ 3 ช่องทาง
1) สายด่วน 1570
2) www.dbd.go.th หัวข้อคลังข้อมูลธุรกิจและ
3) ดาวน์โหลด Application ‘DBD e- Service’ ผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อเช็คสถานะนิติบุคคลได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ตรวจสอบ

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

คำค้นหา การ ปิด บริษัท ต้อง ทํา อย่างไร pantip , ค่า ใช้ จ่าย การ จดทะเบียน เลิก บริษัท, ขั้นตอนการปิดบริษัท กรมสรรพากร,ปิดบริษัทชั่วคราว,ปิดหจก pantip,ตัวอย่างงบเลิกกิจการ,ภาษีเลิกกิจการ,การปิดบัญชีบริษัท,หนังสือชี้แจงเลิกกิจการ,ตัวอย่าง รายงานการประชุม จด เลิก บริษัท,รับ จดทะเบียน บริษัท,การ ปิดบัญชี บริษัท,การ ปิด บริษัท ต้อง ทํา อย่างไร pantip,ตัวอย่างงบเลิกกิจการ,ค่า ใช้ จ่าย ปิด บริษัท,เลิกบริษัท สรรพากร,ปิดบริษัท pantip,ปิด บริษัท ต้อง ทำ อย่างไร,เลิกบริษัท,จดทะเบียนเลิกกิจการ พร้อมปิดงบการเงินชำระบัญชี

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 18,827

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า