1. มีการจ่ายส่วนลดส่งเสริมการขาย และมีการรับเงินชดเชยน้ำมัน แต่ผู้ประกอบการ มักไม่นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ พบได้จากการที่ผู้จ่าย / ผู้ให้ค่าส่งเสริม หัก ณ ที่จ่ายนำส่งไว้ แล้วกิจการไม่นำมารวมเป็นรายได้
2. ขายน้ำมันโดยไม่ผ่านมิเตอร์หัวจ่าย และไม่ออกใบกำกับภาษีขาย – จำนวนหน่วยขายไม่ตรงกับที่รับเข้า สินค้าขาดสต๊อก
3. ไม่ได้นำส่วนลดการซื้อน้ำมันมารวมคำนวณเป็นรายได้หรือนำมาหักรายจ่ายค่าซื้อน้ำมัน – ต้นทุนสูงเกินไป กำไรต่ำไป
4. รายได้ค่าขนส่ง ไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย เช่น กิจการที่มีรถสาหรับขนส่งน้ำมัน และมีค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น แต่ ไม่มีรายได้ค่าขนส่ง
5. ยื่นรายรับตามแบบ ภ.พ.๓๐ และ รายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.๕๐ ขาด – คือรายได้ตาม แบบภงด 50 ต่ำกว่ายอดรายได้ตามแบบ ภพ 30 (ควรตรวจพบก่อนยื่นงบ หรือก่อนการเสียภาษีประจำปี)
6. ไม่นำค่าเช่ามาลงเป็นรายได้ – กระทบ รายได้ยื่นคำนวณแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภงด 50)
7. มีรายการหักยอดน้ำมันใช้เองและรายการทดสอบน้ำมันสูงผิดปกติ – สินค้าขาดสต๊อก – สินค้าขาดสต๊อกควรทำอย่างไร (อ่านต่อ)
8. นำรายได้ไปเสียภาษีไม่ครบถ้วน โดยเป็นการสร้างส่วนลดหน้าปั๊มเป็นจำนวนค่อนข้างสูง หรือ ยอดขายตามมิเตอร์หัวจ่าย แตกต่าง จากยอดขายทางบัญชี ทำให้ยอดขายขาด หรือ ขายในราคาขายปลีก แต่ลงบัญชีในราคาขายส่ง
9. ไม่นำรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นมาลงเป็นรายได้และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ครบถ้วน – บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วนส่งผลต่อภาษีมูลค่าเพิ่ม และ รายได้ยื่นคำนวณแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภงด 50)
10. ราคาขายน้ำมันไม่เป็นไปตามราคาประกาศของบริษัทแม่
11. มียอดซื้อน้ำมันต่อยอดขายน้ำมันสูง มีการนำน้ำมันไปใช้ในกิจการขนส่ง หรือซื้อใส่ถังแยกไว้ต่างหากเพื่อใช้ในกิจการขนส่ง – รายจ่ายบันทึกปะปนกันระหว่างกิจการ หรือ รายจ่ายไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ
12.ไม่ได้เฉลี่ยภาษีซื้อ กรณีประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) และรับจ้างขนส่งน้ำมัน (ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยได้นำสินทรัพย์ สินค้า หรือบริการ ที่ได้มาหรือได้รับมาไปใช้ ในการประกอบกิจการทั้งสองประเภท หรือไม่ได้เฉลี่ยภาษีซื้อ กรณีมีรายได้จากการให้เช่าสถานประกอบการ แต่รายจ่ายค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า นำไปหักเป็นรายจ่ายของผู้ประกอบการทั้งหมด
13. ปริมาณยอดซื้อน้ำมันมีมากกว่าขนาดของถังบรรจุน้ำมันของกิจการทั้งหมด
14. มีการซื้อทรัพย์สินในนามสถานประกอบการ โดยเป็นทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ เช่น มีรถบรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์นั่ง หลายคัน ทาให้ค่าใช้จ่ายของกิจการสูงเกินจริง หรือมีการลงบัญชีทรัพย์สินสูงเกินจริง -รายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกันกิจการต้องบวกกลับตอนยื่นคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด. 50
15. มีการบันทึกรายจ่ายเกี่ยวกับรายจ่ายพนักงานสูงเกินข้อเท็จจริงในการประกอบ และอื่นๆ – ตรวจสอบการมีตัวตนของพนักงาน จำนวนพนักงานจริง การทำงานจริง
16. มีการบันทึกค่าเช่าสูงเกินความเป็นจริง เมื่อเทียบเคียงกับกิจการประเภทเดียวกัน และ อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ทำให้ทราบว่ากิจการบันทึกค่าเช่าสูงผิดปกติ –
17. มีดอกเบี้ยจ่ายเกิดจากการซื้อทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น เช่าซื้อรถยนต์นั่ง รถตู้ เป็นต้น -รายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกันกิจการต้องบวกกลับตอนยื่นคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด. 50
18. คำนวณอัตราระเหยน้ำมัน สูงกว่าอัตราระเหยที่กฎหมายก าหนด โดยสุ่มวัดปริมาณน้ำมันแต่ละชนิด กรณีน้ำมันคงเหลือน้อยกว่ารายงานสินค้าและวัตถุดิบ ทั้งนี้ ในส่วนที่ขาดเกินร้อยละ ๐.๕ ของปริมาณน้ำมันที่มีเพื่อขาย ซึ่งเป็นอัตราการระเหยน้ำมันตามสภาพปกติ
19. รายจ่ายค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งมีจำนวนเงินค่อนข้างสูง เป็นรายจ่ายทรัพย์สิน มีอายุการใช้งาน เกิน ๑ ปี นำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในรอบบัญชีนั้น – ควรบันทึกเป็นทรัพย์สินหักค่าเสื่อมทุกปี ไม่บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
20. ไม่จัดทำรายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด (ส่วน ก ข ค) หรือ ทำไม่ถูกต้อง มีการหักอัตราระเหยน้ำมันในรายงานส่วน ก ทำให้น้ำส่งยอดขายและภาษีขายไม่ครบถ้วน หรือ
กรณีมีสาขา ก็ไม่ได้จัดทำรายงานฯ เป็นรายสถานประกอบการ หรือ กรณีขายส่งไม่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ หรือ ลงรายงานสินค้าคงเหลือไม่เป็นปัจจุบัน
(จัดทำรายงานน้ำมันส่วน ก ส่วน ข ส่วน ค ไม่ถูกต้อง โดยรายงานน้ำมันส่วน ก คือ รายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด (ส่วน ก.) ซึ่งต้องจัดทำเป็นรายวันอยู่แล้ว และให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่จัดทำรายงานแสดงรายละเอียดการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด (ส่วน ก.) )
21. กิจการขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ซื้อไม่เอาใบกำกับภาษีซื้อ จึงออกใบกำกับภาษีขายโดยเขียนชื่อผู้ซื้อ ไม่มีตัวตน หรือ ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้าเก่าที่ไม่ได้ซื้อสินค้าแล้ว
22. ผู้ประกอบการรายใหม่ เช่า หรือ ซื้อ สถานประกอบการเดิม ไม่ขออนุมัติให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้ประกอบการกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย (เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย) เนื่องจากเข้าใจว่าได้รับอนุมัติต่อเนื่องจากผู้ประกอบการรายเดิมแล้ว
23. กิจการมีทั้งรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่นำใบกำกับภาษีขายมาออกสำหรับรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สหกรณ์การเกษตร
24. รายได้ดอกเบี้ยรับ คำนวณอัตราดอกเบี้ย ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยจ่าย เงินกู้ยืมกรรมการอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าที่กิจการไปกู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน
25. กรณีนำน้ำมันมาใช้ในกิจการ ได้จัดทำใบกำกับภาษีขายให้กับตนเอง – ไม่ได้ยื่นภาษีขาย
26.กิจการได้ขายน้ำมันชนิดใหม่ แต่ไม่ได้จัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงมิเตอร์หัวจ่าย และไม่น้ำรายรับ มารวมคำนวณยื่นแบบ ภ.พ.๓๐ และ ภ.ง.ด.๕๐
27. กรณีที่ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหลายกิจการ ซึ่งเป็นเจ้าของคนเดียวกัน แต่ใช้หลักฐานใบกำกับการขนส่งน้ำมันชุดเดียวกัน
28. ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่ง เช่น ค่าเช่า ค่าสอบบัญชี ค่าทำบัญชี เป็นต้น พนักงานบัญชีไม่ทักท้วง ขณะจ่ายเงิน อาจแก้ปัญหาโดยการติดตามขอคืนเงินส่วนเกินภาษี และนำส่งภายในเดือนนั้นๆ หรือยื่นแบบเพิ่มเติมกรณีจัดส่งล่าช้า
29. กรณีที่ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหลายกิจการ ซึ่งเป็นเจ้าของคนเดียวกัน ได้ซื้อน้ำมันมาจำหน่ายโดยนำหลักฐานใบกำกับภาษีซื้อมาใช้เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการใดกิจการหนึ่ง แต่นำน้ำมันเชื้อเพลิงไปจำหน่ายในกิจการอื่น ๆ – ไม่แยกรายได้ต้นทุนในแต่ละกิจการให้ชัดเจน ใช้ปะปนกัน