สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
ภงด 51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิ
สำหรับรอบบัญชีปกติตามปีปฎิ
ยื่นเอกสาร มีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายในส
ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากรได้ขยายกำหนดการยื่นแบบฯ ทุกประเภทภาษีออกไปอีก 8 วัน
ภาษีกลางปี นิติบุคคลปี 2564
เรื่องต้องรู้ก่อนยื่นภาษีกลางปี – อ่าน
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการยื่น ภงด 51 ภาษีกลางปี– อ่าน
ช่องทางการยื่น ภงด 51 – อ่าน
ข้อผ่อนปรนกรณีประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิ เหตุอันสมควร– อ่าน
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี– อ่าน
แนวทางในการประเมินกำไรสุทธิ– อ่าน
แนวคิดเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมีอย่างไร– อ่าน
เครื่องมือในการคำนวน ภงด 51 (ไฟล์ Excel กรมสรรพากร)– อ่าน
สำหรับรอบบัญชีปกติตามปีปฎิ
ยื่นเอกสาร สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564
ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 9 กันยายน 2564
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 คือใคร มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก
ไม่ต้องแนบเอกสาร เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) ซึ่งเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริง จะต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ ใช้กับ บริษัทฯ ทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME STart Up
2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก ใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้
• บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย
ค่าปรับอาญา – กรณี
ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท แต่
ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท
เงินเพิ่ม – กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ “เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี
ป.ล. ค่าปรับอาญาและเงินเพิ่มข้างต้น “ไม่สามารถถือเป็นรายจ่าย” ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
กรณียื่นแบบและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ แล้วแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร
ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด
การแก้ไขกรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ขาดไปเกินกว่า 25% ให้ยื่นเพิ่มเติมก่อนยื่น ภ.ง.ด 50 2565 ในเดือน พฤษภาคม 2565
หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ
ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษี ที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
เกินกว่านั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนไม่เกินร้อยละ 20
การประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีอากร
เหตุอันสมควรที่กิจการต้องทราบเมื่อมีการประมาณการคลาดเคลื่อน พร้อมเตรียมให้ปากคำเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีครึ่งปี ไว้ไม่น้อยกวากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว กรณีนี้คือการดูตัวเงินภาษี
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือ เนื่องจากกิจการที่ได้กระทําหรือจะได้กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี ไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วเนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี กรณีนี้ดูกำไรสุทธิ เฉพาะบจ ที่เปลี่ยนอัตราภาษี
กรณีการพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ให้ปฎิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.50/2537ฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.152/2558ฯ ประกอบกับ แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ มก.53/2560ฯ โดยยกเลิกแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ มก.9/2550ฯ ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 | โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์ แนวคิดภาษีเงิได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/516267I
แนวคิดเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมีอย่างไร
เนื่องจากในช่วงเวลาที่บัญญัติแก้ไขกฎหมายให้มีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และกิจการที่จะได้กระทำในช่วง 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เริ่มมาตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2523 นั้น –ภงด 51 เริ่มยื่นตั้งแต่ปี 2523
การจัดทำบัญชีส่วนใหญ่ยังคงใช้บุคลากรด้านการบัญชีเป็นผู้จัดทำ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชียังไม่แพร่หลายกว้างขวาง ซึ่งกว่าจะแล้วเสร็จก็ต้องรอให้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเสียก่อน แม้จะมีกฎหมายกำหนดให้จัดทำบัญชีให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปก็ตาม – สาเหตุที่ให้ประมาณการจากระยะเวลาบัญชีทั้งปี
จึงต้องกำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชีไปก่อน
ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิที่อาจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงได้กำหนดให้มีความรับผิดเกี่ยวกับเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร – ความผิดถ้าประเมินพลาด ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน 25% ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของภาษีที่ชำระขาด นอกเหนือไปจากกรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีล่าช้า – ไม่ยื่นแบบ / ยื่นล่าช้า เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของภาษี
อนึ่งการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ดังกล่าวถือเป็นเรื่องยุ่งยากสับสนและไม่สามารถแสดงได้ว่าความ “สมควร” เกิดขึ้นจริง และโดยที่การเสียภาษีตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรเป็นเพียงการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการประจำปี เท่านั้น
ฉะนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ดังกล่าว กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 กำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมว่า “กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร”และ
เนื่องจากเป็นการกำหนดจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งควรใช้กับเฉพาะรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือนเต็มเท่านั้น จึงได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่าสิบสองเดือนเป็นอันไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 – รอบบัญชีน้อยกว่า 12 เดือนไม่ต้องยื่นแบบ เว้นแต่เปลี่ยนรอบบัญชี
อย่างไรก็ตามสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แม้รอบระยาเวลาบัญชีจะมีกำหนดเวลาน้อยกว่า 6 เดือน แต่หากรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน กิจการก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีเช่นเดียวกัน – เปลี่ยนรอบยื่นทุกกรณี
การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ประมาณการ กลางปี ประมาณการภาษีครึ่งปี ขาด ตัวอย่าง การ คํา น วณ ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ครึ่ง ปี การคํานวณประมาณการกําไรสุทธิขาดเกินร้อยละ 25 ตัวอย่างการกรอก ภงด.51 กรณียื่นเพิ่มเติม ประมาณการ ภงด.51 ขาดทุน เหตุอันสมควร ภงด 51 ภงด 50 51 ต่างกันอย่างไร แนวทางการพิจารณา เหตุอันสมควร
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้