สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
สำหรับบริการรับ ทำบัญชี รายเดือน หรือ รายปี ของสำนักงาน ทางเราจะมีการยื่น ภธ 40 ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีเงินยืมกรรมการ (ลูกหนี้) ซึ่ง เจ้าของกิจการที่อ่านงานเงินต้องทราบ สาเหตุ ที่มา ที่ไป ของ เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ — อ่านต่อ
แต่ในขณะเดียวกับ งบการเงินของบางกิจการ ก็มี เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ โดยใน รายการเจ้าหนี้เงินยืมกรรมการ เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในการใช้จ่าย ลงทุนของกิจการ เพื่อให้ดำเนินการสร้างผลประกอบการ รายได้ เงินทุนสำรอง เงินสำหรับการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ
คำถามที่มักพบได้ เช่น จ่ายค่าตอบแทนให้กรรมการจากเงินยืม และ ในทางบัญชีภาษี ต้องเรียกดอกเบี้ยจ่ายจากเงินที่กิจการให้กรรมการกู้ยืมเงิน คำถามคือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายที่จ่ายจากการยืมเงินกรรมการ เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ ต้องห้ามหรือไม่ ถ้าเป็นเงินที่กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการจริง มีหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายครบ เกี่ยวข้องกับกิจการ ไม่ต้องห้าตามในเรื่องรายจ่ายต้องห้าม เช่น จ่ายโดยไม่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้
รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้เข้าตรวจสภาพกิจการของบริษัท ท. จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตตู้คอนเทนเนอร์สำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์ พบว่า
งบการเงินรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญ 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท และได้เรียกชำระค่าหุ้นแล้วเต็มมูลค่าหุ้น
แต่บริษัทฯ ยังมีลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้นอยู่จำนวน 26,250,000 บาท ซึ่งรวมแล้วมีทุนที่ชำระจริง 23,750,000 บาท และ
งบการเงินรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 ยังคงมีหนี้ค่าหุ้นค้างชำระเท่ากับงบการเงินรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543
โดยระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 – 2544 นั้น บริษัทฯ ได้
1. กู้ยืมจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทฯ และ
2. บริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้น
สำนักงานสรรพากรพื้นที่เห็นว่ารายจ่ายดอกเบี้ยที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้นเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะว่าบริษัทฯ สามารถเรียกค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโดยไม่มีต้นทุน
จึงหารือว่า
1. บริษัทฯ มีสิทธินำดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่กรรมการซึ่งเป็นทั้งผู้ให้บริษัทฯ กู้ยืมเงินและเป็นผู้ที่ชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัทฯ ยังไม่ครบ มาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และ
2. แจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสภาพกิจการและกำกับดูแลการเสียภาษีของบริษัทฯ ว่าขณะนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ก ยังมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบและ
3. บริษัทฯ ไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยจากมูลค่าหุ้นที่ค้างชำระแต่อย่างใด และ
4. ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 บริษัทฯ ได้เรียกชำระค่าหุ้นครบแล้ว
1. การที่บริษัทฯ ขาดทุนหมุนเวียน และได้กู้ยืมเงินจากกรรมการหรือผู้ถือหุ้นที่ค้างชำระค่าหุ้นเพื่อนำเงินมาใช้ดำเนินกิจการของบริษัทฯ
หากบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าบริษัทฯ ได้นำเงินที่กู้ยืมดังกล่าวมาใช้ดำเนินกิจการของบริษัทฯ ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ บริษัทฯ ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีที่บริษัทฯ ระบุในบัญชีผู้ถือหุ้นว่าได้เรียกชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว
แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถือหุ้นยังมิได้ชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 และปี 2544 ซึ่งเป็นเหตุให้เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ ย่อมขาดหายไป
กรณีจึงถือได้ว่าบริษัทฯ ได้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้