Skip to content
Top Hit
5/5

เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี

เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี  และ ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี  :

ในการจัดทำบัญชี หรือการ รับทำบัญชี ของ สำนักงานบัญชี BEE-Accountant  บริการรับทำบัญชีและภาษีอากร ดำเนินการโดยผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ควบคุมการทำงานโดย CPA   ทำให้การจัดทำบัญชี และภาษีอากร ถูกต้อง และทันเวลา เพื่อให้ลูกค้าของเราสามารถมุ่งเน้นที่ธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานบัญชีลงได้มากกว่าครึ่ง

เพื่อให้งานบริการ รับทำบัญชี ของทางสำนักงาน เป็นไปอย่างมีระบบ ขั้นตอน ตรวจสอบได้ อย่างมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล ทำให้กิจการทราบว่า สำนักงานบัญชี ทำงานอย่างไร เอกสารส่งสำนักงานบัญชี มีอะไรบ้าง ระยะเวลาในการทำงานคร่าวๆ ของสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant  ได้จัดทำ คู่มือ

1. เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี  เพื่อแจ้งกิจการว่า ทางสำนักงานต้องการเอกสารอะไรบ้าง กิจการต้องนำส่งเอกสารอะไร เพื่อนำมาใช้ในการบันทึกบัญชี และ เพื่อให้ทางทีมงานของสำนักงานทราบว่าต้องแจ้งขอข้อมูลและเอกสารจากทางลูกค้าอะไรบ้าง เพื่อให้การบันทึกบัญชี ครบถ้วน และเป็นไปตาม และ

2.ขั้นตอนการทำงาน ในงานบริการ รับทำบัญชี

ในบทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี BEE-Accountant

เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี

เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี

เอกสารในการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี เป็นเอกสารที่ทางสำนักงาน ขอความกรุณาลูกค้าในการจัดเตรียมและส่งมอบให้เพื่อการบันทึกบัญชี

เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี หมายถึง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการค้าในรูปของตัวเงิน เมื่อมีรายการค้าใดๆ เกิดขึ้นทั้งในและภายนอกกิจการ จะต้องมีการจัดทำเอกสารขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเก็บไว้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี

เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ตามความหมายของกรมทะเบียนการค้าแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้

             (1) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก

             (2) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก

             (3) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

             ซึ่งโดยทั่วไปเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีทั้งสามประเภทควรต้อง สอดคล้องกับเอกสารที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากร หรือ เพื่อการยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นเอง

บทความเพิ่มเติม  การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

ตัวอย่าง เอกสารประกอบรายการขาย รายการซื้อ ค่าใช้จ่าย

ใบส่งสินค้า

ใบส่งสินค้า หรือใบส่งของ คือ เอกสารใช้ในการยืนยัน รับรองว่าส่งสินค้าถึงมือลูกค้าเรียบร้อย ใช้เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้ขายและผู้ซื้อเข้าใจตรงกันและได้รับสินค้าถูกต้องเรียบร้อยตามที่ได้สั่งซื้อ หรือตามใบสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า

เวลา ส่งเอกสารให้ลูกค้าตอนไหน: ใบส่งสินค้าจะถูกนำไปให้ลูกค้าเซ็นรับพร้อมสินค้า/บริการ

สิ่งที่สำคัญที่สุดบนใบส่งสินค้าคือลายเซ็นของลูกค้า เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าบริการ

ใบแจ้งหนี้

ใบแจ้งหนี้ คือ เอกสารที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อเพื่อแสดงว่าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อสินค้าหรือบริการอะไร ในวันที่เท่าไหร่ สินค้าหรือบริการที่ขายมีจำนวนและราคาเท่าไหร่ บางกิจการมักรวบใบแจ้งหนี้เข้ากับใบส่งของ เพื่อความสะดวกในการส่งเอกสาร โดยชื่ออาจเปลี่ยนเป็น “ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้” หรือ “ใบแจ้งหนี้/ใบส่งของ”

ใบเสร็จรับเงิน หรือ บิลเงินสด

ใบเสร็จรับเงิน หรือ บิลเงินสด คือเอกสารที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อเพื่อแสดงว่าผู้ขายได้รับเงินจากผู้ซื้อ รวมทั้งแจ้งว่าได้รับชำระราคาวันที่และจำนวนเงินเท่าไหร่ และหากเป็นการขายเงินเชื่ออาจมีการอ้างอิงเลขที่ใบแจ้งหนี้ที่เกี่่ยวข้องไว้ในใบเสร็จรับเงินนี้ควบคู่ไปด้วย กรณีที่เป็นการขายเงินสดก็อาจรวมใบเสร็จรับเงินเข้ากับใบส่งของ โดยชื่อจะเปลี่ยนเป็น “ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ”

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี คือ เอกสารที่ผู้ขายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกให้ผู้ซื้อเพื่อแสดง มูลค่าสินค้า ก่อน VAT ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าสินค้ารวม VAT จากสินค้าหรือบริการที่ขาย

ผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถใช้สิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ไปหักกับภาษีขายของเพื่อยื่นนำส่งภพ 30 ประจำเดอืน

ใบกำกับภาษีนี้จะแสดงรายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ขาย จำนวนและราคาของสินค้าหรือบริการเช่นเดียวกับเอกสารอื่นๆ พร้อมกับแยกแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ต่างหากจากค่าสินค้าและบริการ

ข้อมูลเบื้องต้นของกิจการ

รับทำบัญชี (เริ่มงานปีแรก)​

หนังสือรับรองบริษัท / กรรมการผู้ลงนาม​
สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ 5​
ข้อบังคับกิจการ​
งบการเงินปี / ภงด 50 ปีล่าสุด
งบทดลองแบบเต็ม
บัญชีแยกประเภท สมุดรายวัน
สัญญากู้ยืม สัญญาเช่า สัญญาอื่นๆ
รายละเอียดของสินค้า, กลุ่มสินค้า , ทะเบียนทรัพย์สิน
รายละเอียดการจ่ายสวัสดิการพนักงาน

 

ข้อมูลที่ต้องจัดส่งทุกเดือน

รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี

เอกสารขอเป็นสำเนาจัดส่งให้สำนักงาน ทำบัญชี

เอกสารต้นฉบับเก็บไว้ที่กิจการเพื่อใช้ในการอ้างอิง ตรวจสอบ หรือ ค้นหาข้อมูล รวมทั้งป้องกันการสูญหายด้วย

1 แฟ้มใบกำกับภาษีขาย จัดทำแฟ้มใบกำกับภาษีขายโดยจัดเรียงตามเลขที่ใบกำกับภาษี โดยให้เรียงเลขที่ใบกำกับน้อยอยู่ข้างล่าง และให้เลขที่มากอยู่ข้างบน โดยจัดเรียงเป็นเดือน ๆ

2 แฟ้มใบกำกับภาษีซื้อ จัดทำแฟ้มใบกำกับภาษีซื้อโดยจัดเรียงตามเลขที่ใบกำกับภาษี โดยให้เรียงวันที่ใบกำกับน้อยอยู่ข้างล่าง และให้วันที่มากอยู่ข้างบน โดยจัดเรียงเป็นเดือน ๆ

 

 

  1. แฟ้มใบสำคัญจ่าย  โดยมีเอกสารหลักฐานในใบสำคัญจ่ายแต่ละใบดังนี้คือ

    1. ใบวางบิล โดยมีรายละเอียดของเลขที่ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี ที่จะทำการจ่าย มียอดรวมของใบแจ้งหนี้ทั้งหมด,ลายเซ็นต์ผู้รับวางบิล-ผู้วางบิล,ผู้อนุมัติการวางบิล วันที่รับวางบิล และวันที่วางบิล

    2. ใบขอซื้อ ใบเสนอราคา แนบโดยมีรายละเอียดของรายการสินค้า , จำนวน , ราคา/หน่วย ,ราคารวม และยอดรวมทั้งหมดของใบขอซื้อแตละใบ พร้อมทั้งมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

    3. ใบแจ้งหนี้/สำเนาใบกำกับภาษี มีรายละเอียด เลขที่ , วันที่ , รายการ , จำนวน , ราคา/หน่วย , ยอดรวมทั้งหมดของใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี พร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

  2.  แฟ้มใบสำคัญรับ จัดทำแฟ้มใบสำคัญรับไม่ว่าจะรับเป็นเช็คหรือเงินสด โดยแต่ละใบสำคัญรับจะมีเอกสารหลักฐานในการจัดทำดังนี้คือ

    1. สำเนาใบรับวางบิลที่ไปวางบิล กับลูกค้าโดยจะมีรายละเอียดของ วันที่วางบิล , เลขที่ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีขาย , ยอดเงินของบิลแต่ละใบ , ยอดรวมทั้งหมดของใบวางบิล , ผู้วางบิล , ผู้รับวางบิล พร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

    2. ใบสั่งขาย / ใบวางบิลลูกค้า หรือ ใบกำกับภาษีขาย โดยจะเป็นยอดรายการสินค้า , ราคา/หน่วย , ยอดรวมของบิลแต่ละใบพร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

           3. ใบขอซื้อจากทางผู้ซื้อ (ถ้ามี)

           4. ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี

  1. แฟ้มใบสำคัญจ่าย  โดยมีเอกสารหลักฐานในใบสำคัญจ่ายแต่ละใบดังนี้คือ

    1. ใบวางบิล โดยมีรายละเอียดของเลขที่ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี ที่จะทำการจ่าย มียอดรวมของใบแจ้งหนี้ทั้งหมด,ลายเซ็นต์ผู้รับวางบิล-ผู้วางบิล,ผู้อนุมัติการวางบิล วันที่รับวางบิล และวันที่วางบิล

    2. ใบขอซื้อ ใบเสนอราคา แนบโดยมีรายละเอียดของรายการสินค้า , จำนวน , ราคา/หน่วย ,ราคารวม และยอดรวมทั้งหมดของใบขอซื้อแตละใบ พร้อมทั้งมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

    3. ใบแจ้งหนี้/สำเนาใบกำกับภาษี มีรายละเอียด เลขที่ , วันที่ , รายการ , จำนวน , ราคา/หน่วย , ยอดรวมทั้งหมดของใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี พร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

  2.  แฟ้มใบสำคัญรับ จัดทำแฟ้มใบสำคัญรับไม่ว่าจะรับเป็นเช็คหรือเงินสด โดยแต่ละใบสำคัญรับจะมีเอกสารหลักฐานในการจัดทำดังนี้คือ

    1. สำเนาใบรับวางบิลที่ไปวางบิล กับลูกค้าโดยจะมีรายละเอียดของ วันที่วางบิล , เลขที่ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีขาย , ยอดเงินของบิลแต่ละใบ , ยอดรวมทั้งหมดของใบวางบิล , ผู้วางบิล , ผู้รับวางบิล พร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

    2. ใบสั่งขาย / ใบวางบิลลูกค้า หรือ ใบกำกับภาษีขาย โดยจะเป็นยอดรายการสินค้า , ราคา/หน่วย , ยอดรวมของบิลแต่ละใบพร้อมมีลายเซ็นต์ผู้อนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจ

           3. ใบขอซื้อจากทางผู้ซื้อ (ถ้ามี)

           4. ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี

แฟ้มเงินสดย่อย

จัดทำแฟ้มเงินสดย่อยโดยจัดตั้งวงเงินสดย่อยตามความเห็นชอบของกรรมการผู้มีอำนาจโดยการเบิกจ่ายแต่ละครั้งตั้งแต่ 500 บาทต่อครั้ง แต่ไม่เกิน 1,000 บาท โดยให้มีการจัดทำใบเบิกพร้อมทั้งให้มีลายเซ็นต์อนุมัติก่อนที่จะนำมาเบิกกับทางบัญชีฃ

โดยเอกสารแต่ละใบในแฟ้มเงินสดย่อยต้องมีเอกสารประกอบดั้งนี้
1. ใบเสร็จการขอซื้อแต่ละครั้ง
2. ใบขอเบิกเงิน มีลายเซ็นต์ผู้ขอเบิก วัตถุประสงค์ที่เบิก และผู้อนุมัติ
3. กรณีไม่มีใบเสร็จให้แนบบัตรประชาชนผู้เบิก พร้อมลายเซ็นต์การอนุมัติจากผู้บริหารหรือจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

1. การโอนเงินระหว่างธนาคาร
2. การถอนเงินระหว่างธนาคาร
3. การฝากเงินเข้า
4. การรับเงินจากกรรมการ
5. เงินยืมกรรมการ
6. รายการปรับปรุงค้างจ่าย , ค้างเบิก
7. รายละเอียดสินทรัพย์

 

  1. แฟ้มสำรองรอวางบิล (เราผู้ขาย) * กรณียังไม่ได้ไปวางบิล
                         เอกสารที่เตรียมทำวางบิล
                        - ใบสำเนาภาษีขายถ่ายแนบแยกแต่ละบริษัท
                        - ใบสั่งซื้อจากลูกค้า
    *หมายเหตุ ยอดเงินยังไม่ถึง เอกสารยังไม่ครบตามจำนวนที่จะวางบิล
  2. แฟ้มสำรองรับวางบิล(เราผู้ซื้อ) *กรณียังไม่ได้ไปรับวางบิล

            เอกสารที่เตรียมทำรับวางบิล
                - ใบแจ้งหนี้/สำเนาใบกำกับภาษี
                - ใบขอซื้อจากบริษัทเรา
                - ใบสั่งซื้อจากบริษัทเรา
*หมายเหตุ ยอดเงินยังไม่ถึงงวดจ่าย เอกสารยังไม่ครบ , เอกสารยังไม่เรียบร้อย

แฟ้มภาษี และประกันสังคม จัดเก็บแฟ้มเรียงเป็น

            - ภ.ง.ด. 1
            - ภ.ง.ด. 3
            - ภ.ง.ด. 53
            - ภ.พ. 30
            - ประกันสังคม

โดยจัดเรียงเป็นหมวดและแต่ละหมวดเรียบเรียงเป็นเดือนโดยเรียงจากวันที่น้อยไปหาวันที่มากทำเป็นแฟ้ม ๆ ไป

(เราเป็นผู้หัก) แฟ้มหนังสือรับรองการถูกหัก ณ ที่จ่าย จัดเก็บเรียงตามวันที่ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย เรียงจากวันที่น้อยไปหามาก โดยจัดเรียงเป็นเดือน ๆ

(เราถูกหัก - ขอสำเนาเท่านั้น ต้นฉบับเก็บไว้กับกิจการ) แฟ้มหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จัดเก็บเรียงตามวันที่ที่หัก ณ ที่จ่าย เรียงจากวันที่น้อยไปหามาก โดยจัดเรียงเป็นเดือน ๆ

แฟ้มทะเบียนทรัพย์สิน ต้องมีเอกสารหลักฐานแนบดังนี้คือ


1. สำเนาใบกำกับภาษีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์สิน โดยจัดเรียงตามวันที่ที่ซื้อ เรียงจากน้อยไปหามาก


2. ใบเซ็นต์อนุมัติเกี่ยวกับการจัดซื้อทรัพย์สิน

แฟ้มเงินทดรองจ่าย กรณีมีการ Advance เงินเป็นก้อนใหญ่ และเป็นการเบิกเงินที่อยู่นอกเหนือการเบิกเงินสดย่อย โดยให้มีใบปะหน้าคุมว่าใครมีการเคลียร์แล้ว หรือยังไม่ได้เคลียร์

แฟ้มสินค้าคงเหลือ วัตถุดิบ งานระหว่างทำ (บริการจัดทำสต๊อกสินค้า)

 

แฟ้มสินค้า จัดให้มีเอกสารภายในแต่ละแฟ้มดังนี้คือ (กรณีใช้บริการจัดทำสต๊อกสินค้า)
           1. ใบสั่งซื้อสินค้า
           2. สำเนาใบกำกับภาษี โดยมีรายละเอียดของสินค้า , ราคา ,ราคา/หน่วย และยอดรวมของสินค้า
          3. ทะเบียนการคุมซื้อสินค้า
          4. ใบส่งของ
 *โดยเอกสารแต่ละใบต้องมีลายเซ็นต์การอนุมัติจากกรรมการผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

ตัวอย่างเอกสารที่จะต้องเตรียมให้สำนักงานบัญชี
1.ใบสำคัญจ่ายพร้อมเอกสารแนบ
2.ใบสำคัญรับเงินพร้อมเอกสารแนบพร้อมPay-in-slip
3.ต้นฉบับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้ (รับจากลูกค้า)
4.สำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่หักผู้อื่น (ทำ ภงด.3,53)
5.เนาใบกำกับภาษีขาย
6.ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ
7.สรุปรายการเช็คจ่าย / เงินสดย่อย /ทะเบียนคุมเงินสดย่อน
8.ใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อยพร้อมเอกสารแนบ
9.ใบสรุปรายการเช็ครับ
10.ทะเบียนจ่ายเงินเดือน เพื่อให้สำนักงานบัญชีทำ ภงด.1 ,ประกันสังคม
11.ทะเบียนคุมเช็คจ่าย
12.Bank Statement ของทุกธนาคาร
13.รายละเอียดสินค้าคงเหลือ
14.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

  1. แฟ้มหนังสือรับรอง / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / ใบอนุญาตต่างๆ
  2. แฟ้มหนังสือรายงานการประชุม
  3. แฟ้มสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาซื้อขาย
  4. แฟ้มรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย
  5. แฟ้มรายงานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1/2/3/53/54
  6. แฟ้มภงด 50 / ภงด 51
  7. แฟ้มรายงานงบการเงิน และ รายงานการตรวจสอบบัญชี
  8. แฟ้มทะเบียนทรัพย์สิน รายละเอียดประกอบใบสั่งซื้อ ใบเสนอราคาเปรียบเทียบ การจัดทำประกันภัย การทบทวนราคาประเมินที่ดิน
  9. แฟ้มใบสั่งซื้อ  ใบเสนอราคาเปรียบเทียบ
  10. แฟ้มใบคำสั่งขาย (ใบสั่งซื้อจากลูกค้า)
  11. แฟ้มสมุดรายวัน 5 เล่ม
  12. แฟ้มสมุดบัญชีแยกประเภท
  13. แฟ้มรายละเอียดลูกหนี้ เอกสารประกอบเช่น หนังสือรับรองบริษัท ภพ 20 เงื่อนไขการให้เครติด
  14. แฟ้มรายละเอียดเจ้าหนี้ เอกสารประกอบเช่น หนังสือรับรองบริษัท ภพ 20 เงื่อนไขการให้เครติด
  15. แฟ้มรายละเอียดสูตรการผลิต อัตราส่วนของเสีย ของเหลือ เศษซาก มาตราฐาน เกินมาตราฐาน ต้นทุนโดยประมาณ การคิดต้นทุน
  16. แฟ้มรายละเอียดพนักงาาน ทะเบียนลูกจ้าง รายละเอียดการจ่ายเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เงินล่วงเวลา เบี้ยขยัน ประกันภัย ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
  17. แฟ้มสวัสดิการพนักงาน รายละเอียดการให้ การจ่ายสวัสดิการพนักงาน
  18. แฟ้มรายละเอียดการจ่ายเงินปันผล (อาจรวมเป็นแฟ้มเดียวกับ แฟ้มรายงานการประชุม)
รับทำบัญชี
รับทำบัญชี รายปี รายเดือน ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท งานคุณภาพ โดย CPA ที่มีประสบการณ์
รับทำบัญชี
รับทำบัญชี
รับทำบัญชี
รับทำบัญชี

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ เอกสาร ส่ง สำนักงานบัญชี การจัดเก็บเอกสารบัญชี เอกสาร จัด ส่ง สำนักงาน บัญชี ตัวอย่างเอกสารทางบัญชี ข้อกำหนด การ จัด เก็บ เอกสาร ทาง บัญชี วิธีเก็บเอกสารเข้าแฟ้ม แบบฟอร์มทางบัญชี excel ขั้น ตอน การ จัด เก็บ เอกสาร ทาง บัญชี เอกสารส่ง ทำบัญชี วิธีส่งเอกสารให้สำนักงานบัญชี เอกสารบัญชี มีอะไรบ้าง เอกสารที่ต้องส่งให้สํานักงานบัญชี เอกสาร จัด ส่ง สำนักงาน บัญชี ทําบัญชีบริษัทเอง ตัวอย่างเอกสารทางบัญชี ข้อกำหนด การ จัด เก็บ เอกสาร ทาง บัญชี บิลค่าใช้จ่าย บริษัท

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

Bee-Accountant service

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 21,472

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า